รัฐบาลทุ่มงบเกือบกว่า 235,500 เยียวยาโควิด

กรุงเทพฯ 5 พ.ค. – ครม. ทุ่มงบกว่า 235,500 ล้านบาท เตรียมออกมาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ หนุนคนละครึ่ง เฟส 3 ส่งเสริมผู้มีรายได้ใช้เงินผ่าน “ยิ่งใช้ยิ่งได้” แจก e-Voucher ใช้ซื้อสินค้า ค่าอาหาร ไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน เห็นชอบขยายเวลาโครงการเราชนะ-ม.33 เรารักกัน ช่วยค่าไฟฟ้า น้ำประปา ถึงเดือน มิ.ย. หนุน ธ.ออมสิน ธ.ก.ส. ออกสินเชื่อฉุกเฉิน 20,000 ล้านบาท ขณะที่นายกฯ ยันไม่ท้อ ไม่หยุดแก้ปัญหาให้ประชาชน


นายกรัฐมนตรียันไม่ท้อ-ไม่หยุดแก้ปัญหาให้ประชาชน
การประชุม ครม. วันนี้ใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง สาระสำคัญเป็นเรื่องของมาตรการเยียวยาโควิด-19
โดยนายกรัฐมนตรีได้แถลงข่าวผ่านเพจไทยคู่ฟ้าว่า ในฐานะนายกรัฐมนตรี และผู้อำนวยการ ศบค. ได้มีการติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างอย่างใกล้ชิด และได้สั่งการเพื่อดำเนินการแก้ไข ทั้งการบูรณาการเรื่องเตียงและโรงพยาบาลสนามทั้งหมด โดยให้มีการจัดแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลตามระดับอาการเป็น 3 กลุ่ม คือ ระดับสีเขียว เหลือง แดง และที่ผ่านมาสามารถจัดการให้ผู้ป่วยรอเตียงที่ตกค้างเข้าสู่ระบบการรักษาตามที่แบ่งไว้ 3 กลุ่ม ปัจจุบันไม่มีผู้ป่วยที่ต้องรอเตียงเกิน 48 ชั่วโมง

นอกจากนี้ได้จัดตั้งศูนย์แรกรับและส่งต่อ ที่อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ ทำให้สามารถแยกตัวผู้ป่วยออกมาจากชุมชนได้ทันที และนับจากวันจัดตั้ง สามารถส่งต่อผู้ป่วยที่รับเข้ามาไปแล้วถึง 96% ทำให้ขณะนี้ เพิ่มเตียงให้พร้อมรองรับผู้ป่วยที่มีมากขึ้น ทั้ง Hospitel และโรงพยาบาลสนาม มีเตียงว่างรวมทั่วประเทศมากกว่า 30,000 เตียง และรัฐบาลกำลังพิจารณาจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติมในกรุงเทพฯ ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เพื่อรองรับผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพฯ และกำชับเชิงรุกในคลัสเตอร์คลองเตยเป็นพิเศษ


นายกรัฐมนตรีย้ำว่า การจัดหาและการฉีดวัคซีน มีเป้าหมายคือ ภายในสิ้นปีนี้ ประชากรในประเทศไทยต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 70 หรือคิดเป็นประชากร 50 ล้านคน โดยต้องใช้วัคซีนทั้งสิ้น 100 ล้านโดส โดยได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการเพิ่มจุดบริการการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ตั้งเป้าว่าต้องฉีดวัคซีนให้ได้เดือนละ 15 ล้านโดส เพื่อเอาชนะสงครามกับโควิด-19 ในครั้งนี้ให้ได้

พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า การดำเนินการอย่างเต็มที่ของรัฐบาลและ ศบค. ในการบริหารจัดการ แก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19 ทั้งด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด และการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการ ศบค. จะไม่มีวันท้อถอยหรือท้อแท้ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาใดๆ และจะไม่หยุดในการคิดและทำเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกคนให้ปลอดภัย และให้ประเทศไทยที่รักของเราทุกคนก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแข็งแรง

ครม.ทุ่มงบกว่า 2.35 แสนล้านบาท เยียวยาโควิดรอบใหม่
นายสุพัฒนพงศ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบขยายเวลาเพื่อเป็นมาตรการต่อเนื่อง เยียวยาลดผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านโครงการเราชนะ ม.33 เรารักกัน หวังบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ในระยะเร่งด่วน ใช้เงิน 85,500 ล้านบาท ประกอบด้วย


1.โครงการเราชนะ มุ่งเน้นช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย 32.9 ล้านคน ด้วยการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือ สัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ กำหนดเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ใช้วงเงินช่วยเหลือ 67,000 ล้านบาท

2.โครงการ ม.33 เรารักกัน กลุ่มเป้าหมาย 9.27 ล้านคน ด้วยการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 เพิ่มอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ กำหนดเวลาการใช้จ่ายถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ใช้วงเงินประมาณ 18,500 ล้านบาท

3.มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ขยายเวลาจากมาตรการเดิม ช่วยเหลือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2564 ขยายเป็นเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย รองรับการใช้ไฟฟ้าในช่วงทำงานอยู่บ้าน Work Form Home

รัฐบาลคาดการณ์ว่าเมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่เดือนเมษายน 64 คลี่คลายลง เตรียมใช้เงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงิน 140,000 ล้านบาท มาตรการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในกลุ่มที่จําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

1.โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 จํานวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 13.65 ล้านคน โดยการให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเติม เดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2564)

โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ กลุ่มเปราะบาง จํานวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 2.5 ล้านคน โดยการให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะวลา 6 เดือน (เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2564)

2.มาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ความสําคัญกับการกระตุ้นกําลังซื้อของประชาชนในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูง ได้แก่

-โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก เพิ่มอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ โดยการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในส่วนของค่าอาหารร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเสนอมาตรการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน

-โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” โดยรัฐสนับสนุน e-Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า ค่าอาหาร และเครื่องดื่มและค่าบริการ กับผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยเมื่อประชาชนใช้จ่ายดังกล่าวจะได้รับสนับสนุน e-Voucher จากภาครัฐในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2564 และสามารถนํา e-Voucher ไปใช้จ่ายได้ในเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2564 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการประมาณ 31 ล้านคน

มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 เป็นการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่ม สภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้าง หน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น และเกษตรกรรายย่อย หรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก)

ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม ระยะเวลาดําเนินงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณ รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการเสนอมาตรการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน

มาตรการพักชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFs) ขยายระยะเวลาพักชําระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อย ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชําระเงินต้นเพื่อลดภาระการชําระหนี้เป็นการชั่วคราว ให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนําเงินงวดที่จะต้องชําระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดําเนินชีวิตประจําวัน หรือเพื่อการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชําระหนี้ที่พักชําระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควร เมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ย กรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชําระไว้ด้วย

นอกจากนี้ให้ SFts พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสําคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือ SFls ตามความจําเป็นและเหมาะสม ในกรณีที่การดําเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ SFl

คลังออกมาตรการทางการเงินบรรเทาโควิด
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้าง เพื่อบรรเทาผลกระทบกับผู้ประกอบการและประชาชน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบมาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบ ดังนี้
1.มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน และบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำผู้ประกอบอาชีพอิสระผู้ประกอบการรายย่อย รวมไปถึงเกษตรกรรายย่อย โดยธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส. ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายละ 10,000 บาท ด้วยหลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 ปี ปลอดชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก

2.มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายระยะเวลาพักชำระหนี้โดยการพักชำระเงินต้นให้แก่ลูกหนี้ตามความสมัครใจออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้ หรือนำเงินที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่อง เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยจะต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินไป และพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสำคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ เช่น Non-bank เป็นต้น เร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นหลัก ทั้งนี้ อาจให้ความสำคัญกับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปน้อยในลักษณะเช่นเดียวกันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่อไป

ครม. เปิดตัว “มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19”
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 โดยอนุมัติวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร ที่ได้ผลกระทบจาก COVID-19 โดยต้องผู้มีสัญชาติไทย อายุครบ 20 ปีขึ้นไป โดยต้องไม่เป็นผู้ที่มีรายได้จากภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ประมาณ1 ล้านคน โดย ธ.ออมสิน และ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินแห่งละ 10,000 ล้านบาท รวม 20,000 ล้านบาท เพื่อให้วงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน โดยไม่ต้องมีหลักประกัน พร้อมปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ รัฐบาลจะใช้วงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก NPLs ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ครม. รับทราบการขยายระยะเวลามาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ในส่วนของเงินต้น จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ เพื่อนำเงินงวดที่จะต้องชำระหนี้ไปใช้เสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูงก่อน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนภายใต้โครงการเราชนะ จำนวนไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (สำหรับเดือน ม.ค.-ก.พ. 64) สิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ซึ่งมีผู้ได้รับสิทธิประมาณ 33.2 ล้านคน และมีมูลค่าการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจประมาณ 203,295 ล้านบาท และมาตรการ ม.33 เรารักกัน รวมทั้งมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีภาษี 2564 การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นต้น รวมทั้งมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ วงเงิน 100,000 ล้านบาท และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ. ซึ่งได้ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมสู้ภัยโควิดออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นต้น

ครม.เตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 งบกลาง ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ระยะการระบาดระลอกเดือนเมษายน 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น 12,576 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เพื่อเตรียมความพร้อมการรับมือและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทันเวลา ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมของประเทศ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชนรถบรรทุก

แพทย์หญิงดับสลด ขับชนท้ายรถบรรทุก

แพทย์หญิง ขับรถพุ่งชนท้ายรถบรรทุก 6 ล้อ เสียชีวิตคาที่ บริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี มุ่งหน้าสะพานตากสิน ถนนกรุงธนบุรี ตรวจสอบในรถพบซองยาแก้หวัด-คัดจมูก

แสตมป์ถูกข่มขู่

โฆษก ทบ. พร้อมให้ความเป็นธรรม​​ “แสตมป์​-​ภรรยา​”

โฆษกกองทัพบก พร้อมให้ความเป็นธรรม​​ “แสตมป์​-​ภรรยา​” ถูกนายพลข่มขู่​ ขอข้อมูลเพิ่มตรวจสอบอยู่ในประจำการหรือไม่​ ลั่น​ หากยังรับราชการถือผู้วินัยร้ายแรง​แม้เป็นเรื่องส่วนตัว​

ข่าวแนะนำ

รถน้ำมันระเบิดไนจีเรียหลังพลิกคว่ำ เสียชีวิต 77 ราย

รถบรรทุกน้ำมันระเบิดหลังจากพลิกคว่ำในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไนจีเรีย คร่าชีวิตชาวบ้านอย่างน้อย 77 คนที่กำลังเอาถังมารองน้ำมันที่รั่วไหลจากรถบรรทุก

“เหนือ อีสาน กลาง” อากาศเย็นตอนเช้า ส่วนยอดดอยหนาวจัด

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ อีสาน กลาง” ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยหนาวจัด มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง

หมายจับยิงครูตชด.

ออกหมายจับ 2 ตัวการ มือวางระเบิดและยิง 2 พ่อลูก ตชด.

ออกหมายจับ 2 ตัวการ มือวางระเบิดและยิงซ้ำ 2 พ่อลูก ตชด. ก่อนหนีขึ้นเขาเมาะแต ล่าสุด ส่งทหารพรานไล่ล่า แต่ยังไม่พบตัว