PwC เผย 84% ของธุรกิจไทยได้รับผลกระทบหนักจากโควิด-19

กรุงเทพฯ 26 เม.ย. – มากกว่า 80% ของบริษัทในประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมการสำรวจใน Global Crisis Survey 2021 ของ PwC (ฉบับประเทศไทย) ระบุว่า ธุรกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยชี้ว่า ความสามารถในการฟื้นตัวของธุรกิจจะขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การปรับตัวสู่ภาวะปกติขององค์กร


รายงานผลสำรวจของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของผลสำรวจทั่วโลก ที่ได้สอบถามความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจจำนวน 2,814 รายใน 73 ประเทศ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทยจำนวน 52 ราย เกี่ยวกับแนวทาง หรือวิธีการที่บริษัทไทยใช้ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  รวมถึงการถอดบทเรียนที่บริษัทต่าง ๆ ได้เรียนรู้จากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคต

นายพันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า 84% ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่า ธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุว่า การดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากข้อจำกัดด้านการขนส่ง ที่ทำให้การนำเข้าหยุดชะงักและการผลิตชะลอตัวลง นอกจากนั้น ข้อจำกัดถัดมาคือปัญหาเกี่ยวกับพนักงาน และสภาพคล่องทางการเงิน


อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามได้มีการปรับกระบวนการทำงานและการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อใช้รับมือกับการระบาดของโควิด-19 ซึ่งสอดคล้องกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก  รวมถึง การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ การชะลอการลงทุนเพื่อจัดการสภาพคล่อง และการพัฒนาปรับปรุงระบบงานต่างๆให้พนักงานสามารถทำงานนอกสถานที่ได้ อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้สร้างความท้าทายรูปแบบใหม่ให้กับผู้นำธุรกิจของไทย

นาย พันธ์ศักดิ์ ได้ให้มุมมองในเรื่องดังกล่าวว่า“หากขาดการดูแลติดตามระบบการทำงานจากระยะไกลที่เพียงพอ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของระบบได้ โดยผู้ไม่หวังดีสามารถสวมรอยเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ โดยหลอกล่อให้โอนข้อมูลที่มีความอ่อนไหวได้ ดังนั้น แม้องค์กรต่าง ๆ จะมีการบังคับใช้นโยบายการทำงานจากระยะไกลได้อย่างราบรื่นในช่วงที่ผ่านมา แต่อาจมีความเสี่ยง จากการโจรกรรมและละเมิดข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ในระดับสูง ซึ่งหากผู้ไม่หวังดีได้ข้อมูลที่สำคัญไป จะทำให้พวกเขาสามารถฉ้อโกง สร้างความเสียหายให้กับระบบสารสนเทศ ทำลายชื่อเสียง ตลอดจนการกระทำอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย และส่งผลให้องค์กรสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล ทีมรับมือกับภาวะวิกฤต คือกุญแจสำคัญ

ผลการสำรวจ ยังพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการวางแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business continuity plan: BCP) ก่อนเกิดการระบาดของโควิด – 19 แต่มีเพียง 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น ที่มีการจัดเตรียมทีมรับมือกับภาวะวิกฤตไว้ล่วงหน้า


นาย พันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ประสิทธิภาพของแผน BCP จะตกอยู่ในความเสี่ยง หากไม่มีทีมรับมือกับภาวะวิกฤตที่ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานโดยรวมในช่วงเกิดวิกฤตการณ์

การมีทีมรับมือกับภาวะวิกฤตที่มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เพราะในช่วงวิกฤตนี้ หากเกิดความบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในการรับมือกับวิกฤตเพียงครั้งเดียว อาจสร้างความไม่ไว้วางใจแก่ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียเป็นวงกว้าง

นอกจากนี้ จุดมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของผลสำรวจนี้คือ เพื่อสำรวจว่าบริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับภัยคุกคามและผลกระทบในระยะยาวของโควิด-19 ต่อกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่ โดยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยส่วนใหญ่ ระบุว่า พวกเขายังไม่ได้มีการประเมินผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น หรือถอดบทเรียนจากวิกฤตที่ได้รับ การถอดบทเรียนจากวิกฤตที่เกิดขึ้น จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงแผนการรับมือและจัดการกับวิกฤตในครั้งต่อไปได้ดียิ่งขึ้น

“องค์กรที่มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตในอนาคต ควรตั้งคำถามว่า สิ่งใดบ้างที่จำเป็นและช่วยให้องค์กรเตรียมรับมือกับภาวะหยุดชะงักครั้งต่อไปให้ดีขึ้น โดยองค์กรต่าง ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ และรับมือกับภาวะวิกฤตเพื่อการฟื้นคืนสู่ภาวะปกติขององค์กร นั่นหมายความว่า องค์กรจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวและพัฒนากระบวนการที่จำเป็นเพื่อรับมือกับวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้กลับมาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น” เขากล่าว

เหนือสิ่งอื่นใด ความท้าทายในการจัดการกับวิกฤต ไม่ได้อยู่ที่การคาดการณ์หรือประมาณเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยองค์กรต่าง ๆ ควรตระหนักว่า แม้ภาวะหยุดชะงักจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถเตรียมการเพื่อรับมือกับมันได้ ธุรกิจที่ให้ความสำคัญและลงทุนในการสร้างรากฐานเพื่อฟื้นคืนสู่สภาวะปกติและรับมือกับภาวะหยุดชะงัก จะสามารถต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น นาย พันธ์ศักดิ์ กล่าว . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้