ยังมีคนอีกหลายกลุ่ม ที่อาจถูกมองข้ามไป โดยเฉพาะช่วงวิกฤติโควิด-19 แบบนี้ นั่นก็คือ “กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง”
.
มูลนิธิอิสรชน ได้ตั้งคำถามตั้งแต่การระบาดระลอกแรกจนถึงระลอกปัจจุบัน ว่า สิทธิการตรวจโควิด-19 ของคนไร้ที่พึ่งอยู่ที่ไหน? เพราะมูลนิธิฯ มองว่า คนเหล่านี้ ไม่มีแม้โอกาสที่จะเข้าถึงสิทธิการตรวจโรค หรือแม้กระทั่งการอยู่เป็นที่ เพราะพวกเขาไม่มีบ้าน ต้องอยู่ในที่สาธารณะ และที่สำคัญ สิทธิในการรับวัคซีน ที่รัฐยืนยันทั่วถึงทุกคน ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง แต่เงื่อนไขการรับวัคซีน จะเข้าถึงคนไร้ที่พึ่ง หรือไม่?
.
อีกหนึ่งปัญหาที่พบ คือ การเยียวยาท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่พวกเขาอาจจะเข้าไม่ถึง เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์โทรศัพท์ ไม่มีบัตรประชาชน บัตรหาย หรือการเป็นคนไร้รัฐทั้งที่เกิดในประเทศไทย
.
มูลนิธิอิสรชน จึงเสนอให้สร้างกระบวนการให้คนกลับสู่สังคม คือ พัฒนานโยบายเพื่อให้คนไร้ที่พึ่ง ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ซึ่งไม่มีทีวี ไม่มีโทรศัพท์มือถือ สามารถเข้าถึงข่าวสารการจ้างงานและช่องทางการสมัครงานได้ สนับสนุนกระบวนการหรือกิจกรรมทางสังคมที่จัดขึ้นโดยภาครัฐหรือเอกชนที่ดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางเข้าที่จะทำให้คนเร่ร่อน ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะมีงานทำ เพราะจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไร้ที่พึ่งหน้าใหม่ ที่เกิดจากปัญหาการตกงานในช่วงโควิด-19 ได้มีงานทำให้เร็วที่สุดเพื่อให้พ้นสภาพคนไร้ที่พึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในระยะยาวได้
.
ภาพ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช
เรื่อง สุธิดา ปล้องพุดซา
“คนไร้ที่พึ่ง” ตรวจโควิดได้หรือไม่? . ยังมีคนอีกหลายกลุ่ม ที่อาจถูกมองข้ามไป โดยเฉพาะช่วงวิกฤติโควิด-19 แบบนี้ นั่นก็คือ…โพสต์โดย สำนักข่าวไทย เมื่อ วันพุธที่ 21 เมษายน 2021