BGRIM มั่นใจนำเข้าแอลเอ็นจีลำแรกกลางปี 64


กรุงเทพฯ 28 ธ.ค. – BGRIM มั่นใจนำเข้าแอลเอ็นจีลำแรกกลางปี 64 รวมนำเข้าปีแรก 2.5 แสนตัน พร้อมขอโควต้านำเข้าเพิ่มจำหน่ายก๊าซอุตสาหกรรม เผยเจรจาหลายโครงการหากสำเร็จจะมีกำลังผลิตเพิ่มปี 64 ราว 1 พันเมกะวัตต์ คาด โควิด-19 ระบาดรอบใหม่ไม่กระทบกำลังผลิตอุตสาหกรรมหลังรอบแรกกำลังผลิตภาคอุตฯของประเทศลดลงร้อยละ 20



นายฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า กล่าวว่า BGRIM กำลังทำแผนลงทุน 10 ปี เพื่อเตรียมพร้อมการดำเนินงานในอนาคต โดยนอกจากทำธุรกิจไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังมุ่งไปสู่ธุรกิจต่อเนื่องรองรับดิจิลทัลเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงธุรกิจนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี สายส่ง ภาพรวมแล้วจะทำให้เป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


ส่วนการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี หลังจากได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. ) ให้เป็นผู้นำเข้า (ชิปเปอร์ ) 6.5 แสนตัน เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าเอสพีพีทดแทนของบริษัท5 แห่งนั้น ล่าสุด บริษัทได้เจรจากับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ พบว่ามีความต้องการเป็นลูกค้าแอลเอ็นจี ของบริษัทเพื่อนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะมีราคาขายถูก กว่าของ บมจ. ปตท. ทำให้ต้นทุนอุตสาหกรรมแข่งขันได้ดี ดังนั้น บริษัท จึงเสนอ ต่อ กกพ.ขอนำเข้าในปริมาณสูงขึ้น เชื่อว่าจะได้รับความเห็นชอบ



ทั้งนี้ BGRIM คาดว่าการนำเข้าแอลเอ็นจีของบริษัท จะเกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 2564 เป็นต้นไป ในปริมาณนำเข้าปีแรก 2.5 แสนตัน และเพิ่มเป็น 3.5 และ 6.5 แสนตัน/ปี ตามลำดับในปี 2565 และปี 2566 ซึ่งชิปเปอร์รายใหม่ทุกราย ขณะนี้รอคณะทำงานด้านการนำเข้าแอลเอ็นจี ซึ่งมี นายณอคุณ สิทธิพงษ์ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ทั้งหมด ให้เสร็จสิ้นภายใน เดือน ม.ค.64 ในขณะเดียวกันบริษัทยังมีแผนนำเข้าแอลเอ็นจี เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าไอพีพีใน เวียดนาม 2-3 พันเมกะวัตต์ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาลเวียดนาม


“BGRIM เจรจากับผู้จำหน่ายแอลเอ็นจีในตลาดโลก 20 ราย ได้ราคาที่ดี โดยทำสัญญาระยะยาว ร้อยละ 70-80 และสัญญาระยะสั้น ( SPOT ) ร้อยละ 20 ซึ่งจากปี 64 ที่โควิด-19 มีผลต่อราคาแอลเอ็นจีให้ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้บริษัทได้ราคาที่ต่ำ และทำให้ต้นทุนนำเข้า ต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลง” นายลิงค์กล่าว
นายลิงก์ กล่าวด้วยว่า คาดว่าการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่จะไม่กระทบต่อกำลังผลิตอุตสาหกรรม เหมือนกับการระบาดรอบแรก ที่ทำให้ เดือน พ.ค. 63 กำลังผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศลดลงกว่าร้อยละ 20 เนื่องจากขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีการย้ายฐานการผลิตมาไทยเพราะมั่นใจระบบการป้องกันโควิด-19 ของไทยที่ดี ในขณะเดียวกัน กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นสัดส่วนลูกค้าของบริษัทร้อยละ 57 และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ก็มีกำลังผลิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้เดือน พ.ย. 63 กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากบริษัทโตขึ้นถึงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ 62


นายลิงค์ กล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ได้เจรจา เพื่อซื้อกิจการ ผู้ผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเอสพีพีทดแทน 3 ราย คาดว่าจะรู้ผลในไตรมาส 1 /64 หลังจากก่อนหน้านี้ บริษัทประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการเอสพีพี มาแล้ว 3 ราย ทำให้ขณะนี้บริษัทมีเอสพีพีรวม 20 แห่ง และมีการร่วมมือกับพันธมิตร เช่น บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ พีอีเอ เอ็นคอม (PEA ENCOM) ปรับปรุงขยายสายส่งเป็นรูปแบบดิจิทัล และมีลูกค้าในนิคมฯต่างมาใช้บริการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้โรงไฟฟ้าโกลว์เอสพีพี 1 ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น BPAM ขยายกำลังผลิต จาก 124 เมกะวัตต์เป็น 280 เมกะวัตต์ โดยจำนวนนี้ขายแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 60 เมกะวัตต์



สำหรับการดำเนินธุรกิจปี 64 บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 5 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในมือ และเจรจาเพื่อเข้าซื้อกิจการและร่วมลงทุน (M&A) โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ ราว 900-1,000 เมกะวัตต์ (MW) ทั้งในและต่างประเทศ คาดจะมีหลายโครงการเจรจาเสร็จสิ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1/64 จากปัจจุบันบริษัทมีกำลังผลิตไฟฟ้าในมือ 3,682 เมกะวัตต์ เป็นกำลังผลิตที่จ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 3,089 เมกะวัตต์ และมีแผนขยายกำลังผลิตไปสู่เป้าหมาย 7,200 เมกะวัตต์ภายในปี 68 โครงการที่ เจรจา M&A เช่น โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ในมาเลเซีย ขนาด 200-350 เมกะวัตต์ ,การเจรจาร่วมทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานลม ในเวียดนาม 1-2 โครงการ กำลังการผลิตรวม 100-200 เมกะวัตต์ การเจรจาเพื่อร่วมทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานลม ในเกาหลีใต้ ในขณะที่ในไตรมาส 1/64 มีแผนจะเปิดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมขนาด 16 เมกะวัตต์ ที่จ.มุกดาหาร และวันนี้ บริษัทได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯว่าประสบความสำเร็จในการลงทุนในกัมพูชา โดย บริษัท บี.กริม โซลาร์ เพาเวอร์ 1 จำกัด (บริษัทย่อยที่ บี.กริม เพาเวอร์ ถือหุ้น 100%) ได้เข้าถือหุ้นสัดส่วน 100% ในบริษัท เรย์ เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองศรีโสภณ จังหวัดบันทายมีชัย (หรือ บ็อนเตียย์เมียนเจ็ย) ประเทศกัมพูชา ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 39 เมกะวัตต์ โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ระยะเวลา 20 ปี กับ การไฟฟ้าประเทศกัมพูชา (Electricite Du Cambodge – EDC) และได้รับอนุมัติให้สามารถดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิย์ (COD) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

เปิดปมสังหารยกครัว 4 ศพ แค้นชู้สาว

เปิดปมเหตุสลดฆ่ายกครัว 3 ศพ ก่อนผู้ก่อเหตุยิงตัวเองเป็นศพที่ 4 ใน จ.สมุทรปราการ พบข้อมูลว่าความแค้นครั้งนี้มาจากเรื่องชู้สาว แต่ลูกชายของผู้ตายยังไม่เชื่อว่าแม่มีความสัมพันธ์กับมือปืน แต่ยอมรับมือปืนให้เงินแม่ใช้ทุกวัน

ศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” ชี้พฤติการณ์ร้ายเเรง

ทนายเผยศาลไม่ให้ประกัน “สามารถ” เพราะพฤติการณ์ร้ายเเรง เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งประกัน ด้าน “แม่สามารถ” วอนผู้มีอำนาจอย่าเอาความลูกชายตน ลั่นหลังจากนี้จะสู้เพื่อความยุติธรรม