ครม.รับทราบข้อเสนอป้องกันทุจริต พ.ร.ก.การเงิน 3 ฉบับ

ทำเนียบฯ 15 ก.ย.-ครม.รับทราบข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. ต่อรัฐบาล ลดความเสี่ยง ป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายในการใช้ พ.ร.ก.การเงิน 3 ฉบับแก้ปัญหาโควิด-19


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดการเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกอบด้วย 3 ส่วน โดยส่วนแรก คือ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ) ป.ป.ช.เสนอแนะว่า ควรกำหนดมาตรการเสริมในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงาน หรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เช่น ในหมวด 2 ซึ่งเป็นหมวดเกี่ยวกับการเสนอ การพิจารณากลั่นกรอง และการอนุมัติโครงการ ควรกำหนดให้หน่วยของรัฐที่จัดทำโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้จะต้องมีการวางกระบวนการหรือกิจกรรม รวมทั้งการประเมิน เพื่อลดความเสี่ยงและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นไว้ในโครงการที่จะเสนอด้วย โดยนำข้อกำหนดตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายมาปรับประยุกต์ใช้ และหากโครงการไม่มีกระบวนการข้างต้น ผู้มีอำนาจพิจารณาอาจมีความเห็นให้ทบทวน หรือไม่อนุมัติโครงการได้ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการทุจริตก่อนพิจารณาอนุมัติโครงการ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังเสนอแนะว่า ควรขยายระยะเวลาในการพิจารณาโครงการเพื่อให้การดำเนินโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้เกิดความคุ้มค่าและสามารถแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง และควรกำหนดบทลงโทษกรณีหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการกลั่นกรองและอนุมัติโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้จาก คกง.แล้ว แต่ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปดำเนินโครงการอย่างอื่น โดยที่ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจาก คกง. ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง


น.ส.ไตรศุลี กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกัน คกง.ควรกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเสนอโครงการในรูปแบบไฟล์ Microsoft Excel และนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูลมาประยุกต์ใช้เพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการ โดยควรมีคณะตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงของโครงการ ซึ่งเป็นผู้แทนจากภาคเอกชนร่วมด้วย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ควรจัดทำเว็บไซต์เฉพาะ สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหากมีการจัดซื้อจัดจ้าง ควรเปิดเผยวิธีการจัดซื้อจัดจ้างและรายชื่อบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐแบบ Real Time Online ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และ ป.ป.ช.ยังเสนอแนะว่า ควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนจากภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ร่วมเป็น คกง.ด้วย เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจโครงการ

“ป.ป.ช.ยังระบุด้วยว่า ควรกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่ดำเนินโครงการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ทุกโครงการควรมีการลงนามในข้อตกลงคุณธรรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตหรือคณะอนุกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตกำหนด และในกรณีโครงการขนาดใหญ่ควรเข้าร่วมโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ส่วนที่สอง พระราชกำหนดการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ได้รับการช่วยเหลือ โดยคำนึงถึงกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของทางราชการและอาจเปิดเผยผ่านช่องทางเว็บไซต์ของ ธปท. หรือเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด(มหาชน) และส่วนที่สาม พระราชกำหนดให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ธปท.ควรกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา โดยให้สถาบันการเงินประเมินแผนงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ขอกู้เงิน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และ ธปท.ควรเปิดเผยรายชื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงินบนเว็บไซต์ของ ธปท.แบบ Real Time และควรส่งรายชื่อให้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งในส่วนนี้ ธปท.ได้ตอบความเห็นว่า ธปท.ได้เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจบนเว็บไซต์ ธปท.ให้ทันสมัยแบบ Real Time อยู่แล้ว โดยไม่ได้เปิดเผยรายชื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับความช่วยเหลือ เพราะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลและเป็นความลับทางการค้าของสถาบันการเงิน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนร้ายลอบวางระเบิด 2 พ่อลูก ครู ตชด. เสียชีวิต

คนร้ายลอบวางระเบิด ถนนศรีสาคร-จะแนะ จ.นราธิวาส รถกระบะของครูใหญ่โรงเรียน ตชด. และลูกชาย ขับผ่านมา พลิกคว่ำหลายตลบ ก่อนบุกมาจ่อยิงซ้ำจนเสียชีวิต เจ้าหน้าที่เชื่อกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง หวังสร้างสถานการณ์ความปั่นป่วนในพื้นที่

หนาวจัด

อ.น้ำหนาว เพชรบูรณ์ หนาวจัด -3 องศาฯ

อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ หนาวจัด ติดลบ 3 องศาฯ ทำให้เกิดแม่คะนิ้งเกาะตามพื้นและหลังคารถ ส่วนแม่ค้าเสื้อผ้ามือสองชาวโคราช แจกเสื้อกันหนาวชาวบ้านฟรี หลังอุณหภูมิในพื้นที่แตะ 10 องศาฯ

“ตระกูลม่วงศิริ” ยกทีมซบพรรคเพื่อไทย

“ตระกูลม่วงศิริ” ยกทีมซบพรรคเพื่อไทย ด้าน “ธีรรัตน์” ต้อนรับกลับบ้านเก่า มองเป็นเรื่องน่ายินดีช่วยทำงานให้สำเร็จ ขณะที่ สก.ปชป.-ไทยสร้างไทย มาด้วย

แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกคนใกล้ชิด “เปิ้ล นาคร” สูญเงิน 6 ล้านบาท

แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกครอบครัวคนใกล้ชิด “เปิ้ล นาคร” สูญเงิน 6 ล้านบาท พบพฤติการณ์คล้ายแก๊งหลอก “ชาล็อต ออสติน”

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ร่วมถ่ายภาพกับดาราดัง ใช้ กม.สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ร่วมถ่ายภาพประวัติศาสตร์กับดาราดัง ประกาศยินดีไทยใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม ขอบคุณทุกฝ่ายร่วมผลักดัน ลั่นวันนี้สำเร็จแล้ว นี่คือความภูมิใจของคนไทย

หมายจับผู้มีพระคุณ

ออกหมายจับผู้มีพระคุณจ้าง “เอ็ม กองเรือ” สังหารอดีต สส.กัมพูชา

ตำรวจเร่งล่า “สมหวัง” ผู้มีพระคุณของ “เอ็ม กองเรือ” หลังศาลออกหมายจับใช้จ้างวานสังหาร “ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา

แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหานายกฯ

นายกฯ เผยเกือบหลงเชื่อแก๊ง​คอลเซ็นเตอร์

นายกฯ เผย เกือบหลงเชื่อแก๊ง​คอลเซ็นเตอร์ หลอกแบบแอดวานซ์​ อ้างเป็นผู้นำประเทศหนึ่ง ส่งคลิปเสียงบอกยังไม่ได้ร่วมบริจาค ระบุ เคยโดนหลายรอบแล้ว ตั้งแต่สมัย “ทักษิณ” ยังไม่กลับไทย ฝากเตือนประชาชน พร้อมยกเป็นนโยบายแก้ปัญหาด่วน ​