ประชุม ศบศ.พรุ่งนี้จับตาทยอยเปิดประเทศ

กรุงเทพฯ 2 ก.ย. – ศบศ.ประชุมพรุ่งนี้ จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเน้นระยะสั้น-การจ้างงาน หนึ่งในข้อเสนอต้องเสี่ยงค่อยๆ เปิดประเทศ คลายล็อกดาวน์ภายในประเทศ รักษาภาวะเศรษฐกิจ ด้านนักวิชาการ  มอ.ย้ำต้องมีเงินสดเพียงพอไม่ต่ำกว่า 6 เดือน


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ย.) จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. เพื่อหารือถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ เบื้องต้นจะเน้นมาตรการระยะสั้น รวมถึงจะมีการรับทราบเรื่องของการดูแลการจ้างงาน ซึ่งกระทรวงแรงงานจะมารายงานให้ที่ประชุมทราบ

ด้านกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจ ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบุว่า อีกไม่กี่วัน ประเทศไทยก็คงจะได้ประกาศชัยชนะต่อการระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ว่าเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีการระบาดในประเทศยาวนานที่สุด ก็คือกว่า 3 เดือน สิ่งที่ต้องมาคิดกันต่อก็คือ แล้วต่อจากไปจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ความสำเร็จของระบบสาธารณสุขของไทยขณะนี้ ทำให้เราสามารถต่อสู้เอาชนะเชื้อไวรัสโควิดได้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐได้ลงทุนจำนวนมหาศาลไว้ในระบบสาธารณสุข เช่น ระบบประกันสุขภาพ 30 บาท ระบบ อสม. ระบบการผลิตบุคลากร ฯลฯ และทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ถ้าจะยังให้เดินหน้าไปต่อได้  ก็ต้องพยายามรักษาความเข้มแข็งของว่าระบบเศรษฐกิจพื้นฐานของเราไว้ อย่างน้อยก็ต้องให้ประคองตัวต่อไปได้


ดังนั้น อาจจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องกลับมานั่งทบทวนกันอีกครั้งว่าท่ามกลางพลวัตของการระบาดของโรคโควิด -19 ในโลก การเป็นเพียงประเทศเดียวที่ไม่มีการระบาด และจะให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วสำหรับประเทศและประชาชนหรือไม่ ประเทศไทยจะต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของความสำเร็จของตัวเอง เราต้องไม่ชนะการรบ เพียงเพื่อที่จะแพ้สงครามในที่สุด จึงควรคิดใหม่ทำใหม่ เช่น ค่อยๆ เปิดประเทศ คลายล็อกดาวน์ภายในประเทศ ยอมเสี่ยงกับการติดเชื้อบ้าง เพื่อแลกกับภูมิคุ้มกันหมู่ ฯลฯ 

“ในสภาพการณ์เช่นนี้ ที่เรายังสามาควบคุมการระบาดในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพียงประเทศเดียว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อีกต่อไป ก็น่าจะถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องมานั่งคิดเรื่องนี้กันใหม่อีกสักครั้ง ถ้าเหตุการณ์ยังดำเนินต่อไปดังเช่นที่กล่าวข้างต้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามก็คือ ไทยจะเป็นบับเบิลเดียวโดดๆ ในโลก ที่แปลกแยกออกจากส่วนอื่นๆ ของโลก ที่ยังมีการระบาดและการติดเชื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง มากบ้างน้อยบ้างตามแต่สภาพ ลองคิดต่อว่าทั้งสองบับเบิล คงจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตต่อไปท่ามกลางการระบาด และฝากอนาคตไว้กับหลายๆ อย่าง เช่น วัคซีน, ยา ฯลฯ แต่เนื่องจากในส่วนอื่นๆ ของโลกที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ก็คงจะมีการเพิ่มของระดับของภูมิคุ้มกันหมู่ในกลุ่มประชากร และอาจมีการติดต่อค้าขายกันกันมากขึ้น เศรษฐกิจก็คงพอที่จะฟื้นตัวพยุงกันต่อไปได้ตามสภาพ เพราะเป็นคนหมู่มาก จนกว่าการระบาดของโรคจะเบาบางหมดสิ้นด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง แล้วในส่วนประเทศไทยของเรา จะทำอย่างไร  ในบับเบิลของเรา เหลือเราอยู่เพียงหนึ่งเดียวที่ควบคุมการระบาดของโรคได้  และเพื่อรักษาสถิตินี้ไว้  เราจะยอมแลกความเสียหายทางเศรษฐกิจ กับสถานะการเป็นประเทศที่ปลอดการติดเชื้อไว้ตลอดไปหรือไม่” แหล่งข่าวระบุ

ด้านนายพัฒนิจ โกญจนาท คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผยว่า  โควิด-19 เป็นทั้งวิกฤติโอกาสและบทเรียนเพื่อการปรับตัวสู่การอยู่รอดเมื่อเกิดสถานการณ์ความไม่แน่นอนเช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต ทำให้ทุกธุรกิจต้องประเมินความเสี่ยงในทุกมิติให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดในการดำเนินธุรกิจที่ต้องมีเพียงพอสอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจของตัวเอง เบื้องต้นควรมีไม่ต่ำกว่า  6 เดือน และต้องกระจายความเสี่ยงการดำเนินงานที่ต้องมีกลุ่มลูกค้ามากกว่า 1 ราย


การรับฟังเสียงความต้องการของลูกค้าเพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์หรือช่องทางการจำหน่ายและการทำตลาด ที่สอดรับเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เทรนด์ของสุขภาพที่ทำให้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับอาหารคลีน การทำอาหารสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ การทำเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวจับกลุ่มนักท่องเที่ยวในและต่างประเทศสอดรับนโยบายการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐและการจับคู่การเดินทางกับประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดี หรือ Travel Bubble ที่เน้นรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเฉพาะที่มาพักผ่อนในประเทศอยู่เป็นช่วงเวลานาน 

“โควิด-19 ทำให้ทุกภาคธุรกิจต้องบริหารจัดการและประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจให้รอบด้าน เพื่อวางแผนบริหารจัดการปิดความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน บางเรื่องผู้ประกอบการต้องมีที่ปรึกษาทางธุรกิจเข้ามาช่วยให้คำแนะนำก่อนตัดสินใจลงทุนดีกว่าใช้การตัดสินใจบนความเชื่อของตัวเอง ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดจากการดำเนินงานได้” นายพัฒนิจ กล่าว.-  สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

มือเผาพ่อค้าแตงโม สารภาพทำคนเดียว อ้างแค้นปมชู้สาว

“เพลิน พรมด้วง” มือราดน้ำมันจุดไฟเผาพ่อค้าแตงโม รับสารภาพทำคนเดียว อ้างแค้นอีกฝ่ายเป็นชู้กับภรรยา และยังเอารถกระบะที่ใช้ทำกินไปขายแตงโมเย้ยต่อหน้าต่อตา