กรุงเทพฯ 24 ส.ค.-บช.น. ชี้แจงกรณีใช้รถตัดสัญญาณ ในการจัดกิจกรรมชุมนุม เมื่อวันที่ ๒๓ ส.ค.๖๓
จากกรณีมีหนังสือราชการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ให้จัดรถยนต์อุปกรณ์ต่อต้าน ตัดสัญญาณสื่อสาร (Jammer) สําหรับการดูแลรรักษาความปลอดภัย ในการจัดกิจกรรมชุมนุม เมื่อวันที่ ๒๓ ส.ค.๖๓ บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ ตํารวจนํามาใช้เพื่อสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้ชุมนุมในการติดต่อสื่อสาร นั้น
บช.น.ขอเรียนให้ทราบว่า การจัดรถยนต์อุปกรณ์ต่อต้านตัดสัญญาณสื่อสาร (Jammer) มาประจํา บริเวณสถานที่จัดงานขนาดใหญ่ หรือสถานที่มีการรวมตัวกันของประชาชนเป็นจํานวนมาก เช่น การจัด คอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา หรือการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปกติของเจ้าหน้าที่ตํารวจ หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด เนื่องจากกรณีที่พบวัตถุต้องสงสัยในขณะเข้าไปตรวจสอบหรือเก็บกู้ เจ้าหน้าที่ จะต้องตัดสัญญาณโทรศัพท์ ณ จุดดังกล่าวในห้วงเวลาการปฏิบัติสั้น ๆ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และประชาชนบริเวณโดยรอบ ส่วนเหตุที่มีการอ้างว่าเจ้าหน้าที่ใช้เครื่องตัดสัญญาณ จนสัญญาณอินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้ทั้งบริเวณการชุมุนม ไม่เป็นความจริง เพราะเครื่องตัดสัญญาณสามารถใช้ได้ในรัศมี จํากัด และในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น สําหรับในการชุมนุมที่ผ่านมาการใช้โทรศัพท์ยังคงใช้งานได้ เพียงแต่ การใช้อินเทอร์เน็ต อาจจะช้าบ้าง หน่วงบ้าง เป็นบางช่วง โดยเฉพาะช่วงที่ผู้ชุมนุมมารวมตัวกันเป็น จํานวนมาก จึงไม่ใช่ลักษณะของการถูกตัดสัญญาณด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ดังกล่าว
สําหรับกรณีปรากฏภาพเจ้าหน้าที่ตํารวจใช้อุปกรณ์คล้ายอาวุธปืนยิงคลื่นสัญญาณ ระหว่างการจัดกิจกรรมชุมนุมเมื่อวันที่๑๖ส.ค.๖๓นั้น บช.น.ขอชี้แจงว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นอุปกรณที่ใช้ในการนํา อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน) ลงจอด เนื่องจากบริเวณที่จัดกิจกรรมชุมนุม (อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) เป็นเขตห้ามบินตาม พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.๒๔๙๗ และกฎหมายประกอบอื่น ๆ หากจะนําโดรนขึ้น บินจะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
บช.น. ขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตํารวจมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง หากพบเห็นการกระทําความผิดกฎหมาย หรือพบเหตุที่ต้อง สงสัย สามารถแจ้งมายัง ศูนย์วิทยุ 191 หรือสถานีตํารวจในพื้นที่ เพื่อดําเนินการตามกฎหมายต่อไป.-สำนักข่าวไทย