พิษโควิด-19 ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำนร.ยากจนพิเศษพุ่งล้านคน

กรุงเทพฯ 18 ส.ค..-พิษโควิด-19 ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำนักเศรษฐศาสตร์ เผย นร.ยากจนพิเศษพุ่งล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 62 กว่า 3 แสน


รศ.ดร.ชัยยุทธ ปัญญาสวัสดิ์สุทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรเพื่อพัฒนาสุขภาพและการศึกษาของนักเรียนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.ได้ประมวลข้อมูลนักเรียนยากจนพิเศษเพื่อจัดสรรทุนเสมอภาค พบว่า ปี 2563 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งเป็นช่วงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวนนักเรียนที่สมัครคัดกรองทั้งสิ้น 1,831,250 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 1,558,397 คน หรือ 17.5% สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยากจนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน อีกด้านหนึ่งเป็นผลจากความทุ่มเทตั้งใจของครูทั่วประเทศที่ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน คัดกรองนักเรียนเข้ามา

รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวต่อว่า จากนักเรียนที่สมัครเข้ามาทั้งหมด คณะวิจัยโครงการได้ใช้วิธีระเบียบวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อมหรือ PMT พิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่ 1.ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือน ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน และ2.ข้อมูลสถานะครัวเรือนซึ่งมีทั้งหมด 8 ด้าน เช่น ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง เช่น มีคนพิการ คนชรา เจ็บป่วยเรื้อรัง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงปลอดภัย ขาดที่ดินทำกิน ไม่มียานพาหนะ ไม่มีไฟฟ้า โดยในสถานการณ์ปกติ จากนักเรียนที่สมัครคัดกรองเข้ามาใหม่ทั้งหมดจะมีสัดส่วนนักเรียนยากจนพิเศษ ร้อยละ 20 หรือราว 300,000 คน แต่ปรากฎว่าเมื่ออ้างอิงรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนยากจนพิเศษในปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 1,337 บาทต่อคนต่อเดือน พบว่าภาคเรียนที่ 1 ปี 2563 มีนักเรียนยากจนพิเศษจำนวน 600,000 คน หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึงร้อยละ 90 จำนวนนี้ยังไม่รวมนักเรียนทุนเสมอภาคที่ได้รับต่อเนื่องจากปีก่อน อีกราว 9 แสนคน


“ตัวเลขนี้ชี้ชัดว่า โควิด-19 ทำให้เด็กและครัวเรือนได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหาความเหลี่อมล้ำทางการศึกษาจะทวีความรุนแรง มีแนวโน้มที่เด็กจะมีความเสี่ยงหลุดออกนอกระบบมากขึ้น ยิ่งหากพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียนรัฐของเด็กที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีฐานะยากจนและยากจนพิเศษในแต่ละช่วงอายุ เด็กแต่ละคนจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเดินทางไปโรงเรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ ค่าธรรมเนียม ค่าเครื่องแบบ และค่าหนังสือ อุปกรณ์การเรียน และมีค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่สูงขึ้นเมื่อมีการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น มากกว่า 3-4 เท่าของรายได้” รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าว

รศ.ดร.ชัยยุทธ กล่าวอีกว่า บทเรียนจากการศึกษาของ JPAL Poverty Action Lab ในเรื่องการเพิ่มการเข้าเรียน การมาเรียน ลาออกกลางคัน พบว่า การอุดหนุนค่าใช้จ่ายครัวเรือนยากจนแม้เพียงเล็กน้อย อาจส่งผลได้มากต่อการตัดสินใจของครัวเรือนในเรื่องการคงอยู่ในระบบการศึกษาของเด็กๆ จากประสบการณ์หลายประเทศชี้ว่า การอุดหนุนการเงิน ทั้งแบบมีและไม่มีเงื่อนไข ช่วยเพิ่มการมาเรียน และลดปัญหาการออกกลางคันได้จริง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้ตรวจสอบได้ ถือเป็นมาตรการเชิงป้องกันปัญหา เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการคุ้มครองทางสังคม ช่วยบรรเทาปัญหาความยากจนเฉพาะหน้า และในอนาคต.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักธุรกิจสาวแจ้งความทนายดัง “ฉ้อโกง” ฮุบเงิน 71 ล้าน

นักธุรกิจสาว อดีตลูกความทนายดัง แจ้งความถูกทนายดังฉ้อโกง ฮุบเงิน 71 ล้านบาท เผยถูกหลอกให้ลงทุนซื้อแพลตฟอร์ม “หวยออนไลน์”

สาวแจ้งความภรรยาอดีตบิ๊กตำรวจ ย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ

หญิงสาวแจ้งความภรรยาอดีตตำรวจยศนายพล แอบกิ๊กสามี แถมย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ มูลค่าหลายล้านบาท ด้านตำรวจเรียกผู้เสียหายสอบเพิ่ม พร้อมเก็บภาพวงจรปิดตรวจสอบแล้ว

“ทนายบอสพอล” มองยึดมือถือ พนง.ดิไอคอน เกินเส้นกฎหมาย

“ทนายบอสพอล” พาพนักงานดิไอคอน ลงบันทึกประจำวัน หลังตำรวจบุกค้น 11 จุด และยึดมือถือ มองว่าทำเกินกว่ากฎหมาย พร้อมฝากถึงศาลยุติธรรมในการออกหมายจับรอบ 2 เป็นห่วงสิทธิของทุกฝ่าย

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบนมีฝนน้อย-อากาศเย็นในตอนเช้า

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อยและอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 10%

สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางนิรโทษกรรม

สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ส่งแต่ตัวรายงานให้ ครม. ด้านประธาน กมธ.ย้ำไม่มีเรื่องแก้ ม.112 เป็นเพียงเปิดทางรับทราบข้อเท็จจริง และสมัยประชุมหน้ามีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองรอ 4 ฉบับ