กรุงเทพฯ 30 ก.ค. เคบีทีจี ปรับโฉมกสิกรไทยเป็นมากกว่าธนาคาร เดินหน้า 4 ยุทธศาสตร์ ดันเคแบงค์เป็น ธนาคารดิจิทัลแห่งภูมิภาค
นายเรืองโรจน์ พูลผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า อนาคตธนาคารจะเปลี่ยนบทบาทเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีบริการทางด้านการเงินให้กับลูกค้า เคบีทีจีมีเป้าหมายของการพัฒนาธนาคกสิกรไทยเป็นธนาคารดิจิทัลระดับภูมิภาค เป็น Reginal Digital bank การไปสู่เป้าหมายทำให้ธนาคารไม่หยุดลงทุนในเทคโนโลยี และการปรับตัวพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรองรับการเติบโต ยุทธศาสตร์ของเคบีทีจี คือการมุ่งไปที่ 4 เรื่อง คือ การพัฒนานวัตกรรม (Innovation) การขยายบริการออกไปสู่ภูมิภาค (Reginal Expansion) การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ดิจิทัล (Transform) และการพัฒนา คน (People) ในส่วนของ Innovation จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้รวดเร็วมากขึ้น Innovation Runway และใช้ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการทำ AI Factory ในการพัฒนาบริการที่ชาญฉลาด ส่วน Reginal Expansion จะขยายทั้งในภูมิภาค ในเออีซี เคบีทึจีจะใช้ไทยเป็นแกนหลัก เอาเทคโนโลยีจากจีนมาพัฒนาเพื่อนำมาใช้ในประเทศไทยและประเทศพื้นบ้านในอาเซ๊ยน โดยเราจะดีเวลล็อปเมนท์เซ็นเตอร์ในประเทศไทยและต่างประเทศ คือ ไทย เวียดนาม จีน และในประเทศจีน โดยในจีนเราจะเข้าไปตั้งบริษัท K tech เพื่อพัฒนานวัตกรรม และเลือกเทคโนโลยีที่น่าสนใจมาพัฒนาเป็นบริการใหม่ เคบีทีจีไม่ได้ไปแข่ง แต่เป็นการไปสร้างประสบการณ์ใหม่ในการทำธุรกิจ จีนมีการเคลื่อนไหวของคน สินค้า และเงิน ที่รวบเร็วบริการที่ตอบโจทย์ตลาดที่มีขนาดใหญ่จะนำไปใช้ได้ในทุกประเทศ ส่วนการปฎิรูปองค์กร (Transform) จะปรับโครงสร้างโดยใช้โครงสร้างและโมเดลธุรกิจของบริษัทไฮเทคชั้นนำของโลกอย่างกูเกิ้ล แอปเปิ้ล และเฟสบุ๊คมาปรับให้เข้ากับระบบนิเวศน์การทำงานของธนาคาร สำหรับการพัฒนาคน (People) จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ให้สอดรับกับเป้าหมายขององค์กรที่เป็นธนาคารดิจิทัลที่ทันสมัยของภูมิภาค โดยสนับสนุนบุคคลากรทุกสายงานให้เติบบนระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมและเพิ่มพูนศักยภาพในตัวเอง
“เราจะเป็นแค่ธนาคารไม่ได้แล้ว เมื่อลูกค้ามีความต้องการให้เราช่วยมากกว่านั้น เราจึงเอาความสามารถทางเทคโนโยีมาช่วยลูกค้า การไปทำงานกับลูกค้าช่วยให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น ลูกค้ารักเรามากขึ้น ทีมงานได้เรียนรู้วิธีการทำงานแบบใหม่ เราเชื่อว่าจะเป็นรีจินัลดิจิทัลแบงค์ภายใน 5 ปีจากนี้ คือในปี 2024 และเชื่อว่า 5G จะสร้างเศรษฐกิจใหม่ อุตสาหกรรมหลายอย่างจะเปลี่ยนไป ทั้งเพราะโควิด-19 และการมาของ 5G ธุรกิจการจัดประชุมจะเปลี่ยน รูปแบบการเรียนจะเปลี่ยน การท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมคอนเทนท์และอุตสาหกรรมบันเทิงจะเปลี่ยนไปตลอดกาล แม้กระทั้งห่วงโซ่การผลิตที่แหล่งผลิต และโรงงานจะไปอยู่ใกล้แหล่งที่บริโภค ชนาดโรงงานจะเล็กลง และถูกปรับให้เข้ากับระบบนิวเวศน์”นายเรืองโรจน์ กล่าว -สำนักข่าวไทย.