เปิดประสบการณ์ชีวิตช่วงวิกฤตโควิด-19

กรุงเทพฯ 25 ก.ค. – ระหว่างที่ยังต้องเฝ้าระวังว่า โควิด-19 จะกลับมาระบาดระลอก 2 หรือไม่ มีผู้คนจากหลายวงการ ทั้งแพทย์ คนไข้ ผู้ได้รับผลกระทบ พบประสบการณ์ชีวิตที่ยากลำบากในช่วงวิกฤติโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เช่น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ต้องตรวจยืนยันเชื้อโควิดตลอด 24 ชั่วโมง งานเสี่ยงและแบกรับแรงกดดันจากหลายด้าน ติดตามจากรายงานพิเศษ “เปิดประสบการณ์ชีวิตช่วงวิกฤติโควิด-19” วันนี้นำเสนอเป็นตอนแรก


การรับตัวอย่างเชื้อมาตรวจวินิจฉัย ด้วยวิธี RT-PCR เพื่อหาสารพันธุกรรมของโควิด-19 ให้แล้วเสร็จ และรายงานผลตรวจให้ทันภายใน 24 ชั่วโมง เป็นภารกิจหลักที่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ต้องแบกรับตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดหนักในไทย นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีทั้งหมด 16 คน ต้องแบ่งกะจัดเวรมาทำหน้าที่ตรวจยืนยันเชื้อโควิดตลอด 24 ชั่วโมง แต่ละวันมีเชื้อส่งมาให้ตรวจอย่างน้อย 500-700 ตัวอย่าง บางวันเกือบ 1,000 ตัวอย่าง แทบไม่มีเวลาพัก  


อีกภารกิจที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก็คือ การนำเชื้อตัวอย่างที่ตรวจแล้วได้ผลก้ำกึ่ง ไปแยกเชื้อด้วยเซลล์เพาะเลี้ยง ถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อให้ได้ผลตรวจที่ชัดเจน ซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ


หัวหน้าฝ่ายไวรัสระบบทางเดินหายใจ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอกว่า แม้ในห้องแล็บมีการวางระบบและอุปกรณ์ป้องกันอย่างดี แต่ภาระงานที่ต้องใกล้ชิดกับเชื้อโควิด ทุกคนจึงต้องเก็บตัวอย่างจากตัวเองมาตรวจหาเชื้ออยู่ตลอด เพราะหากมีใครในทีมติดเชื้อขึ้นมา ก็จะไม่มีคนทำงานในส่วนนี้ แต่สิ่งที่กังวลมากกว่าการติดเชื้อ ก็คือ ต้องทนรับแรงกดดันจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะสังคมโซเชียล ที่กล่าวหาว่าปกปิดข้อมูล ทำให้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อน้อย บั่นทอนความรู้สึกของคนทำงาน

การตรวจยืนยันเชื้อโควิด-19 ในช่วงแรก ทำในแล็บของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และแล็บของโรงพยาบาลจุฬาฯ ตรวจคอนเฟิร์มควบคู่กัน แต่หลังยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น ก็มีการปรับเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวนโรค ปฏิบัติการเชิงรุก 1 จังหวัด 1 แล็บ รวมกว่า 100 แล็บ ครอบคลุมทั่วประเทศ รายงานผลภายใน 24 ชั่วโมง ค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้ได้เร็วและมากที่สุด และจนถึงขณะนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็ยังต้องติดตามพัฒนาการของโควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจหาเชื้อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง หากมีการระบาดในระลอก 2  เกิดขึ้น. – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ประหารชีวิตแอมไซยาไนด์

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์”

ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 1 ปี 4 เดือน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท

นายกฯ ถกตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก

นายกฯ ถกแต่งตั้งนายพลตำรวจ 41 ตำแหน่ง ยันไม่มีการเมืองแทรก ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ ฉบับใหม่ พลิกโผ ‘สยาม บุญสม’ ผงาดคุมนครบาล ‘สันติ ชัยนิรามัย’ นั่ง ผบช.ปส. ‘ไตรรงค์ ผิวพรรณ’ โยกคุมไซเบอร์ ‘ภาณุมาศ บุญญลักษม์’ ขึ้นเป็น ผบช.สตม.

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้าน

ดีเอสไอพบเส้นเงินโอนจากแม่ถึงนักการเมือง ส. เกือบ 100 ล้านบาท จำนวนนี้พบโอนจาก “บอสพอล-บอสปีเตอร์” ด้วย เร่งขยายผลมีบอสรายอื่นโอนเข้าบัญชีดังกล่าวอีกหรือไม่

ข่าวแนะนำ

“เอวา” เสือโคร่งสายแบ๊ว ดาวรุ่งดวงใหม่

หน้าตาที่น่ารักบ้องแบ๊วเหมือนแมวตัวโต ตกหัวใจคนรักสัตว์กันไปเต็มๆ สำหรับน้องเอวา เสือโคร่งสายแบ๊วของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี นอกจากหน้าตาน่ารักแล้วยังมีความสามารถหลายอย่าง จนกลายเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ ที่ผู้คนแห่ไปชมความน่ารักกันอย่างคึกคัก คาดจะช่วยดึงนักท่องเที่ยวไปที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ต้อนรับอบอุ่น “โอปอล” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ถึงไทย

กลับถึงไทยแล้ว “โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 ปรากฏตัวในชุดไทย สวยสง่า แฟนนางงามต้อนรับอย่างอบอุ่น

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

นายกฯ โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์

“นายกฯ แพทองธาร” โชว์วิสัยทัศน์บนเวที Forbes Global CEO Conference ครั้งที่ 22 ดันเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ รับมือความท้าทาย ชูจุดเด่นไทยอยู่ตรงกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภาคการเกษตรที่เข้มแข็งดึงดูดนักลงทุน บอกกระตุ​้นเศรษฐกิจ​แจกเงินหมื่นเฟส​ 2 พุ่งเป้าเงินสะพัด ลั่น​จุดยืนไทยวางตัวเป็นทูตสันติภาพ พร้อมปรับตัวตามนโยบาย “ทรัมป์”