ผลกระทบโควิด-19 กสศ. ห่วงเด็กด้อยโอกาสความรู้ถดถอย

กรุงเทพฯ 13 เม.ย..-ผลกระทบโควิด-19 สถาบันวิจัย กสศ. ห่วงเด็กยากจนด้อยโอกาสความรู้ถดถอย หลังปิดเทอมใหญ่นานขึ้น ข้อมูล OECD ระบุ หลายประเทศเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงดิจิตัล ชี้ฟรีทีวีและมือถือเป็นตัวเลือกการศึกษาออนไลน์เพราะต้นทุนต่ำและยุ่งยากน้อย 


 ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. รายงานว่า สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ทำให้นักเรียนจำนวนกว่า 1.57 พันล้านคน จากกว่า 188 ประเทศ หรือคิดเป็น 91.3% ของผู้เรียนทั่วโลกต้องออกนอกโรงเรียนและหันไปสู่การศึกษาในรูปแบบนอกห้องเรียนแบบต่างๆ   ลักษณะเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งการที่ต้องอยู่บ้านนานๆ ยิ่งทำให้เกิดการลืมเลือนสิ่งที่เคยเรียนมา ทำให้ต้องมาทบทวนกันใหม่ซ้ำอีกครั้ง เรียกว่าปรากฎการณ์ความรู้ถดถอยไปหลังจากปิดเทอมใหญ่ 

 “จากงานวิจัยพบว่าการที่เด็กต้องออกจากโรงเรียนประมาณ 6 สัปดาห์ อาจจะทำให้ความรู้ของเขาหายไปถึงครึ่งปีการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาส หรือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆ เด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารเช้า อาหารกลางวันจากโรงเรียน ผู้ที่ต้องการการดูแลจากครูอย่างใกล้ชิด เด็กกลุ่มยากจนและเปราะบาง  ไม่มีคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต  บ้านมีปัญหา เช่น ยาเสพติด ความรุนแรงในครอบครัว ถือว่าได้รับผลกระทบนี้ที่มีความรุนแรงและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง” ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าว  


ในสถานการณ์ปัจจุบัน หลายแห่งในโลกหันไปใช้ระบบการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์  เพื่อแก้ปัญหาการปิดโรงเรียนชั่วคราว แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือระบบการศึกษาและระดับสาธารณูปโภคพื้นฐานแต่ละประเทศแตกต่างกัน ประเทศที่ต้องปิดโรงเรียนกลุ่มแรกๆ เช่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ อิตาลี หรือสหรัฐอเมริกาพบว่าแม้จะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้วก็ยังมีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ระหว่างนักเรียนหรือโรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มยากจนด้อยโอกาสกับโรงเรียนที่มีความพร้อมอยู่ไม่น้อย

 

ขณะที่องค์กร OECD ร่วมกับ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้จัดทำกรอบแนวทางสำหรับภาคการศึกษาในการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ COVID-19 โดยการใช้ข้อมูลการสำรวจของ OECD สำหรับนักเรียนอายุ 15 ปี จำนวนกว่า 600,000 คน จาก 79 ประเทศทั่วโลกในปี 2018 ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ในการสำรวจนี้ด้วย พบว่ามีความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ เช่น สถานที่ในบ้านไม่เอื้ออำนวย การขาดอุปกรณ์เครื่องมือในการเรียน โดยพบว่ามีเด็กไทยที่เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์และ แท็ปเล็ต 57.8% และ 43.4% ตามลำดับ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับหลายๆ ประเทศจะมีการเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่า เช่น อเมริกามีการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และแท็ปเล็ต 88.6% และ 79.2% สิงคโปร์ 89.3% และ 76.7%  ตามลำดับ ซึ่งประเทศเหล่านี้แม้จะต้องอยู่ในสถานการณ์ของการปิดโรงเรียนแต่นักเรียนก็มีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์ได้ในสัดส่วนที่สูงอยู่มาก 


 ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวต่อว่า อีกปัจจัยหนึ่งคือการเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เนต จากการสำรวจพบว่านักเรียนอายุ 15 ปี ที่บ้านมีการเข้าถึงสัญญานอินเตอร์เนต มีประมาณ 81.6 % ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีพอสมควร แต่หากแบ่งตามระดับเศรษฐฐานะของนักเรียน พบว่า นักเรียนในกลุ่มเศรษฐฐานะล่างสุดเพียง 57% ที่บ้านมีการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เนต อาจเป็นเพราะไม่มีเงินสำหรับสมัครสมาชิกหรืออยู่ในบริเวณสัญญาณเข้าไม่ถึง ซึ่งก็มีหลายประเทศแก้โดยใช้การจัดสรรอุปกรณ์ Wifi แบบพกพา ให้กับนักเรียนที่บ้านไม่มีสัญญาณอินเตอร์เนท หรือจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ครัวเรือนยากจนมีเงินในการสมัครบริการอินเตอร์เนท เป็นต้น  

ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา  กสศ. กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับเศรษฐฐานะจะสามารถเข้าถึงโทรทัศน์ หรือสมาร์ทโฟนได้ไม่ยาก  เช่น นักเรียนไทยมีการเข้าถึงสมาร์ทโฟนค่อนข้างมาก คือ ประมาณ 86.1%  แม้แต่เด็กในกลุ่มที่ยากจนที่สุดถึงเกือบ 80% ยังมีการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งนับว่าอาจจะเป็นอุปกรณ์ที่เด็กไทยสามารถเข้าถึงได้ง่ายในกรณีที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ดังนั้นหากมีการประยุกต์แนวทางการเรียนการสอน หรือเนื้อหาให้ถ่ายทอดผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ก็อาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เด็กสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนในแบบทางไกลได้ ภาครัฐหรือโรงเรียนหรือผู้พัฒนาระบบดิจิตัลแพลตฟอร์มในไทยน่าจะพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านทางมือถือ และขยายผลการใช้ให้มากขึ้นเพื่อการเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์   สิ่งที่สำคัญคือ การเลือกให้เหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของผู้เรียนและผู้สอน  ข้อสำคัญ ควรช่วยกันคิดต่อ สำหรับนักเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ ผู้พิการ ผู้บกพร่องในการเรียนรู้ กลุ่มเด็กเล็กที่พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ไม่สามารถเลี้ยงได้เพราะต้องออกไปทำงานหาเงิน นักเรียนที่มีในสภาพแวดล้อมเลวร้าย  มีความรุนแรงในครอบครัว ทางโรงเรียน หรือภาครัฐ ควรจะทำอย่างไร เนื่องจากเด็กในกลุ่มเหล่านี้คงต้องการการสนับสนุนแบบพิเศษและมิอาจรอคอยสภาวะวิกฤติเช่นนี้ได้นาน” ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าว.- สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี