fbpx

สธ.ลดแออัด รพ.ผู้ป่วยรับยา 500 ร้านยา เครือข่าย 50 โรงพยาบาลใหญ่

สธ.19 ก.ย.-สธ.เชิญ 500 ร้านขายยาเครือข่ายโรงพยาบาล 50 แห่ง ชี้แจงแนวทางจ่ายยาให้ผู้ป่วยใกล้บ้าน ตามนโยบายลดความแออัดโรงพยาบาล ให้เป็นตามมาตรฐานสภาวิชาชีพ


นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แก่ เภสัชกรห้องยา เภสัชกรร้านขายยา (ข.ย.1) วันนี้ (19 ก.ย.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น  โดยมีผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สภาเภสัชกรรม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน ร่วมประชุมจำนวนกว่า 500 คน


นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายลดความแออัดของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มความสะดวกบริการประชาชน โดยให้ผู้ป่วยนำใบสั่งยารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1) ที่ได้มาตรฐาน GPP ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการพัฒนาระบบบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีสภาวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นผู้กำกับคุณภาพบริการร้านยา โดยจะนำร่องในร้านยา 500 แห่งทั่วประเทศ ที่เป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 50 แห่ง และจะทยอยดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ตามความพร้อมของโรงพยาบาล ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และลดการครอบครองยาเกินความจำเป็น 

นพ.ประพนธ์ กล่าวต่อว่า เงื่อนไขการรับบริการขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วยเป็นหลัก ยาที่ผู้ป่วยได้รับจากร้านยาต้องเป็นตัวเดียวกันกับที่โรงพยาบาลจ่ายไว้เดิม เน้นผู้ป่วย 4 โรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตเวช และหอบหืด โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่ม  


ทั้งนี้ ปัจจุบันมีร้านยาที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GPP ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (ร้านขายยา ข.ย.1) จำนวน 17,000 แห่ง ทั่วประเทศ (อ้างอิงจากสมาคมเภสัชกรรมชุมชน) หากร้านยาสนใจเข้าร่วมโครงการประสานงานได้ที่ โรงพยาบาลแม่ข่าย, กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ในพื้นที่ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย