fbpx

ประเดิมวันแรก ‘ผู้ป่วยรับยาร้านยา’ 35 รพ.300 ร้านยา

กทม.1 ต.ค.-ประเดิมวันแรก โครงการ “ผู้ป่วยรับยาร้านยา” 35 โรงพยาบาล 300 ร้านยาทั่วประเทศพร้อมให้บริการผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด และจิตเวชเรื้อรัง รวมถึงโรคเรื้อรังอื่นที่ไม่ซับซ้อน ลดความแออัดในโรงพยาบาล เพิ่มความสะดวกผู้ป่วยไม่ต้องรอคิวนาน ด้าน สธ. สปสช. ร่วมติดตามประเมินโครงการฯ ต่อเนื่อง  


นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่ สปสช.ได้รับมอบนโยบายจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยร้านยา ขย.1 เพื่อให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน ในการประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ได้ประสานดำเนินการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สภาเภสัชกรรม และสมาคมเภสัชกรรมชุมชนแห่งประเทศไทยในการเตรียมความพร้อม ทั้งในส่วนของโรงพยาบาล ร้านยา และระบบต่างๆ เพื่อรองรับ โดยในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นวันแรกของการดำเนิน “โครงการลดความแออัดในโรงพยาบาลโดยร้านยา ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข” พร้อมกันทั่วประเทศ มีโรงพยาบาล จำนวน 35 แห่ง และร้านยา จำนวน 300 แห่ง ที่เริ่มต้นระบบผู้ป่วยรับยาร้านยาและพร้อมให้บริการในวันนี้


สำหรับบรรยากาศวันแรกของการเริ่มต้นโครงการฯ เพื่อให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยานั้น ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาแต่ละเขตพื้นที่ได้รายงานความพร้อมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และมีการเปิดตัวโครงการในพื้นที่ โดย สปสช.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขมอบให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้ง 13 เขต ลงพื้นที่ตรวจดูความพร้อมทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงระบบต่างๆ หากพบปัญหาและอุปสรรคจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นและสร้างความั่นใจให้กับผู้ป่วย 

พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบและเข้าร่วมโครงการ นอกจากช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความสะดวกในการรับยาให้กับผู้ป่วย ไม่ต้องรอคอยคิวรับยาที่โรงพยาบาล และเพิ่มคุณภาพบริการ ทำให้ผู้ป่วยได้รับคำปรึกษาด้านยา ใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยได้มีผู้ป่วยและประชาชนส่วนหนึ่งให้ความสนใจและสอบถาม


นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อไปว่า ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) 4 กลุ่มโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง จิตเวชเรื้อรัง และโรคเรื้อรังอื่นที่ไม่ซับซ้อน สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตามขั้นตอนดังนี้ 1.พบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อประเมินการรับยาที่ร้านยา 2.ลงทะเบียนรับยาที่ร้านยาโดยกรอกแบบฟอร์มแสดงความยินยอมและเลือกร้านยาที่เข้าร่วมโครงการกับโรงพยาบาล 3.รับใบนัดหรือใบสั่งยาจากโรงพยาบาล และ 4.รับยาได้ที่ร้านยาตามที่เลือกไว้ โดยแสดงบัตรประชาชนและใบนัดหรือใบสั่งยา ในกรณีที่มอบอำนาจให้รับยาแทนจะต้องแจ้งที่โรงพยาบาลไว้ก่อน และการรับยาต้องแสดงบัตรประชาชนตัวจริงของผู้ป่วย บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และใบนัดหรือใบสั่งยาของผู้ป่วย 

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเว็บไซต์ สปสช.https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-contentdetail.aspx?CatID=MTI4OA== หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการฯ และสายด่วน สปสช.1330 .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย