สอน.เกาะติดขึ้นภาษีความหวาน

กรุงเทพฯ 1 ส.ค. – สอน.ติดตามผลกระทบจากการขึ้นภาษีความหวาน กรมสรรพสามิตยันรัฐมีมาตรการดูแลอ้อยทั้งระบบ


จากกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องของผลกระทบจากการขึ้นภาษีความหวานอาจทำให้ภาคเอกชนหลายรายเปลี่ยนสูตรการผลิตสินค้า โดยใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งในอนาคตจะทำให้ความต้องการอ้อยที่นำมาใช้ผลิตน้ำตาลลดลง หวั่นส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการ คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า  การบริโภคน้ำตาลทรายภายในประเทศตั้งแต่ปี 2560 มีปริมาณ 2.6 ล้านตัน ปี 2561 มีปริมาณ 2.5 ล้านตัน และปี 2562 จนถึงปัจจุบันมีการบริโภคน้ำตาลทรายตั้งแต่เดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม 1.46 ล้านตัน และคาดว่าจะมีปริมาณการบริโภคปีนี้ประมาณ 2.6 ล้านตัน จะเห็นได้ว่าการบริโภคน้ำตาลทราย 3 ปีที่ผ่านมามีปริมาณใกล้เคียงกัน ซึ่งการบริโภคน้ำตาลทรายภายในประเทศจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ผู้บริโภคโดยตรงและผู้บริโภคโดยอ้อม โดยปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลให้กับผู้บริโภคโดยอ้อมเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2561 มีปริมาณการจำหน่ายอยู่ที่ 580,000 ตัน และปี 2562 อยู่ที่ 570,000 ตัน จะเห็นได้ว่ามีปริมาณใกล้เคียงกันโดยลดลงประมาณ 10,000 ตัน


ทั้งนี้ จากสถานการณ์อ้อยและน้ำตาลของไทยในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีการขยายตัวของพื้นที่ปลูกอ้อยซึ่งมีปริมาณอ้อยเข้าหีบและผลผลิตน้ำตาลสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉลี่ย 12 – 14 % ขณะที่ปริมาณการบริโภคน้ำตาลในประเทศและการส่งออกน้ำตาลมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างคงที่ประมาณ 5 – 6% ต่อปี ส่งผลให้ปริมาณสตอกน้ำตาลของไทยสูงขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยและราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ เป็นแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของราคาอ้อย   ตกต่ำ การขึ้นภาษีความหวานอาจเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล ซึ่งปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจรักษาสุขภาพลดการบริโภคน้ำตาลตามกระแสนิยม

สำหรับปัจจุบันการนำอ้อยและผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลไปต่อยอดในการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพซึ่งมีมูลค่าสูงถือเป็นทางออกและการเพิ่มมูลค่าและเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่ยั่งยืน  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย รวมถึงอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างต่อเนื่องและดูแลระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลให้เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

ขณะที่กรมสรรพสามิตระบุว่าภาครัฐมีการพิจารณาอุปสงค์และอุปทานของอ้อยทั้งระบบเพื่อลดผลกระทบ โดยมีการวางแผนเพิ่มมูลค่าตลาดทั้งในประเทศและการส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าของอ้อย โดยให้นำไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่น อาทิ เอทานอลเพื่อเป็นพลังงานในประเทศและการส่งออก เป็นต้น ส่วนการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะดูแลชนิดสารและปริมาณที่เหมาะสมในระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภคที่สามารถเติมในเครื่องดื่มได้ ซึ่งต้องพิจารณาปริมาณที่เหมาะสมและดำเนินการควบคุมควบคู่กันไปด้วย.-สำนักข่าวไทย


 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง