รองผู้ว่าฯกทม.ยืนยันจ่ายค่าส่วนแบ่ง ขี่บนทางเท้าจริง ไม่ถือเป็นช่องทางหาเงิน

สำนักข่าวไทย 10 ก.ค. -รองผู้ว่าฯกทม.ยืนยันจ่ายค่าส่วนแบ่ง ขี่บนทางเท้าจริง  ไม่ถือเป็นช่องทางหาเงิน แต่เป็นการให้สังคมช่วยกดดัน คนทำผิด


จากกรณีที่วันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ ‘ชื่อนี้ไม่สามารถเว้นว่างได้’  ได้โพสต์รูปภาพพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งจับผู้กระทำความผิด ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนทางเท้า โดยได้ระบุข้อความทั้งหมดเอาไว้ว่า “วันนี้มารับเงินค่าส่วนแบ่งในการแจ้งผู้กระทำผิด ขับขี่จักรยานบนทางเท้า” 


นอกจากนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้ ยังระบุเพิ่มเติมว่า “ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ที่เขต เค้าบอกว่าถ้าเค้าได้รับรูปมา เค้าจะส่งจดหมายเปรียบเทียบปรับให้กับเจ้าของรถ ถ้าเค้ามาจ่ายเราจะได้ส่วนแบ่ง แต่ถ้าหมดอายุความ ตำรวจจะเป็นคนดำเนินคดีต่อ และเราจะไม่ได้ส่วนแบ่งนะครับ” 

ชาวเน็ตหลายคนก็ได้เข้ามาแสดงความเห็นหลากหลายทั้งชื่นชม กทม. ,สอบถามวิธีการ แต่ที่หลายคนพูดถึงคือ เป็นช่องทางใหม่ในการเงินในยุคเศรษฐกิจฝืดเคือง นั้น 


นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นนโยบายที่ กทม. เปิดให้ประชาชนแจ้งเบาะแสพบเห็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่บนทางเท้ามายังช่องทางต่างๆของสำนักเทศกิจ โดยเจ้าหน้าที่จะติดตามดำเนินคดีและเปรียบเทียบปรับเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาททุกรณี ตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ที่มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท โดยจะมีการแบ่งค่าปรับให้กับผู้แจ้งเบาะแสครึ่งหนึ่ง สำหรับกรณีที่ดำเนินการถึงที่สุดแล้ว คือเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับรูปหลักฐานมาจะประสานกับกรมการขนส่ง เพื่อตรวจสอบว่าเจ้าของคือใคร ก่อนส่งจดหมายเปรียบเทียบปรับให้กับเจ้าของรถ ถ้ามาจ่ายจะแบ่งเข้ารัฐครึ่งหนึ่ง คือ 500 บาท และประชาชน 500 บาท แต่ถ้าหมดอายุความ ตำรวจจะรับช่วงไปดำเนินคดีต่อ โดยที่ประชาชนจะไม่ได้ส่วนแบ่ง

ส่วนกรณีที่หลายคนมองว่าจะใช้เป็นโอกาสหรือช่องทางทำมาหากินนั้น รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า เรื่องนี้ส่วนตัวมองว่าไม่น่าใช่ช่องทางทำมาหากิน แต่จะเป็นการที่ให้สังคมช่วยกันเป็นหูเป็นตากดดันผู้กระทำผิดถ้าไม่ทำผิดก็ไม่จำเป็นต้องระแวง เพราะจะให้เจ้าหน้าที่เทศกิจไปตรวจจับทุกพื้นที่ถนนคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากกำลังไม่เพียงพอ จึงต้องให้สังคมช่วยกัน 

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าหลังจากที่ดำเนินการโครงการนี้มาตั้งแต่เดือนก.ค.ปีที่แล้วจำนวนผู้กระทำผิดไม่ลดลงเลย ยังคงมีผู้แจ้งมาในทุกช่องทางจนถึงตอนนี้นับหมื่นราย ค่าปรับที่ปรับได้อยู่ที่ประมาณ11 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเยอะมาก โดยสำนักเทศกิจสามารถจับปรับได้จริงและแบ่งเงินให้ผู้แจ้งเบาะแสแล้วเพียงร้อยละ 20 ของจำนวนเบาะแสที่แจ้งมาเป็น 10,000 คดี เท่านั้น

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่ยังมีผู้กระทำผิดเยอะอยู่ต้องยอมรับว่าเป็นความเคยชินที่ทำเป็นประจำแม้จะรู้ว่าผิดก็ตาม ส่วนตัวอยากจะขึ้นค่าปรับให้มากกว่าที่เป็นอยู่ 1,000 บาท แต่ต้องขอรอดูความเป็นไปได้อีกครั้ง  ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้คนในกรุงเทพฯใช้เป็นช่องทางหาเงินแต่เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้สังคมเป็นระเบียบ

สำหรับขั้นตอนการจ่ายเงินส่วนแบ่งค่าปรับ สำหรับประชาชนที่ต้องการจะแจ้งเบาะแสมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

1.เบาะแสที่แจ้งต้องครบถ้วน เช่น ภาพหรือคลิปวิดีโอ ต้องบันทึกการกระทำความผิดที่ชัดเจน วันเวลา สถานที่เกิดเหตุ รายละเอียดรถ ทะเบียนรถ และอื่นๆให้มากที่สุด เพราะการส่งภาพมาเฉยๆบอกเพียงกว้างๆ ไม่ถือเป็นเบาะแสที่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามได้ทันที หรืออาจต้องใช้เวลามากจนเกินไป นอกจากนี้ยังต้องระบุชื่อและนามสกุลของผู้แจ้ง เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลของผู้แจ้งจะปกปิดเป็นความลับ  

2.ช่องทางในการติดต่อ เมื่อเบาะแสครบถ้วนแล้ว สามารถแจ้งมาได้ที่ไลน์แอด ebn6703w ,Facebook : สำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร,สายด่วนสำนักเทศกิจ 02-465-6644 ,Email : citylaw_bma@hotmail.com เว็บไซต์  http://203.155.220.179/reward/default.php  หรือ http://www.bangkok.go.th/reward 

3.การดำเนินการเมื่อส่งเบาะแสเข้ามาแล้ว เจ้าหน้าที่เทศกิจจะต้องส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่วงทางบก เพื่อขอที่อยู่การจดทะเบียนของรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว เมื่อได้มาแล้วจึงจะจัดส่งจดหมายไปยังเจ้าของรถให้มาชำระค่าปรับ ซึ่งถ้าเจ้าของรถเข้ามาชำระค่าปรับทันที ก็ถือว่าสิ้นสุดคดี

4.หากเพิกเฉยหากเจ้าของรถเพิกเฉยไม่มาชำระค่าปรับ ทางสำนักเทศกิจจะส่งเรื่องไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อติดตามดำเนินคดีต่อไป 

5.การติดตามเรื่องสำหรับกรณีที่แจ้งเบาะแสมาสมบูรณ์ จะต้องมีเลขที่รับเรื่องสำหรับติดตามความคืบหน้า แนะนำให้ถามผู้รับเรื่องให้เรียบร้อยตั้งแต่แรก ส่วนการติดตามให้ใช้ช่องทางเดียวกันกับที่แจ้งหรือต้องติดต่อโดยตรงที่ฝ่ายเทศกิจของแต่ละสำนักงานเขต 

6.การรับเงินส่วนแบ่งหากเป็นความผิดเล็กน้อย เจ้าหน้าที่อาจเรียกผู้กระทำความผิดเข้ามาเพื่อตักเตือนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความผิดที่มีการเปรียบเทียบปรับและมีการจ่ายค่าปรับเสร็จสิ้น ผู้แจ้งถึงจะได้เงินส่วนแบ่ง ซึ่งจะมีจดหมายส่งมาตามที่อยู่ที่กรอกไว้แต่ต้นให้มารับเงินภายใน 60 วัน ที่สำนักงานเขตพื้นที่รับผิดชอบ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง