กรุงเทพฯ 16 ก.ย. – สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลโพล เรื่อง คลายล็อคพรรคการเมือง พบประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยร้อยละ 85.1 และร้อยละ76.2 เห็นว่าควรเตรียมพร้อมเลือกตั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลโพล เรื่อง คลายล็อคพรรคการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,014 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 15 – 16 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 85.1 เห็นด้วยต่อ การคลายล็อคพรรคการเมือง เตรียมพร้อมเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 14.9 ไม่เห็นด้วย
เมื่อจำแนกออกเป็นกลุ่มที่จะเลือกตั้งครั้งแรก กับ กลุ่มที่เคยเลือกตั้งมาแล้ว พบความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ กลุ่มเลือกตั้งครั้งแรกส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.9 และกลุ่มที่เคยเลือกตั้งแล้วส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.3 เห็นด้วยต่อการคลายล็อคพรรคการเมือง เตรียมพร้อมเลือกตั้ง ที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.2 ระบุความเห็นต่อการเตรียมพร้อมเลือกตั้ง แบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ ร้อยละ 23.8 ระบุควรเร่งรีบจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 รับรู้ต่อการเคลื่อนไหวการเมืองวันนี้ เพื่อแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ของนักการเมือง ในขณะที่ ร้อยละ 30.7 รับรู้ต่อการเคลื่อนไหวการเมืองวันนี้เพื่อช่วยกันแก้ไขความขัดแย้งและความเดือดร้อนของประชาชน ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.4 ยังคงกังวลต่อความขัดแย้งรุนแรงบานปลายช่วงเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 32.6 ไม่กังวล
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อ การคลายล็อคพรรคการเมือง เตรียมพร้อมเลือกตั้ง
1.เห็นด้วย ร้อยละ 85.1
2.ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อ การคลายล็อคพรรคการเมือง เตรียมพร้อมเลือกตั้ง จำแนกตามกลุ่มที่จะเลือกตั้งครั้งแรก กับ กลุ่มที่เคยเลือกตั้งมาแล้ว
1 กลุ่มเลือกตั้งครั้งแรก เห็นด้วย ร้อยละ 84.9 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15.1
2 กลุ่มเคยเลือกตั้งแล้ว เห็นด้วยร้อยละ 86.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 13.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อ การเตรียมพร้อมเลือกตั้ง
1.เตรียมพร้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป ร้อยละ76.2
2.ควรเร่งรีบจัดการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ร้อยละ 23.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อ การเคลื่อนไหวการเมืองวันนี้ เพื่ออะไร
1. เพื่อแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ของนักการเมือง ร้อยละ 69.3
2.เพื่อช่วยกันแก้ไขความขัดแย้งและความเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 30.7
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ช่วงเลือกตั้ง
1. กังวล ร้อยละ 67.4
2.ไม่กังวล ร้อยละ 32.6
.-สำนักข่าวไทย