กลุ่ม LGBTQiA+ พอใจรัฐบาล ดันกฎหมายเท่าเทียมทางเพศ

กทม. 30 มิ.ย.-ซูเปอร์โพล เผยกลุ่ม LGBTQiA+ พอใจรัฐบาลให้ความสำคัญ ร้อยละ 66.7 ดันกฎหมายเท่าเทียมทางเพศ ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ยกระดับไทยเสมอภาคเรื่องเพศชัดเจน หวังเพิ่มรับรองสิทธิเลือกผู้รับมรดก ขณะที่ส่วนใหญ่ ยังไม่เข้าใจ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่มLGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,045 ตัวอย่างดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน พ.ศ.2567 นี้ความเท่าเทียมทางเพศ ช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้นกว่าอดีต


พบที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นของกลุ่ม LGBTQiA+ ต่อการแๅก้ไขกฎหมายแห่งความเท่าเทียมทางเพศในหลากหลายประเด็น ได้แก่ เมื่อถามว่า วันนี้ กลุ่ม LGBTQiA+ รู้และเข้าใจมากน้อยเพียงไร ต่อกฎหมายแห่งความเท่าเทียมทางเพศ เช่น สมรสเท่าเทียม สิทธิการใช้คำนำหน้า สิทธิการสืบทอดสมบัติ สิทธิผู้รับผลประโยชน์ ของกลุ่ม LGBTQiA+ เป็นต้น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.6 ยังรู้และเข้าใจค่อนข้างน้อยถึงไม่เลย ในขณะที่ร้อยละ 38.4 รู้และเข้าใจค่อนข้างมากถึงมากส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3ต้องการค่อนข้างมากถึงมากที่สุดให้มีการเพิ่มการรับรองสิทธิในการเลือกผู้รับผลประโยชน์ สมบัติสืบทอดให้คู่ชีวิตเสมือนกับคู่สมรส

เมื่อถามว่า วันนี้รู้สึกพอใจต่อรัฐบาลของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญของกลุ่ม LGBTQiA+ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 33.3 พึงพอใจค่อนข้างน้อยถึงไม่เลย นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.2 ระบุว่าเท่าที่ทราบของกลุ่ม LGBTQiA คือ การแก้ไขกฎหมายแห่งความเท่าเทียมทางเพศ ช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้นกว่าอดีตค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 11.8 ระบุค่อนข้างน้อยถึงไม่เลย


ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.3ต้องการค่อนข้างมากถึงมากที่สุดให้มีการเพิ่มการรับรองสิทธิในการเลือกผู้รับผลประโยชน์ สมบัติสืบทอดให้คู่ชีวิตเสมือนกับคู่สมรส ในขณะที่ร้อยละ 14.7 ระบุค่อนข้างน้อยถึงไม่เลย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ต้องการค่อนข้างมากถึงมากที่สุดให้มีคำนำหน้าคำว่า นาย และ นางสาว ให้กับกลุ่ม LGBTQiA+ ได้ใช้ตามต้องการ ในขณะที่ร้อยละ 18.2 ต้องการค่อนข้างน้อยถึงไม่เลยและเมื่อสอบถามความต้องการของกลุ่มLGBTQiA+ ถึงความต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมสิทธิให้กับกลุ่ม LGBTQiA อีกพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.1 ยังต้องการค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 15.9ต้องการค่อนข้างน้อยถึงไม่เลย

นายนพดล ยังกล่าวว่า จากผลสำรวจของซูเปอร์โพลแสดงว่าชุมชน LGBTQIA+ ของประเทศไทย พอใจต่อความพยายามของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในการผลักดันกฎหมายเพื่อความเท่าเทียม แต่ยังคงต้องการสิทธิในการใช้คำนำหน้าที่เหมาะสมกับเพศและสิทธิในการสืบทอดทรัพย์สินและเลือกผู้รับผลประโยชน์สำหรับคู่ชีวิตเช่นเดียวกับคู่สมรส ซึ่งยังเน้นถึงความท้าทายและโอกาสสำหรับการปฏิรูปกฎหมายต่อไป โดยในเวทีโลก ความก้าวหน้าของสิทธิ LGBTQIA+ แสดงถึงภูมิทัศน์ที่หลากหลาย บางประเทศได้ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อสิทธิในการแต่งงานของเพศเดียวกันและสิทธิในการเป็นผู้ปกครองซึ่งสามารถเป็นตัวอย่างในการสร้างนโยบายที่รวมทุกคน

ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล กล่าวอีกว่า การเดินทางไปสู่ความเท่าเทียมยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรคทั้งในเชิงกฎหมายและสังคม แม้จะมีการสนับสนุนระดับนานาชาติและความก้าวหน้าบ้างในบางประเทศ แต่หลายแห่งยังคงมีช่องว่างในการปกป้องสิทธิของ LGBTQIA+ ด้วยการปรับนโยบายในประเทศให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติระดับนานาชาติเหล่านี้ ประเทศไทยสามารถยกระดับกรอบกฎหมายในการสนับสนุนความเท่าเทียม ความปลอดภัย และความเสมอภาคของชุมชน LGBTQIA+ ได้อย่างแท้จริง การดำเนินการเหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยไม่เพียงตอบสนองมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับโลกเท่านั้น แต่ยังยกระดับสถานะของประเทศเป็นผู้นำในการเคารพสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียนในด้านการส่งเสริมสิทธิของมนุษย์ที่เท่าเทียมและการเคารพความหลากหลายทางเพศ


สำหรับข้อเสนอแนะ คือ 1.การรับรองเพศทางกฎหมายโดยจัดทำกฎหมายที่ให้การรับรองเพศทางกฎหมายอย่างชัดเจนและมีมนุษยธรรม โดยไม่ต้องการการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศหรือข้อกำหนดที่รุกราน เพื่อให้บุคคลข้ามเพศและไม่ไบนารีสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะเพศในเอกสารทางกฎหมายได้
2.สิทธิในการสืบทอดและสิทธิคู่สมรส ด้วยการขยายคำนิยามและปรับปรุงกฎหมายให้แน่ใจว่าบุคคล LGBTQIA+ และคู่ของพวกเขาได้รับสิทธิเดียวกันกับคู่สมรสแบบต่างเพศ เช่น สิทธิในการสืบทอดทรัพย์สิน, การจัดการทรัพย์สินร่วม, การตัดสินใจด้านการรักษาพยาบาล, และสิทธิในการอุปการะบุตร
3.กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ ด้วยการเสริมสร้างและบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อปกป้องบุคคล LGBTQIA+ จากการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน, โรงเรียน, สถานพยาบาล และบริการสาธารณะอื่นๆ

“ด้วยการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ ประเทศไทยจะสามารถส่งเสริมความเท่าเทียมและความปลอดภัยให้กับชุมชน LGBTQIA+ ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังจะช่วยให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างในการเคารพสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก” นายนพดล กล่าว.-316.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร