เปิดสาเหตุเขื่อนแตก! พิบัติภัยทำลายล้าง กลืนชีวิต-ทรัพย์สิน

อสมท 25 ก.ค.-กรณีเขื่อนแตก ที่ สปป.ลาว ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง ผู้มีส่วนร่วมกับการสร้างเขื่อน ยืนยันเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เขื่อนร้าว-น้ำรั่วไหลไปยังพื้นที่ใต้เขื่อน สอดคล้องกับสถิติสาเหตุการพิบัติของเขื่อนในโลก ที่ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเสียหายจากฐานรากเขื่อน


เขื่อนถูกพิจารณาว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีปัจจัยอันตรายโดยกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการทำลายล้างชีวิตพลเรือนและสิ่งแวดล้อมเมื่อเขื่อนแตก เหตุการณ์เขื่อนแตกนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง

หน่วยตรวจสอบความปลอดภัยของเขื่อนของสหรัฐ (U.S. Army Corps of Engineer’s National Dam Inspection Program) เผยเขื่อนจำนวน 4,906 แห่ง ซึ่งตรวจสอบในเดือน มี.ค. 1980 มีเขื่อนไม่ปลอดภัยอยู่ถึง 32% หรือ 1,563 เขื่อน โดยเขื่อนดินจะมีจำนวนการพิบัติมากกว่าเขื่อนประเภทอื่นและส่วนมากเกิดจากขั้นตอนการสำรวจและออกแบบ


ลักษณะการพิบัติของเขื่อน

1. การรั่วซึมของฐานรากและตัวเขื่อน

ตัวอย่างของการพิบัติในกรณีนี้ได้แก่ เขื่อน Teton ที่รัฐไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1976 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 14 คน และทําให้มีการกระตุ้น ให้เกิดการออกกฎหมายด้านความปลอดภัยเขื่อนเพิ่มเติม ในกรณีของประเทศไทย ได้แก่ เขื่อนมูลบนที่มีการรั่วซึมผ่านฐานราก ในปี พ.ศ. 2533 แต่มีการแก้ไขได้ทันเวลาโดยไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ ต่อมาได้ซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ


2. การพิบัติจากน้ำล้นสันเขื่อน เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการพิบัติในอันดับต้นๆ สําหรับสาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

-การคาดการณ์ทางอุทกวิทยาไม่เหมาะสม

-การเปิดปิดบานระบายน้ำล้นไม่ถูกต้อง

-มีการถล่มของดินลงในอ่างทําให้เกิดคลื่นใหญ่

-การออกแบบ Freeboard ไม่เหมาะสม

-การชํารุดของบานระบาย

-การปิดกั้นบานระบายน้ำเนื่องจากเศษวัสดุ 

3.การทรุดตัวต่างกันทําให้เกิดรอยแยกในตัวเขื่อน

เขื่อนและฐานรากประกอบด้วยวัสดุก่อสร้างที่เป็นดิน กรวด ทราย หิน หรือคอนกรีต วางอยู่บนฐานรากที่เป็นดินหรือหินตามธรรมชาติเมื่อมีแรงหรือน้ำหนักมากดทับหรือได้รับแรงจากแผ่นดินไหว ย่อมจะมีการเคลื่อนตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทรุดตัวในแนวดิ่ง ถ้าการทรุดตัวเกิดขึ้นสม่ำเสมอก็ไม่ค่อยมีอันตราย แต่ถ้าเกิดขึ้นต่างกัน มักจะมีผลทําให้เกิดรอยแตกแยกขึ้นได้ทั้งผิวนอกของตัวเขื่อน ซึ่งสามารถเห็นได้หรือภายในตัวเขื่อนซึ่งยากต่อการตรวจพบ และยังอาจเป็นสาเหตุสืบเนื่องก่อให้เกิดการรั่วซึมของตัวเขื่อนได้ 

4. การเคลื่อนพังของลาดเขื่อนและฐานราก

การพิบัติลักษณะนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยมีการบอกเหตุล่วงหน้าน้อยมาก และมักเกิดรวมกับการเปลี่ยนแปลงความดันน้ำภายในตัวเขื่อนหรือฐานราก


5. การพิบัติจากการกัดเซาะ

การพิบัติของเขื่อนยังอาจเกิดจากการกัดเซาะของคลื่น ที่พัดเข้ากระทบลาดเขื่อนเหนือน้ำ ส่วนการกัดเซาะจากน้ำฝนปกติจะป้องกัน ได้จากการปลูกหญ้า หรือทําหินเรียงคลุมไว้ แต่ถ้าดินมีลักษณะกระจายตัวในน้ำได้ง่าย (Dispersive Clay) ก็จะเกิดการกัดเซาะบนลาดเขื่อนได้มากจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายได้ ดังที่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

6.  การพิบัติหรือเสียหายเนื่องจากแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวส่งผลต่อความมั่นคงของเขื่อนเนื่องจากสามารถก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ทําให้เกิดแรงกระทําเพิ่มขึ้นในวัสดุตัวเขื่อน นอกจากนั้นยังอาจส่งผลต่อเขื่อนเนื่องจากการเคลื่อนตัวของแนวรอยเลื่อนใกล้บริเวณเขื่อน


สถิติสาเหตุการพิบัติของเขื่อนในโลก อ้างอิงจากหนังสือ DAMS AND PUBLIC SAFETY ปี 2526 ไล่เรียงตามลำดับดังนี้ 

ความเสียหายจากฐานรากเขื่อนเกิดขึ้น 40% อาคารระบายน้ำล้นมีขนาดไม่เพียงพอ 23% การก่อสร้างไม่ดี 12% การทรุดตัวอย่างรุนแรง 10% แรงดันน้ำในตัวเขื่อนสูงมาก 5% เกิดจากสงคราม 3% การไหลเลื่อนของลาดเขื่อน 2% วัสดุก่อสร้างไม่ดี 2% การใช้งานเขื่อนไม่ถูกต้อง 2% และเกิดจากแผ่นดินไหว 1%

ส่วนกรณีเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของ สปป.ลาว พังเสียหาย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีส่วนร่วมกับโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้กล่าวในแถลงการณ์ยืนยันว่า เขื่อนที่มีความยาว 770 เมตร ได้รับความเสียหาย หลังจากเกิดฝนตกหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งทำให้มีปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากไหลเข้าไปในบริเวณที่เก็บกักน้ำของโครงการทำให้เขื่อนร้าวและน้ำรั่วไหลไปยังพื้นที่ใต้เขื่อน ขณะที่เอสเค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น บริษัทก่อสร้างของเกาหลีใต้ ซึ่งร่วมทุนในโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าว เผยบริษัทฯ ตรวจพบโครงสร้างตอนบนของเขื่อน ได้รับความเสียหาย ก่อนเกิดรอยแตกที่สันเขื่อนในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา ยืนยันแจ้งทางการลาวและให้เริ่มขั้นตอนการเริ่มอพยพชาวบ้านที่อยู่ปลายน้ำ รวมทั้งพยายามซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักเป็นอุปสรรคสำคัญ.-สำนักข่าวไทย

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : โครงการอบรม ความปลอดภัยเขื่อนในสภาวะปกติและสภาวะอันตราย เรื่อง “การพิบัติของเขื่อน” โดย ผศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์, รศ.ดร.วรากร ไม้เรียง ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.gerd.eng.ku.ac.th/Paper/Paper_Other/GERD_STAFF/บทความ_การพิบัติของเขื่อน.pdf

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว

DSI ฝากขัง “สามารถ-แม่” พร้อมคัดค้านประกันตัว ด้านแม่ตะโกนร้องขอความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้ง แจงเป็นเงินบุญ ปี 64 ขณะที่ “สามารถ” เผย “อยากพูด แต่พูดไม่ได้“

งด ครม.

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” วันศุกร์

งด ครม. ทำเนียบวันนี้ เตรียมสัญจรครั้งแรก “เชียงใหม่-เชียงราย” ศุกร์นี้ นายกฯ ตั้งเป้าปีหน้าน้ำท่วมภาคเหนือต้องไม่เกิดอีก ด้าน ศปช. เตรียมเสนอแผนแก้อย่างเป็นระบบใน ครม.สัญจร ศุกร์นี้