กรุงเทพฯ 1
พ.ย.-ไออีเอฟ เผย ไทยจัดประชุม AMER7 ดึงดูดผู้เข้าร่วมประชุมสูงสุด
24 ประเทศ 12 องค์กรระหว่างประเทศ
เหตุหัวข้อประชุมตรงกับภาวะการณ์พลังงานและความสวยงามของประเทศไทย
นายซุน
เซียงเช็ง (Dr Sun Xiancheng ) เลขาธิการ ไออีเอฟ (IEF ; International Energy Forum ) กล่าวว่า มีผู้เข้าร่วมประชุม โต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย (ASIAN
Ministerial Energy Roundtable : AMER) ครั้งที่ 7 ณ โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตั้งแต่ เคยจัดมา โดยมี 24 ประเทศ และ 12
องค์กรระหว่างประเทศ ในระหว่างที่ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการ 1 -3 พฤศจิกายน 2560 นี้ ซึ่งเหตุผลหลัก
ก็คงมาจาก 2 ปัจจัย
คือ ประเด็นการประชุมน่าสนใจ ซึ่งเกี่ยวเนื่อง กับราคาน้ำมันที่ตกต่ำ
แม้ว่าจะขยับขึ้นมาบ้าง แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในขณะที่
พลังงานทางเลือกมีบทบาทมากขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทย ยังเป็นประเทศที่น่าเดินทางมาเยือน
ผู้คนมีมิตรไมตรี อัธยาศัยดี สถานที่สวยงาม จึงดึงดูดผู้เข้าร่วมประชุม
พร้อมทั้งผู้ติดตามให้มาเยือนเมืองไทย
นายซุน
กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด Global
Energy Markets in Transition : From Vision to Action หรือ การเปลี่ยนผ่านตลาดพลังงานโลก จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ โดยชาติในเอเชีย
ที่ประกอบด้วยประเทศผู้ขายน้ำมันในกลุ่มตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศผู้ซื้อน้ำมันรายใหญ่ รวมทั้งชาติในอาเซียน จะได้ร่วมกันแสดงทัศนะต่อสถานการณ์พลังงาน ในประเด็นสำคัญๆ
3 ด้านคือ ตลาดน้ำมัน (Oil
Market) ตลาดก๊าซธรรมชาติ (Gas Market) และการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่ทางเลือกการใช้พลังงานทดแทน
โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่าน (Disruptive
Technology)
นายซุน กล่าวว่า ในขณะนี้ แม้หลายฝ่ายจะมองว่า
พลังงานทดแทนมีบทบาทมากขึ้น แต่ทิศทางแล้ว พลังงานทดแทนก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลแต่ละประเทศจะสนับสนุนอย่างไร
เช่นสหรัฐจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีส ทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทดแทนช้าลง และยังขึ้นอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยี โดยผู้เชี่ยวชาญ ยังมองว่า ในปี ค.ศ. 2040 ฟอสซิลจะเป็นพลังงานหลักในเอเชียถึงร้อยละ 70 ขณะเดียวกัน
พลังงานทดแทนจะมีบทบาทมากขึ้น โดย
จะต้องใช้เวลา ในการเปลี่ยนผ่านอาจ มากกว่า 20 ปี
นายทวารัฐ
สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า การประชุมAMER ครั้งที่
7 นี้ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการเปลี่ยน
ผ่านพลังงานจากน้ำมัน ไปเป็นก๊าซธรรมชาติ และพลังงานทดแทน ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ
เกิดขึ้นทั้ง ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ระบบพลังงานสำรอง ( energy storage) และ Solar Rooftop ดังนั้น
การประชุมจึงได้รับความสนใจ และข้อมูลระดับนโยบายของแต่ละประเทศในเอเชีย
จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการวางแผนในอนาคต
โดยเฉพาะ ไทยนั้นเป็นผู้นำในอาเซียน ด้านพลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงานและมียุทธศาสตร์
และเป้าหมายด้านการวางแผนพลังงานที่ชัดเจน เช่น แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (Thailand Integrated Energy Blueprint : TIEB) และนโยบาย Energy 4.0 เป็นต้น ที่สามารถนำข้อมูลมาบูรณาการรวมกันได้
-สำนักข่าวไทย