โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กพลังงานอนาคตกำลังมาแรง

กรุงเทพฯ 20 พ.ค. – Krungthai COMPASS หนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) พลังงานแห่งอนาคตกำลังมาแรง Krungthai COMPASS ระบุว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) ถูกกล่าวถึงมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอดเวลาอีกทั้ง SMR ยังใช้เงินทุนน้อยกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบดั้งเดิม ในปี 2566 มี SMR 2 แห่ง ที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ไปแล้วในรัสเซียและจีน ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 70 และ 200 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ส่วนในอนาคต องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คาดว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMRs) ทั่วโลกจะขยาย จาก 270 เมกะวัตต์ ในปี 2566 เป็น 118,000 เมกะวัตต์ ในปี 2593 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 25.3% CAGR ด้วยเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดราว […]

เวียดนามเพิ่มเป้าจีดีพีปีนี้โตอย่างน้อย 8%

สมัชชาแห่งชาติของเวียดนามเห็นชอบตามที่รัฐบาลเสนอปรับเพิ่มเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี (GDP) ปีนี้เป็นอย่างน้อยร้อยละ 8 และเห็นชอบโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหญ่หลายโครงการ

“บางจาก” เดินหน้าศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) รองรับ AI

กลุ่มบริษัทบางจาก เดินหน้าศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) รองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้ามหาศาลของ AI

จีน-ญี่ปุ่นบรรลุข้อตกลงเรื่องการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ

กระทรวงต่างประเทศจีนกล่าววันนี้ว่า จีนและญี่ปุ่นบรรลุข้อตกลงร่วมกันเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเกี่ยวกับการปล่อยน้ำทิ่งที่มีสารกัมมันตภาพรังสีที่ได้รับการบำบัดแล้วจากไรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

ยูเอ็นห่วงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครนและรัสเซีย      

นิวยอร์ก 24 ส.ค.- สหประชาชาติ หรือยูเอ็นมีความกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในรัสเซีย และขอให้ทุกฝ่ายรับรองความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 2 แห่งนี้ โฆษกของนายอันโตนีโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็นแถลงว่า ยูเอ็นมีความกังวลอย่างยิ่งเรื่องความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาปอริชเชีย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน แต่อยู่ในการควบคุมของรัสเซีย และ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์คุสค์ ในแคว้นคุสค์ ทางตะวันตกของรัสเซีย เนื่องจากโรงไฟฟ้าฯ ทั้ง 2 แห่ง อยู่ท่ามกลางเขตการสู้รบ จึงเป็นเรื่องอันตราย ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งยูเครนและรัสเซียรับรองความปลอดภัยและความคุ้มครองโรงไฟฟ้าฯ เหล่านี้ รวมทั้งให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทีมงานของยูเอ็นในสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล หรือ ไอเออีเอ (IAEA) ด้านนายราฟาเอล  กรอสซี  ผู้อำนวยการไอเออีเอ จะเดินทางไปตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คุสค์ในสัปดาห์หน้า เพื่อประเมินสถานการณ์หลังเกิดเหตุโดรนโจมตี เป็นเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย กล่าวหาว่า ยูเครนที่ส่งทหารบุกแคว้นคุสค์มาตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม พยายามยั่วยุให้เกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับนิวเคลียร์ แต่ฝ่ายยูเครนปฏิเสธ ขณะเดียวกันรัสเซียยังคงอพยพพลเรือนออกจากหมู่บ้านและเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าฯ แห่งนี้ โดยอพยพไปแล้วมากกว่า 130,000 คน และยังคงเหลือรอการอพยพอีกราว 20,000 คน.-810(814).-สำนักข่าวไทย

ยังไม่รู้สาเหตุไฟไหม้โรงงานนิวเคลียร์ในยูเครน

เวียนนา 14 ส.ค.- สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอ (IAEA) ยังไม่ทราบสาเหตุของไฟไหม้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน ซึ่งอยู่ในความยึดครองของรัสเซีย และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในยุโรป ไอเออีเอแถลงเมื่อค่ำวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นว่า ทีมงานของไอเออีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชาโปริชเชียในยูเครน ซึ่งอยู่ในการยึดครองของรัสเซีย ได้ตรวจสอบภาพถ่ายและหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้รับมาในวันนี้ ซึ่งยังคงบ่งชี้ว่า เหตุไฟไหม้เมื่อวันจันทร์ ต้นเพลิงไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณฐานของหอหล่อเย็น ตอกย้ำข้อสรุปของทีมงานที่ว่า ไฟไหม้หลักไม่น่าจะเกิดขึ้นที่ฐานของหอหล่อเย็น ภาพและคลิปภาพที่ถ่ายจากด้านในของหอหล่อเย็นไม่พบเศษซากของวัตถุแปลกปลอมแต่อย่างใด  นอกจากนี้ไอเออีเอยังได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ดูแลโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้ว่า เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นส่งกระทบต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างหอหล่อเย็นหมายเลข 1 จำเป็นต้องได้รับการประเมินและอาจจำเป็นต้องทำลายหอหล่อเย็นดังกล่าวทิ้ง ก่อนหน้านี้ทั้งยูเครนและรัสเซียต่างกล่าวโทษอีกฝ่ายว่า ทำให้เกิดไฟไหม้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว.-816(814).-สำนักข่าวไทย

ยูเครน-รัสเซียโทษกันเรื่องไฟไหม้ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เกิดเหตุไฟลุกไหม้ภายในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาปอริชเชียที่รัสเซียเข้ายึดครองในพื้นที่ทางใต้ของยูเครน เปลวเพลิงและควันไฟมองเห็นได้จากที่ไกล โดยที่รัสเซียและยูเครนต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายก่อเหตุ

ครบรอบ 13 ปี สึนามิถล่มญี่ปุ่น

วันนี้เป็นวันครบรอบ 13 ปีของเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิรุนแรงพัดถล่มญี่ปุ่น คร่าชีวิตคนหลายหมื่นคน และเกิดวิกฤตินิวเคลียร์ครั้งใหญ่ตามมา

คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

เคียฟ 11 ก.พ.- คณะผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปยังพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน เพื่อตรวจสอบว่าได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียทำสงครามในยูเครนหรือไม่ คณะผู้เชี่ยวชาญที่นำโดยนางเฮดี เฮาตาลา รองประธานรัฐสภายุโรป เดินทางไปยังพื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในแคว้นเคียฟของยูเครนที่ปิดใช้งานตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2529 เพื่อตรวจสอบว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากการที่รัสเซียทำสงครามในยูเครนหรือไม่ นางเฮาตาลาระบุว่า โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้พรมแดนเบลารุสที่มีความโยงใยอย่างยิ่งกับสงครามในยูเครน การมาเห็นด้วยตาของตนเองจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทางการยูเครนจะต้องปกป้องพื้นที่แห่งนี้ไม่ให้ก่ออันตรายด้านกัมมันตรังสีต่อประชาคมโลก รองประธานรัฐสภายุโรประบุด้วยว่า เห็นป่าไม้รอบโรงไฟฟ้าเสียหายบางส่วน และทราบว่ามีทุ่นระเบิดจำนวนมากถูกฝังไว้ในป่า การทำความสะอาดและเก็บกู้ทุ่นระเบิดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และเข้าใจดีว่าเป็นกระบวนการที่ใช้ระยะเวลา.-814.-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำทิ้งฟุกุชิมะรอบที่ 2

โตเกียว 5 ต.ค.- ญี่ปุ่นเริ่มการปล่อยน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะรอบที่ 2 ในวันนี้ โฆษกของบริษัทไฟฟ้าโตเกียวหรือเทปโก (TEPCO) เผยว่า เริ่มการปล่อยน้ำเมื่อเวลา 10:18 น.วันนี้ตามเวลาญี่ปุ่น ตรงกับเวลา 08:18 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นการปล่อยน้ำทิ้งรอบที่ 2 หลังจากปล่อยรอบแรกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมและเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน และจะปล่อยในปริมาณ 7,800 ตันเช่นเดียวกับรอบแรก จากน้ำทั้งหมด 1.34 ล้านตันที่สะสมอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิซัดเตาปฏิกรณ์เสียหายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 คาดว่าการปล่อยน้ำทิ้งทั้งหมดต้องใช้เวลาหลายทศวรรษจึงจะเสร็จสิ้น เทปโกยืนยันว่า น้ำทิ้งผ่านการกรองสารกัมมันตรังสีทั้งหมดออกแล้ว ยกเว้นทริเทียมที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย สาเหตุที่ต้องปล่อยน้ำเพราะต้องการเคลียร์ถังเก็บน้ำทิ้งออกจากโรงไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงกัมมันตรังสีอันตรายและซากความเสียหายที่ยังอยู่ภายในโรงไฟฟ้า จีนสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นทั้งหมดตั้งแต่การปล่อยน้ำทิ้งรอบแรก และมีรายงานว่ารัสเซียกำลังพิจารณาห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้จะขยายพื้นที่ตรวจน้ำทะเลหลังญี่ปุ่นปล่อยน้ำทิ้ง

เกาหลีใต้จะเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจหารังสีจากน้ำทะเลเป็นการฉุกเฉิน ด้วยการเพิ่มจุดตรวจริมชายฝั่ง หวังบรรเทาความกังวลของประชาชน หลังจากญี่ปุ่นปล่อยน้ำทิ้งจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

1 2 3 6
...