วิทยุการบินฯ ศึกษาสนามบินฟูกูโอกะ มุ่งเพิ่มศักยภาพเที่ยวบินสนามบินภูเก็ต 

ญี่ปุ่น 27 ก.พ. – “มนพร” เผยวิทยุการบินฯ ศึกษาแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับปริมาณเที่ยวบินสนามบินภูเก็ต โดย Benchmark กับสนามบินฟูกูโอกะ เเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการจราจรทางอากาศ กระตุ้นเศรษฐกิจและท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น สร้างรายได้เข้าประเทศ มุ่งสู่เป้าหมายเป็นฮับการบิน


นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะผู้บริหารบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน สนามบินฟูกูโอกะ ซึ่งเป็นสนามบินหลักของภูมิภาคคิวชู ประเทศญี่ปุ่น

นางมนพร กล่าวว่าได้มอบหมายให้ บวท. เร่งขยายความสามารถในการรองรับปริมาณเที่ยวบิน เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย บวท. ศึกษาแนวทางเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินของสนามบินภูเก็ต ซึ่งเป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง มีความสามารถในการรองรับของทางวิ่ง 25 เที่ยวบิน/ชั่วโมง ซึ่งได้เลือกสนามบินฟูกูโอกะ เป็นคู่เทียบและแบบอย่างสําหรับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ Benchmark เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกับสนามบินภูเก็ตและสนามบินหลักของภูมิภาคอื่น ๆ ในประเทศไทย ซึ่งสนามบินฟูกูโอกะ เดิมเป็นสนามบินที่มีทางวิ่งเส้นเดียว (Single Runway) ที่มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้สูงที่สุดของญี่ปุ่น โดยรองรับได้ถึง 38 เที่ยวบิน/ชั่วโมง และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 และปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร


ปัจจุบันปริมาณเที่ยวบินจากฟูกูโอกะมายังประเทศไทยทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมี 3 สายการบิน ซึ่งมีตารางการบินล่วงหน้า สำหรับเที่ยวบินขนส่งสินค้าและเที่ยวบินรับ-ส่งผู้โดยสาร ได้แก่ การบินไทย ไทยแอร์เอเชีย และไทยเวียตเจ็ท ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เตรียมขยายตลาดทางการบินรองรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น ดังนั้น บวท. จำเป็นต้องศึกษาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการเพิ่มศักยภาพและยกระดับการให้บริการการเดินอากาศ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างประโยชน์และสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้ประเทศชาติ มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคต่อไป

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ประธานคณะกรรมการ บวท. กล่าวว่า สำหรับปริมาณเที่ยวบินระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – มกราคม 2568 (4 เดือน) มีปริมาณเที่ยวบินรวม 165,474 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น มีปริมาณเที่ยวบินรวม 7,588 เที่ยวบิน คิดเป็น 5 % ของเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด โดยประเทศญี่ปุ่น อยู่อันดับที่ 7  ที่ทำการบินเข้า/ออกประเทศไทยสูงสุด ณ ปัจจุบัน ทำการบินเฉลี่ยประมาณวันละ 62 เที่ยวบิน สำหรับสถิติปริมาณเที่ยวบินระหว่างไทย – ฟูกูโอกะ ทำการบินเฉลี่ยวันละ 6 เที่ยวบิน คิดเป็นร้อยละ 10 ของเที่ยวบินระหว่างประเทศไทย – ญี่ปุ่น ทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้มีหลายสายการบินขอเพิ่มเที่ยวบินไปยังเมืองฟูกูโอกะ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ จึงทําให้มีความต้องการเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น
จํานวนมาก

การศึกษาดูงานสนามบินฟูกูโอกะ ซึ่งมีปริมาณเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้ บวท.จะนำรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ ทั้งลักษณะการบริหารจัดการห้วงอากาศ การบริหารจัดการลักษณะทางกายภาพของสนามบิน  อาทิ ทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดอากาศยาน อาคารผู้โดยสาร และการบริหารจัดการการใช้งานทางวิ่ง ของสนามบินฟูกูโอกะ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ และแนวทางการบริหารจัดการการจราจรทางอากาศของสนามบินภูเก็ต และสนามบินภูมิภาคอื่น ๆ รวมถึงการวิเคราะห์หาค่าขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบิน เพื่อให้สนามบินภูเก็ต และสนามบินภูมิภาคอื่น ๆ สามารถเพิ่มความสามารถในการรองรับของเที่ยวบินได้มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด


นายณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์  กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บวท. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาสนามบินฟูกูโอกะเปรียบเทียบกับสนามบินภูเก็ต พบว่า แนวทางการเพิ่มความสามารถในการรองรับเที่ยวบินของสนามบินภูเก็ตนั้น จะต้องพิจารณา 3 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ ต้องเลือกใช้ทางวิ่งขึ้น-ลง ที่เหมาะสม และในการให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ โดย บวท. ได้ดําเนินโครงการ High Intensity Runway Operation (HIRO) ณ สนามบินภูเก็ต เพื่อลดระยะการครองทางวิ่ง (Runway Occupancy Time (ROT)) ทําให้การจัดระยะห่างลดลง จะทำให้สามารถรองรับเที่ยวบินได้เพิ่มขึ้น
  2. ด้านลักษณะทางกายภาพของสนามบิน ต้องพิจารณาลักษณะทางกายภาพของ Rapid Exit Taxiway (RET) ให้มีระยะทางที่เหมาะสม และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ จะทําให้อากาศยานใช้ระยะเวลาในการครองทางวิ่งน้อยลง สามารถลดระยะห่างของอากาศยานลดลง และสามารถรองรับเที่ยวบินได้มากขึ้น
  3. ด้านกระบวนการตัดสินใจร่วมกันของผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการ และผู้ดำเนินงานสนามบิน หรือ Airport Collaborative Decision Making (A-CDM) และการบูรณาการร่วมกับระบบบริหารความคล่องตัวการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Flow Management : ATFM) หรือ ATFM – ACDM Integration ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการในภาพรวมของสนามบินเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ บวท. ยังมีแผนในการนําระบบติดตามอากาศยานภาคพื้น Multilateration (MLAT) รวมทั้งระบบ Digital Tower มาใช้ในการจัดการจราจรทางอากาศ เพื่อช่วยในการบริหารจัดการจราจรภายในพื้นที่สนามบินได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินของสนามบินภูเก็ต ให้ได้ 35 เที่ยวบิน/ชั่วโมง ภายในปี 2568.-516-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นหาร่างใต้ตึกถล่ม

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง.หรือไม่

คาดไม่เกิน 1 สัปดาห์ จะทราบชัดมีผู้ติดค้างในซากอาคาร สตง. หรือไม่ ปัจจุบันการทำงานบริเวณทางเชื่อมด้านอาคารจอดรถด้านหลังยังลงไปไม่ถึงพื้นของชั้นใต้ดิน

ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบ ตร.พาผู้ต้องหาลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก

ผบ.ตร. สั่งเร่งตรวจสอบกรณีมีตำรวจพาผู้ต้องหาลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ทั้งที่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด

รวบมือปาหิน

รวบแล้วมือปาหินใส่รถ ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า

รวบแล้วมือปาหินใส่รถประชาชน ย่านบางนา-ตราด อ้างขาดสติเพราะดื่มเหล้า พบประวัติเคยถูกจับมาแล้ว 12 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13

ข่าวแนะนำ

รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันฉัตรมงคล

รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาต เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2568

วันฉัตรมงคล

เหล่าทัพยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2568

เหล่าทัพพร้อมใจ ยิงสลุตหลวง 21 นัด เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม 2568

เชื้อแอนแทรกซ์ในซากวัว

พบเชื้อแอนแทรกซ์ในซากวัวที่มุกดาหาร ปศุสัตว์เข้มควบคุมโรค

กรมปศุสัตว์เผย พบเชื้อแอนแทรกซ์ในซากวัว รวมถึงเขียงและมีดที่ใช้ชำแหละ พร้อมเก็บตัวอย่างดินมาตรวจสอบพบเชื้อปนเปื้อนจากการชำระล้าง

หนีแตนตกเหว

หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์วิบาก หนีฝูงแตนตกเหวตาย

หนุ่มขี่มอเตอร์ไซค์วิบาก หนีฝูงแตนไล่ต่อย พลัดหลงกับก๊วน หายไปตั้งแต่ 1 พ.ค. เพื่อนช่วยกันออกตามหา แต่ไร้วี่แวว ล่าสุดพบร่างตกเหว เขาห้วยผีหลอก