ส่องทีมสิ่งแวดล้อมทรัมป์ 2.0 ตัวแทนบริษัทก่อมลพิษยกแผง


11 กุมภาพันธ์ 2568
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


การขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายหลายอย่างในหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐ

หนึ่งในนั้นคือบุคลากรในสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ ที่ได้รับการเปิดเผยว่า เต็มไปด้วยบุคคลที่เคยเป็นตัวแทนองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันและสารเคมี ซึ่งเป็นตัวการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม


1.ลี เซลดิน

ตัวเต็งตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ ได้แก่ ลี เซลดิน ทนายความและอดีตสมาชิกรัฐสภา ซี่งได้รับการเสนอชื่อโดย โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน

ในช่วงที่ผู้นำสหรัฐฯ ถูกดำเนินคดีถอดถอนออกจากตำแหน่งในปี 2019 ลี เซลดิน ถือเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนที่ภักดีที่สุดของ โดนัลด์ ทรัมป์ โดยทรัมป์ชื่นชมภูมิหลังทางกฎหมายของเซลดินและความภักดีต่อนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน” ของเขา


ในอดีต ลี เซลดิน เคยทั้งยอมรับและไม่ยอมรับการมีอยู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) และเคยออกเสียงทั้งสนับสนุนและคัดค้านนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมในรัฐสภา

โดยในช่วง 8 ปีที่เขาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขาลงคะแนนเสียง “ต่อต้านสิ่งแวดล้อม” 203 เสียงและ “สนับสนุนสิ่งแวดล้อม” 32 เสียง ส่งผลให้กลุ่มสิ่งแวดล้อม League of Conservation Voters ให้คะแนนตลอดชีพของเขาที่ 14%

ในวันที่เขาได้รับการแต่งตั้งจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ทาง ลี เซลดิน ได้ประกาศทาง X ว่า เขาจะทำให้การลงทุนด้านพลังงานของสหรัฐฯ กลับมามั่งคั่งอีกครั้ง โดยจะรีบฟื้นฟูอุตสาหกรรมรถยนต์เพื่อสร้างงานให้กับชาวอเมริกัน พร้อมกับปกป้องการเข้าถึงอากาศสะอาดและน้ำสะอาดในเวลาเดียวกัน

ลี เซลดิน ยังเปิดใจต่อสำนักข่าว Fox News ว่า ใน 100 วันแรก เขาจะยกเลิกกฎระเบียบที่บังคับให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องอยู่ในสภาวะยากลำบาก เพราะมีกฎระเบียบที่รัฐบาลฝ่ายซ้ายบังคับใช้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้ธุรกิจต่าง ๆ เดินไปในทิศทางที่ผิดพลาด

2.เดวิด โฟตูฮี

ส่วนตำแหน่งรองหัวหน้าฝ่ายบริหารสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เสนอชื่อได้แก่ เดวิด โฟตูฮี ผู้เคยอยู่ในหน่วยงาน EPA ในช่วงรัฐบาลของทรัมป์ชุดแรกมาก่อน

เดวิด โฟตูฮี เป็นทนายความที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ได้ใช้ความรู้ทางกฎหมายเพื่อการปกป้องบริษัทเอกชนที่ถูกหน่วยงาน EPA ร้องเรียนเรื่องการละเมิดนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง

เขาเคยเป็นตัวแทนผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าถ่านหินรายใหญ่ เพื่อท้าทายกฎเกณฑ์การป้องกันไม่ให้เถ้าถ่านหินปนเปื้อนน้ำใต้ดิน

ปี 2021 เขาเป็นตัวแทนบริษัทโรงกระดาษ ในคดีฟ้องร้องที่ยื่นโดยเจ้าของที่ดินในรัฐเมน เนื่องจากที่ดินของพวกเขาปนเปื้อนสารเพอร์ฟลูออโรอัลคิลและโพลีฟลูออโรอัลคิล (PFAS) หรือที่เรียกว่า สารเคมีตลอดกาล (Forever Chemicals) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานานและเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ หลายชนิด

ปี 2023 เดวิด โฟตูฮี ยังท้าทายการห้ามใช้แร่ใยหินของ EPA โดยให้เหตุผลในนามของผู้ผลิตรถยนต์ว่า สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม ล้มเหลวในการแสดงให้เห็นว่า แร่ใยหินก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างสมเหตุผล

การโต้แย้งดังกล่าว เป็นการท้าทายความพยายามของรัฐบาล โจ ไบเดน ที่มีเป้าหมายป้องกันการปนเปื้อนแร่ใยหินในสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับอีก 55 ประเทศ ที่ร่วมกันกำหนดมาตรการห้ามใช้แร่ใยหิน ซึ่งพบหลักฐานเชื่อมโยงกับการก่อโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งรังไข่ และมะเร็งกล่องเสียง

3.อเล็กซ์ โดมิงเกซ

อเล็กซ์ โดมิงเกซ อดีตผู้แทนบริษัทน้ำมันและทำงานให้กับสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน ถูกวางตัวให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยผู้บริหารของ EPA จะมีบทบาทสำคัญในการยกเลิกกฎระเบียบด้านสภาพอากาศที่เกิดจากมลพิษของยานยนต์ ที่รัฐบาลของ โจ ไบเดน เคยตั้งเป้าเอาไว้ ด้วยการกำหนดให้รถยนต์โดยสารรุ่นใหม่มากกว่าครึ่งหนึ่งที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกาในปี 2032 จะต้องปล่อยมลพิษเป็นศูนย์

การยกเลิกกฎระเบียบด้านสภาพอากาศ เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่ส่งข้อความเรียกร้องไปถึง โดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อขอให้ยกเลิกกฎระเบียบด้านมลพิษจากท่อไอเสีย เนื่องจากการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า จะส่งผลกระทบต่อความต้องการน้ำมัน

4.ดร.แนนซี เบ็ค

แนนซี เบ็ค อดีตผู้แทนบริษัทเคมีภัณฑ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสของ American Chemistry Council ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของ EPA ด้านความปลอดภัยของสารเคมีและมลพิษ

ในสมัยรัฐบาลของทรัมป์ชุดแรก แนนซี เบ็ค ผลักดันการผ่อนปรนกฎระเบียบเกี่ยวกับสารเคมี ซึ่งการสอบสวนระบุว่าถือเป็นการแทรกแซงทางการเมืองต่อหน่วยงานที่กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

แนนซี เบ็ค ยังร่างกฎเกณฑ์ใหม่ซึ่งทำให้การติดตามผลต่อสุขภาพจากสาร PFAS หรือสารเคมีตลอดกาลทำได้ยากขึ้น เธอยังช่วยผ่อนปรนข้อจำกัดการเข้าถึงแร่ใยหินและสารเมทิลีนคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่พบในทินเนอร์

5.ดร.ลินน์ แอน เดเคลวา

ลินน์ แอน เดเคลวา อดีตผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มการค้าอุตสาหกรรมเคมี และเคยอยู่ในหน่วยงาน EPA ในช่วงรัฐบาลของทรัมป์ชุดแรก โดยครั้งนี้เธอกลับมายัง EPA เพื่อดูแลงานด้านการควบคุมสารเคมีชนิดใหม่

ลินน์ แอน เดเคลวา เคยทำงานให้กับดูปองต์ บริษัทชั้นนำด้านสารเคมีมานานกว่าสามทศวรรษ ซึ่งรายงานของ EPA ระบุว่า ภายใต้การบริหารของดร.เดเคลวา พนักงานจะถูกบังคับให้รับรองสารเคมีชนิดใหม่ และจะถูกเพ่งเล็งหากพวกเขาแสดงความกังวลต่ออันตรายจากสารเคมีดังกล่าว

เจน ดักแกน ผู้อำนวยการบริหารของ Environmental Integrity Project กลุ่มตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม แสดงความเห็นต่อทีมงาน EPA ชุดใหม่ภายใต้การบริหารงานของ โดนัลด์ ทรัมป์ สมัยที่ 2 ว่า เป็นเรื่องน่าตกใจที่ได้เห็นอดีตนักล็อบบี้ยิสต์และทนายความในอุตสาหกรรมด้านพลังงานและเคมี ซึ่งไม่นานมานี้เพิ่งจะถูกว่าจ้างให้มาช่วยต่อสู้กับ EPA ในข้อหาละเมิดนโยบายลดมาตรฐานมลพิษ แต่ปัจจุบันพวกเขากลับได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) ซึ่งพวกเขาจะมีอำนาจล้มล้างกฎระเบียบที่มีไว้เพื่อปกป้องประชาชนจากอุตสาหกรรมด้านพลังงานและเคมีเหล่านั้นนั่นเอง

ดิมิทรี คาราคิตซอส นักล็อบบี้ด้านพลังงานและสารเคมีของพรรครีพับลิกันกล่าวว่า ทีมงาน EPA ชุดใหม่จะนำประสบการณ์จาก 8 ปีที่แล้วมาเป็นบทเรียน ตอนนี้พวกเขามีความเข้าใจนโยบายและขอบข่ายหน้าที่ของ EPA เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้การกำหนดนโยบายมีความราบรื่นกว่าการทำงานในสมัยแรกอย่างมาก

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.nytimes.com/2025/01/25/climate/epa-staff-oil-gas-chemical-industry-lobbyists.html
https://www.factcheck.org/2024/12/where-trumps-picks-for-epa-interior-and-energy-stand-on-climate-change/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก