ผลสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อม คนไทยกังวลเรื่องโลกร้อน อันดับ 1

กรุงเทพฯ 6 ก.พ. – สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คนไทยให้ความสำคัญในปีที่ผ่านมา (2567) พบว่า 3 อันดับแรกที่คนไทยห่วงด้านสิ่งแวดล้อม คือ ปัญหาโลกร้อน รองมาคือปัญหาขยะมูลฝอยที่จัดการไม่ถูกต้อง ปัญหา PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และประเด็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มาเป็นอันดับ 4 โดยส่วนใหญ่มองว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกประเด็น เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ซึ่งหากไม่ได้รับความร่วมมือในการแก้ไข จะส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป


ดร.วิจารย์ สิมายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI รวบรวมผลสำรวจที่ทาง TEI จัดทำขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในประเทศไทยพบว่า อันดับ 1 (20.3 %) คนไทยให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อน ที่ในปีที่2567 ถือเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงเกินกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม (ปี ศ.ศ.1900) กว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งหลายคนให้เหตุว่า อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา เช่น การแปรปรวนสภาพอากาศที่ทำให้เกิดอุทกภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ ภัยแล้งในบางพื้นที่ การสูญเสียระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบต่อแหล่งอาหารการเกษตรและสุขภาพของมนุษย์ และอีกหนึ่งปัญหาที่คนไทยให้ความสำคัญตามมาติดๆ ปัญหาขยะมูลฝอยจัดการไม่ถูกต้องที่มีถึง (19.1%) โดยส่วนใหญ่ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นถึง 28- 29 ล้านตันต่อปี หากการบริหารจัดการขยะไม่ดี ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขอนามัย สุขภาพเศรษฐกิจและสังคม อีกด้วย รวมทั้งมองว่าปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนานยังไม่สามารถจัดการได้อย่างถูกต้อง เพราะประชาชนทั่วไปยังไม่รู้จักการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง ดังนั้นควรมีการสร้างความตระหนักรู้ ปลูกฝัง การคัดแยกขยะตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มต้นที่สถานศึกษา และชุมชน ในขณะเดียวกัน ภาครัฐโดยเฉพาะท้องถิ่นต้องมีระบบการจัดการที่ดี และควรมีกฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้ชัดเจน ขณะเดียวกันควรสร้างความตระหนักรู้ถึงการคัดแยกขยะว่าจะมีประโยชน์อย่างไรกับตนเอง รวมทั้งการส่งเสริมให้เอกชนลงทุนในการจัดการขยะมูลฝอยครบวงจร

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญเป็นอันดับที่ 3 ในผลสำรวจคือ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว (PM2.5)(13.1%) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ส่วนมากจากมลพิษทางการจราจร ที่มีผู้ใช้ยานพาหะเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการปล่อยควันรถบนท้องถนน และการ เผาในพื้นที่เกษตรในบริเวณชานเมืองและจังหวัดใกล้เคียง ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาที่มีลักษณะอากาศนิ่ง และไม่เอื้ออำนวยต่อการกระจายตัวของอากาศ ซึ่งจากผลสำรวจให้เหตุผลส่วนใหญ่ว่าปัญหา PM2.5 ใน


กรุงเทพมหานครเป็นปัญหาสำคัญ เพราะไม่ได้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่กระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพคนในเมืองระยะยาว ดังนั้นควรเร่งรัดแก้ไขที่ทำได้เพื่อลดมลพิษทางอากาศที่แหล่งกำเนิดต่างๆ

แบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพเป็นดัชนีชี้วัดระบบนิเวศที่สำคัญ การสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นหากความหลากหลายทางชีวภาพลดลงก็จะแสดงถึงสมดุลล่มสลาย ที่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพส่งผลกระทบในวงกว้างกับมิติอื่นๆ เช่นความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิต และอีกหนึ่งเหตุผลที่น่าสนใจคือ การขยายพื้นที่เมือง ประกอบกับการจัดการพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมรุกล้ำพื้นที่ป่า หรือพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติส่งผลให้กระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จนทำให้ทรัพยากรในพื้นที่ลดลงและนำมาสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นจึงควรบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม ควบคุมพื้นที่ ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ประมง จัดโซนการใช้ประโยชน์ ฯลฯ ให้ชัดเจน

ทั้งนี้ ผลสำรวจที่ทาง TEI ดำเนินการยังได้สำรวจเหตุการณ์และปัญหาสิ่งแวดล้อมใหญ่ๆ ในปี 2567 ที่คนให้ความสำคัญ พบว่า เรื่องกากแคดเมียม 15,000 ตันในโรงงานสมุทรสาคร ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือ ขยะพลาสติกและขยะพลาสติกในทะเลที่มาเป็นอันดับ 5 (ประเด็นละ 7.4%) ถัดมาคือ สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงราย (5.3%) ปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเอเลียนสปีชีส์รุกล้ำน้ำน่านไทย (5.7%) พะยูนตายที่จังหวัดตรัง 2.5% และกากสารเคมีและไฟไหม้โรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (1.6%)


ดร.วิจารย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมทุกเรื่องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ดังนั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ไม่ใช่เพียงคนหนึ่งคน หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือหน่วยงานภาครัฐเท่านั้นเพราะหากลงมือทำโดยไม่ได้รับความร่วมมือก็ไม่สามารถจัดการและแก้ไขปัญหาได้ พร้อมมีข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาครัฐควรมีมาตรการจัดการเรื่องต่าง ๆอย่างเข้มงวดและชัดเจน ตามลำดับความสำคัญของปัญหาบนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ผลสำรวจในครั้งนี้ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ดำเนินการสำรวจผ่านทางออนไลน์ ในช่องทางโซเชียลมีเดียของสถาบันและผ่านระบบออนไลน์ต่างๆ แก่ภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานร่วมกันมา. -512 – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ศาลตัดสินพิรงรอง

“พิรงรอง” รับกังวลใจ วันนี้ศาลตัดสิน คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช.

“พิรงรอง” ถึงศาล รับกังวลใจ คดีทรูฟ้องหลุดเก้าอี้ กสทช. ปมส่งใบเตือนทีวีดิจิทัลมีโฆษณาแทรก ยืนยันทำหน้าที่อย่างถูกต้อง

ผู้สมัคร นายก อบจ.สมุทรปราการ หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง ร้อง ปธ.สภา

ผู้สมัคร นายก อบจ. สมุทรปราการ พรรคประชาชน หอบหลักฐานทุจริตเลือกตั้ง อบจ.ร้องประธานสภา จี้ กกต.สอบให้ความเป็นธรรม ลั่นจะไม่ปล่อยให้เรื่องเงียบ

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

บุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน

ตำรวจนครบาลบุกรวบ 2 บิ๊กบอสแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีน สร้างเพจปลอมเป็นหน่วยงานตำรวจ และ ปปง. หลอกเหยื่อว่าสามารถติดตามทรัพย์สินที่ถูกหลอกคืนได้ ค้นบ้านพบซิมบ็อกซ์โทรศัพท์ และ QR Code ปลอม จำนวนมาก

ข่าวแนะนำ

เข้าสู่คืนที่ 2 ตัดไฟฟ้าชายแดนเมียนมา ทำลายวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์

เข้าสู่คืนที่ 2 สำหรับการตัดกระแสไฟฟ้า ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต และระงับการส่งน้ำมัน จากฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก ไปเมืองเมียวดีของเมียนมา เพื่อตัดวงจรกลุ่มจีนเทา พบมีการใช้ไฟฟ้าน้อยลง

คนร้ายลอบวางระเบิดรถกระเช้าภายในเทศบาลตำบลรือเสาะ

คนร้ายลอบวางระเบิดรถกระเช้าจอดในอาคารจอดรถ เทศบาลตำบลรือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังเสร็จพิธีต้อนรับนายกเทศมนตรีคนใหม่ ทำให้ไฟไหม้รถเสียหายหลายคัน

ปล้นร้านสะดวกซื้อ

รวบ 6 เยาวชน ก่อเหตุปล้นร้านสะดวกซื้อปัตตานี

รวบแล้ว 6 โจร ปล้นร้านสะดวกซื้อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ได้เงินกว่า 4,000 บาท พบผู้ก่อเหตุทั้งหมด เป็นเยาวชนอายุระหว่าง 14-16 ปี