“ประเสริฐ” ประชุม กนช. สั่งตั้งคณะวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์น้ำปี 67

ทำเนียบ 11 ต.ค.-“ประเสริฐ” รองนายกฯ ประชุม กนช. สั่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ปี 2567 สนับสนุนงาน ศปช. เร่งช่วยเหลือประชาชนพ้นวิกฤติน้ำท่วม พร้อมเห็นชอบ 8 มาตรการรองรับภัยแล้ง

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) ครั้งที่ 4/2567 โดยมีนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย และนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมว่า การประชุมวันนี้เป็นครั้งแรก ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติการติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งได้รับข้อสั่งการจากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือส่งผลกระทบน้อยที่สุด


นายประเสริฐ กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งบริหารจัดการน้ำให้กลับคืนสู่ภาวะปกติรวมถึงเร่งเยียวยาผู้ประสบภัย และฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด

“เนื่องจากในระยะนี้ประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่จะเกิดสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่เปราะบาง และพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ปี 2567 ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยมีเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานอนุกรรมการฯ เพื่อทำหน้าที่ ในการวิเคราะห์และประเมินสภาพอากาศ สถานการณ์ฝน สถานการณ์น้ำ สนับสนุนข้อมูลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้กับ กนช. และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) รวมถึงให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำตามหลักวิชาการที่เหมาะสมต่อ กนช. พร้อมทั้งดำเนินการถอดบทเรียนด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ สถานการณ์น้ำและอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุจรที่ผ่านมาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาแนวทาง การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป โดยให้รายงานผลการดำเนินงานต่อ กนช. อย่างต่อเนื่อง”นายประเสริฐ กล่าว


นายประเสริฐ กล่าวว่า นอกจากจากการบริหารจัดการน้ำเพื่อเร่งลดผลกระทบต่อประชาชนในช่วงฤดูฝนแล้ว กนช. ยังให้ความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมรับมือฤดูแล้งปี 2567/68 ที่จะมาถึงในวันที่ 1 พ.ย. 67 นี้ จึงมีมติเห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรองรับ ฤดูแล้ง ปี 2567/2568 ตามที่ สทนช. เสนอ จำนวน 8 มาตรการ ซึ่งนำผลการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้งปีที่ผ่านมา มาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างทันท่วงที โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านน้ำต้นทุน โดยมาตรการที่ 1 คาดการณ์และป้องกันพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ มาตรการที่ 2 สร้างความมั่นคงน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรพร้อมปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านความต้องการใช้น้ำ โดยมาตรการที่ 3 กำหนดแผน จัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด

มาตรการที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน มาตรการที่ 5 เฝ้าระวังและแก้ไข คุณภาพน้ำ ด้านการบริหารจัดการ โดยมาตรการที่ 6 เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน องค์กรผู้ใช้น้ำ

มาตรการที่ 7 สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ และมาตรการที่ 8 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดยมอบหมายให้ สทนช. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามมติ กนช. และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป


ขณะที่ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/68 พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้ สทนช. ทราบทุกเดือน จนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง เพื่อให้การ ขับเคลื่อนมาตรการเป็นไปตามแผนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำนำมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2567/68 ไปดำเนินการร่วมกับแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งของลุ่มน้ำ ปี 2567/68 และให้หน่วยงานเตรียมแผนงานโครงการ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2568 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ซึ่ง สทนช. จะติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด.-316.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ “ธัญพร มุ่งเจริญพร” เข้าป้าย

ศึกชิงนายก อบจ.สุรินทร์ ลุ้นกันจนนาทีสุดท้าย “ธัญพร มุ่งเจริญพร” พลิกชนะ “พรชัย มุ่งเจริญพร” แชมป์เก่าแบบขาดลอย คว้าเก้าอี้มาครอง นั่งนายก อบจ.หญิงคนแรกของจังหวัด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าคึกคัก

ภาพรวมการใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ครึ่งวันเช้าค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนทยอยใช้สิทธิต่อเนื่อง ยังไม่มีรายงานการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ปชช.ตื่นตัวใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ท่ามกลางสายฝน

ชาวนครศรีธรรมราช ตื่นตัวออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ท่ามกลางสายฝน กกต.เผยภาพรวมครึ่งวันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีรายงานการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ช้างป่ายกโขลงประชิดหมู่บ้าน ไล่ระทึกทั้งคืน

ไล่ระทึกกันทั้งคืน ช้างป่ายกโขลงบุกประชิดหมู่บ้านตลิ่งชัน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ออกหากินผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้าน