ไข้เลือดออกเป็นซ้ำแล้วเสี่ยงเสียชีวิตจริงหรือไม่ และควรป้องกันไข้เลือดออกด้วยวิธีใดจึงจะดีที่สุด ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อดีต มีความเชื่อกันว่า “โรคไข้เลือดออก” เป็น “โรคของเด็ก” ปัจจุบัน โรคไข้เลือดออกเป็นได้ทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีการระบาดใหญ่ของโรคไข้เลือดออกสูงสุดในรอบ 10 ปี กลุ่มผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่พบมากที่สุดคือ เด็ก ตามด้วยวัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น ส่วนผู้สูงอายุพบน้อยที่สุด อัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ในเด็กพบน้อยมาก ๆ ทว่าวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่าเด็ก แต่ว่าเสียชีวิตสูงกว่า เพราะติดเชื้อไข้เลือดออกและเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงมากกว่า อัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกของวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นสูงกว่าเด็ก เพราะอะไร ? สาเหตุที่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้วเสียชีวิต มีหลายกรณี เช่น 1. ตัวผู้ป่วยไม่คิดว่าตัวเองเป็นโรคไข้เลือดออกเพราะเป็นผู้ใหญ่ แต่คิดว่าไข้เลือดออกเป็นโรคของเด็ก จึงไม่ได้ระมัดระวังตัว 2. กินยาบางอย่างที่ไม่ควรกิน หรือไม่ได้ไปรับการรักษาในเวลาที่เหมาะสม 3. ด้วยกลไกของภูมิคุ้มกันโรคระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ต่างกัน เช่น […]