ชี้สัมพันธ์ไทย-จีน ตั้งอยู่บนความแข็งแกร่ง-สร้างอนาคตร่วมกัน

กรุงเทพฯ 3 มิ.ย. – ผลงานวิจัยเรื่อง “Building a Thailand-China Community with a Shared Future and Its Implications for Thailand” ซึ่งดำเนินการโดย ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ตั้งอยู่บนพื้นฐานประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ฉันมิตรที่แข็งแกร่ง ซึ่งนำไปสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างแท้จริงในโลกยุคใหม่


วันนี้ ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย จัดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Building a Thailand-China Community with a Shared Future” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง “Building a Thailand-China Community with a Shared Future and Its Implications for Thailand” โดยมี ฯพณฯ หาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นองค์ปาฐกถา

อาจารย์ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีน และความหมายที่มีต่อประเทศไทย” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้ทำร่วมกันกับ ดร.กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และ ดร.กรองจันทน์ จันทรพาหา แห่งสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสรุปผ่าน 3 เรื่องเล่า ที่ชี้ถึงรากฐานของความสัมพันธ์อันเข้มแข็งระหว่างไทยกับจีน ที่ต่อยอดไปถึงความร่วมมือกันเพื่อประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในยุคปัจจุบัน


เรื่องเล่าประเด็นแรกที่ อาจารย์ ดร.อาร์ม กล่าวถึง คือ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดลึกซึ้งในระดับสมาชิกพระราชวงศ์ไทย โดยเฉพาะสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งคนจีนรู้จักกันดีในพระนาม “ซือหลินทงกงจู่ 诗琳通公主 ” ทรงปูทางความสัมพันธ์ไทย-จีน ให้ลึกซึ้งเหนียวแน่น เสริมสร้างสังคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างแท้จริง

เรื่องเล่าประเด็นที่ 2 คือ ประวัติศาสตร์การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับจีน จากบันทึกของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ที่เล่าถึงการเดินทางไปพบกับนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ของจีน เพื่อลงนามบันทึกความตกลงร่วมกันในปลายยุคสงครามเย็น (เมื่อ 49 ปีที่แล้ว) เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง 2 ประเทศ ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล กำลังพักรักษาตัว แต่การพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีที่เป็นมิตรของผู้นำทั้งสองจากประเทศที่มีระบบการปกครองแตกต่างกัน ก็ถือเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตที่เป็นธรรมชาติ เสมือนพี่น้องหวนคืนมาพบกัน

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและจีน ความรู้สึกใกล้ชิดเช่นนี้ถือเป็นพื้นฐานความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งของทั้ง 2 ประเทศ ที่สำคัญจากการสำรวจวิจัยประวัติความสัมพันธ์ไทยและจีน นับตั้งแต่ยุคสุโขทัยของไทย และสมัยราชวงศ์หยวนของจีน พบว่า ในกระแสประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งไทยและจีน ไม่เคยมีประวัติความบาดหมาง หรือมีข้อขัดแย้งใด ๆ เลย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ ตั้งอยู่บนรากฐานประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ฉันมิตรที่แข็งแกร่งมาก


เรื่องเล่าที่ 3 คือ ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญระหว่างไทยและจีน ที่ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลก เมื่อคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ของจีน ในโครงการฉางเอ๋อ-7 ได้คัดเลือกอุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศและตรวจวัดรังสีคอสมิก ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติของไทย ให้เป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่จะนำไปติดตั้งกับยานอวกาศฉางเอ๋อ-7 ประเด็นนี้สะท้อนถึงข้อคิดเกี่ยวกับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของไทย-จีนยุคใหม่ คือ การเชื่อมโยงแนวคิดการพัฒนาของจีน เข้ากับการพัฒนาของไทย ด้วยการส่งเสริมพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียุคใหม่ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยยกระดับทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของประเทศไทย ซึ่งจะนำพาให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และบรรลุเป้าประสงค์ของการพัฒนาร่วมกัน หรือ Common Development ที่เป็นแกนหลักของการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่งเป็นแนวคิดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน

ในโอกาสนี้ ฯพณฯ หาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีกับงานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งย้ำว่า จีนมีแนวคิดในการร่วมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ โดยยึดหลักความไว้เนื้อเชื่อใจ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน และตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและความเสมอภาค สอดคล้องกับแนวคิดแห่งสันติภาพ เพื่อโลกใหม่ที่มีสันติภาพและก้าวหน้า จีน-ไทยมีผลประโยชน์ร่วมกันในกิจการระหว่างประเทศทั้งในระดับโลกและภูมิภาค การกระชับความสัมพันธ์ ร่วมมือกัน เพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำประโยชน์สูงสุดมาสู่ประเทศและประชาชน

ขณะที่ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตั้งแต่อดีต รัฐบาลไทยและจีนมีความร่วมมือและมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น ช่วยเหลือและร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี ความสัมพันธ์ที่มีรากฐานที่มั่นคง มีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และมีพลังสร้างสรรค์เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างความสัมพันธ์ 2 ประเทศ ที่ยั่งยืนของโลกยุคใหม่.-811(814).-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก

ตรวจอาคารแผ่นดินไหว

ตรวจอาคารใน กทม.แล้วกว่าหมื่นแห่ง พบสีแดง 2 แห่ง ยังห้ามเข้าใช้ จากเหตุแผ่นดินไหว

หน่วยงานร่วมแถลงสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจและระบบทางการเงินจากเหตุแผ่นดินไหว เผยตรวจสอบอาคารแล้วกว่า 10,000 แห่ง เป็นสีเขียว พบ 2 แห่ง ยังมีสีแดงไม่ให้เข้าใช้อาคาร แจง 4 บริษัทประกันภัยตึก สตง.ถล่ม ทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันต่างประเทศ

อพยพออกจากตึก

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ แจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ สั่งคนออกจากตึกทันที หลังเกิดเสียงดัง-รอยร้าว-เศษปูนร่วง ล่าสุดแจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ทองคำนิวไฮ

หุ้นร่วง-ทองไปต่อ ขึ้นแรง ทำนิวไฮอีก

หุ้นไทยเปิดตลาดเช้านี้ร่วงราว 20 จุด หลังต้องปิดตลาดชั่วคราวหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 มี.ค.68 ด้านราคาทองคำสร้างสถิติสูงสุดต่อเนื่อง