ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐถามประวัติวัคซีนโควิดผู้บริจาคเลือด เพราะเลือดไม่ปลอดภัย จริงหรือ?

26 มีนาคม 2566
แปลและเรียบเรียงบทความโดย : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า กาชาดสหรัฐอเมริกาเริ่มบังคับให้ผู้บริจาคโลหิตต้องเปิดเผยประวัติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนบริจาคเลือด ยืนยันได้ว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่ปลอดภัย และส่งผลกระทบต่อเลือดของผู้รับวัคซีน


บทสรุป :

  1. สาเหตุที่กาชาดสหรัฐฯ ต้องการข้อมูลการฉีดวัคซีนของผู้บริจาคโลหิต เพื่อป้องกันการรับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนเชื้อเป็นก่อนเวลาอันควร
  2. เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เชื้อซึ่งถูกทำให้อ่อนแรงของวัคซีนเชื้อเป็นจะปนเปื้อนในเลือดของผู้บริจาค
  3. ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อเป็น

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

โฆษกของสภากาชาดสหรัฐอเมริกา (American Red Cross) ระบุว่า การให้ผู้บริจาคโลหิตเปิดเผยประวัติการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นนโยบายที่มีมาตั้งแต่การอนุมัติวัคซีนโควิด-19 เป็นครั้งแรกในช่วงเดือนธันวาคม 2020 ไม่ใช่นโยบายใหม่แต่อย่างใด


American Red Cross ย้ำว่า ผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และองค์การอนามัยโลก (WHO) สามารถบริจาคโลหิตได้ทันที หากไม่มีอาการข้างเคียงจากวัคซีนในวันที่บริจาคโลหิต

ในกรณีที่ผู้บริจาคโลหิตไม่สามารถยืนยันได้ว่า วัคซีนโควิด-19 ชนิดที่ได้รับเป็นวัคซีนชนิดใด ผู้บริจาคโลหิตจำเป็นต้องงดเว้นการบริจาคเป็นเวลา 2 สัปดาห์

สาเหตุที่กาชาดสหรัฐอเมริกาให้ผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ไม่ทราบชนิดของวัคซีน ต้องรอการบริจาคโลหิตเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่ใช่เพราะวัคซีนทำให้การบริจาคโลหิตไม่ปลอดภัย แต่เพื่อป้องกันการรับบริจาคโลหิตก่อนเวลาที่เหมาะสม จากผู้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live-attenuated vaccines)

เหตุผลที่ผู้รับวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live-attenuated vaccines) ต้องใช้เวลารอก่อนการบริจาคโลหิต เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ในวัคซีนชนิดเชื้อเป็น อาจไปอยู่ในเลือดของผู้ฉีดวัคซีนและส่งผ่านไปยังผู้รับบริจาคโลหิตได้

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อเป็นผ่านการรับรองจาก FDA หรือ WHO โดยส่วนใหญ่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อผลิตเป็นวัคซีนชนิดสเปรย์พ่นหรือหยอดทางจมูกและปาก เช่น CoviLiv ที่พัฒนาโดย Codagenix บริษัทยาในสหรัฐอเมริกาและสถาบันเซรุ่มประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ในระหว่างการตรวจสอบผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 โดย WHO และเตรียมส่งให้ FDA รับรองภายในปี 2024

American Red Cross ได้ระบุวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่ผู้รับวัคซีนไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ทันที ได้แก่ วัคซีน MMR หรือวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น ที่แนะนำให้ผู้ฉีดระงับการบริจาคโลหิตเป็นเวลา 4 สัปดาห์หลังรับวัคซีน ผู้รับวัคซีนตับอักเสบบี ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด Subunit ต้องระงับการบริจาคโลหิตเป็นเวลา 21 วันหลังรับวัคซีน เป็นต้น

แม้จะไม่มีหลักฐานว่าไวรัสโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถแพร่ผ่านทางเลือดได้ แต่ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก FDA ออกนโยบายไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโควิด-19 หรือไข้หวัดใหญ่บริจาคโลหิต

โดยปัจจุบัน American Red Cross แนะนำให้ผู้ป่วยโควิด-19 งดเว้นการบริจาคโลหิตเป็นเวลา 10 วัน จนกว่าจะหายป่วย

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.politifact.com/factchecks/2024/feb/28/instagram-posts/questionnaire-asking-blood-donors-vaccination-stat/
https://healthfeedback.org/claimreview/american-red-cross-doesnt-prevent-people-vaccinated-against-covid19-from-donating-blood/
https://www.factcheck.org/2024/03/scicheck-blood-donations-from-covid-19-vaccine-recipients-are-safe-contrary-to-online-claims/
https://www.reuters.com/fact-check/red-cross-not-refusing-blood-donations-covid-vaccine-recipients-2024-02-28/
https://apnews.com/article/fact-check-red-cross-donate-blood-covid-vaccine-372009322832

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น