ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด พบได้ในคนกลุ่มไหน


🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

“พาร์กินสัน” (Parkinson’s disease) เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่าโดพามีน (dopamine) ลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลายเรื่องทางด้านการเคลื่อนไหว 4 อาการหลัก ได้แก่ (1) อาการสั่น (2) การเคลื่อนไหวช้า (3) เกร็ง (4) เดินลำบาก


ปัจจุบันมีความรู้มากมายพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันมีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอย่าง

โรคพาร์กินสันมีสาเหตุหลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมมารวมกัน เช่น ผู้ป่วยบางรายมีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน เคยได้รับสารพิษปราบศัตรูพืช และอายุที่มากขึ้นก็มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น

ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันหรือไม่ ?


ต้องบอกว่าความเสี่ยงของคนที่มีญาติสายตรงเป็นพาร์กินสันเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงทุกคนจะต้องเป็นเสมอไป ยีนในปัจจุบันมีหลายแบบมาก ความเสี่ยงของแต่ละคนไม่เท่ากัน

ที่สำคัญคือร่างกายคนเรามีความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง การมียีนไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีอาการเสมอไป เพราะมีปัจจัยร่วมต่าง ๆ อีกหลายอย่าง

โรคพาร์กินสันจะเกิดได้ในคนอายุเท่าไหร่ ?

ตามสถิติที่เก็บในประเทศไทยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 ปี ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าโรคพาร์กินสันคือโรคของผู้สูงอายุ ซึ่งถูกเพียงส่วนเดียว เพราะมีการเก็บสถิติในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน 1 เปอร์เซ็นต์

อายุที่เพิ่มขึ้น อัตราส่วนของพาร์กินสันก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้แก่ อายุเกิน 60 ปี 1 เปอร์เซ็นต์ อายุเกิน 80 ปี 3 เปอร์เซ็นต์

พบว่า 10 เปอร์เซ็นต์เป็นผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอายุน้อย คือมีอาการพาร์กินสันก่อนอายุ 50 ปี

กลุ่มพาร์กินสันอายุน้อยที่พบมีทั้งอายุมากกว่า 20 ปี และอายุมากกว่า 30 ปี

โรคพาร์กินสันมีกี่ระยะ ?

ในทางการแพทย์แบ่งพาร์กินสันออกเป็น 5 ระยะ

ระยะที่ 1 มีอาการข้างเดียว

ระยะที่ 2 มีอาการ 2 ข้าง

ระยะที่ 2.5 มีอาการ 2 ข้าง และแกนกลางของร่างกาย การทรงตัวดีและสามารถเคลื่อนไหวได้

ระยะที่ 3 การทรงตัวเริ่มมีปัญหา

ระยะที่ 4 เริ่มใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือเพื่อการเคลื่อนไหว

ระยะที่ 5 ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว หรือติดเตียง หรือติดเก้าอี้รถเข็น

ระยะต่าง ๆ เหล่านี้ อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะเปลี่ยนแปลงได้ถ้าผู้ป่วยอาการดีขึ้น

เนื่องจากในชีวิตจริง แนวคิดเรื่องการใช้ระยะอาจจะไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

การใช้ “ระยะ” เหมาะสำหรับการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อการศึกษาวิจัย 

โรคพาร์กินสัน สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิด ได้ไหม ?

ปัจจุบัน สามารถ “ชะลอ” การเกิดโรคพาร์กินสันได้

“การป้องกัน” สามารถทำได้บางส่วน

เวลาพูดถึง “มีปัจจัยเสี่ยง” คำว่า “เสี่ยง” ไม่ได้หมายถึง “เป็น” แต่มีโอกาส “ทั้งเป็น” และ “ไม่เป็น”

ถ้ามีความเสี่ยงก็พยายามมองหาวิธีการป้องกัน ทำให้มีระบบสำรองที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะเป็นหรือมีอาการเกิดขึ้น ก็อาจจะเป็นช่วงที่อายุมาก หรือตอนที่อายุมากอาการที่เป็นก็จะน้อย หรืออาจจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้

“พาร์กินสัน” มีอาการสำคัญอะไรให้สังเกต ?

อาการที่สังเกตง่ายที่สุดคือ “อาการสั่น” แต่อาการสั่นไม่จำเป็นจะต้องเกิดในผู้ป่วยพาร์กินสันทุกราย

อาการสั่นมีลักษณะเฉพาะ คือส่วนใหญ่เริ่มสั่นที่มือข้างเดียว (ขณะที่มืออยู่เฉย ๆ)

อาการสั่นของผู้ป่วยพาร์กินสันมักเกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวที่ช้าลงและยากขึ้นในส่วนที่มีอาการสั่น ซึ่งในช่วงแรกผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามีอาการสั่น

กุญแจสำคัญของการรักษาโรคพาร์กินสัน ?

ปัจจุบันนี้ เน้นเลยว่าให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมาพบแพทย์โดยเร็ว วินิจฉัยเร็ว และเริ่มการรักษาเร็ว

ถ้าเริ่มการรักษาเร็วเท่าไหร่ จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้เร็วมากเท่านั้น โดยใช้ปริมาณยาไม่มาก ผลข้างเคียงก็น้อย เรื่องค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละคนก็ถูกลง และสำคัญที่สุดก็คือคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว

สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ดูเพิ่มเติมรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคพาร์กินสัน

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

สายไหมระทึก! ล่าแก๊งค้ายา ยิงเปิดทางหนี รวบ 2 หนี 1

เมื่อคืนที่ผ่านมา ในพื้นที่เขตสายไหม เกิดเหตุระทึก คนร้ายค้ายา 3 คน หลบหนีการจับกุม ยิงตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ ก่อนจะไปซ่อนตัวในบ้านประชาชน นานกว่า 6 ชั่วโมง สุดท้ายจับกุมได้ 2 คน ส่วนอีก 1 หลบหนี

บุกรวบ “แม่เสี่ยโป้” คาบ้านหรู โยงเว็บพนัน

ตำรวจสอบสวนกลาง บุกรวบ “แม่เสี่ยโป้” คาบ้านหรูย่านพุทธมณฑลสาย 2 ข้อหาเอี่ยวเว็บพนันออนไลน์ พบเปลี่ยนชื่อ อำพรางตัว อ้างเป็นแม่บ้าน แต่ขณะตำรวจนำกำลังเจ้าจับ กลับวิ่งไปหาที่หลบ

รฟท.นำรถจักรไอน้ำนำเที่ยวเนื่องในวันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช รฟท. จัดเดินขบวนรถไฟขบวนพิเศษนำเที่ยวรถจักรไอน้ำ เส้นทางกรุงเทพฯ – อยุธยา เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5