ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แพ้กลูเตน

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กลูเตน คืออะไร ?

กลูเตน (gluten) คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในธัญพืช (cereal) จำพวกข้าวสาลี (wheat) ข้าวไรน์ (rye) ข้าวบาร์เลย์ (barley) ข้าวโอ๊ต (oat) ซึ่งแป้งที่ทำจากข้าวสาลีถูกใช้เป็นวัตถุดิบอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะในอาหารประเภทเบเกอรี่


เมื่อกินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอาการแพ้ในบางคนที่ร่างกายไวต่อกลูเตน (แพ้กลูเตน) อาจมีอาการท้องเสีย แก๊สในกระเพาะ ท้องอืด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease)

อาหารประเภทธัญพืชมักมีโปรตีนกลูเตนเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเรียล ขนมปัง ขนมเค้กที่อบจากแป้งสาลี แพนเค้ก วาฟเฟิ้ล เพรสเซล คุ้กกี้ แครกเกอร์ พิซซ่า ซาลาเปา รวมไปถึงเส้นพาสต้า หรือเส้นสปาเกตตี้ เส้นมักกะโรนี เป็นต้น

นอกจากแป้งที่มีกลูเตนแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พบกลูเตน ?


อาหารอื่น ๆ ที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ แต่บางครั้งอาจจะมองข้ามไป เช่น โคนไอศกรีม อาหารประเภทชุบแป้งทอด (เช่น เทมปุระ นักเกต ฟิชแลนด์ชิพ) ซอสถั่วเหลือง หรือโชยุ (ถ้าสังเกตจากส่วนผสมที่ฉลากข้างขวดจะมีเขียนระบุไว้ว่ามีแป้งสาลีเป็นส่วนประกอบ) น้ำเกรวี่ที่ใช้ราดบนสเต๊ก น้ำส้มสายชูที่ทำจากข้าวบาร์เลย์ เบียร์ เหล้า gin และ วิสกี้ รวมถึงอาหารจำพวก plant-based diet ซึ่งต้องระวังอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจ เนื่องจากแป้งสาลีมักถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นโปรตีนเกษตรเพื่อเลียนแบบเนื้อสัตว์

กลูเตนมีประโยชน์ ?

กลูเตนในแป้งสาลีมีคุณสมบัติช่วยทำให้ขนมปังเหนียวและยืดหยุ่นน่ากิน ช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผลิตจากยีสต์ ทำให้ขนมปังมีความคงตัว

กลูเตนประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิดคือ กลูเตนิน (glutenin) และ ไกลอะดิน (gliadin) ที่ต่อกันด้วยพันธะไดซัลไฟด์ (disulfide bond) โดยที่กลูเตนินจะช่วยทำให้โดมีความเหนียว (strength and cohesive) ในขณะที่ไกลอะดินจะช่วยในเรื่องความยืดหยุ่น (elasticity) ของโด (dough)

คนที่ “แพ้” กลูเตน มีอาการแสดงอย่างไร ?

โดยปกติแล้วคนทั่วไปสามารถกินอาหารประเภทขนมปัง ซีเรียล ที่มีกลูเตนผสมอยู่ได้ ไม่มีปัญหา แต่มีคนบางกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคแพ้กลูเตน เมื่อกินอาหารที่มีกลูเตนเข้าไป ร่างกายจะคิดว่ากลูเตนเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงผลิตแอนติบอดีออกมาตอบสนองไม่ให้กลูเตนถูกดูดซึมที่บริเวณลำไส้เล็ก ส่งผลให้ลำไส้เล็กเกิดการอักเสบ การที่เนื้อเยื่อของลำไส้เล็กถูกทำลายจะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นเข้าไปได้

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน การที่ร่างกายดูดซึมสารอาหารไม่ได้ จะทำให้เกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ เจริญเติบโตช้าในเด็ก อ่อนแรง น้ำหนักตัวลด ขาดสารอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเกลือแร่ และวิตามิน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอีกหลาย ๆ อย่างตามมา

“แพ้กลูเตน” ป้องกันได้มั้ย รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองแพ้กลูเตน

โรคแพ้กลูเตน หรือที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Celiac disease เป็นโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน และสามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ สาเหตุของโรคอาจเกิดจากพันธุกรรมหรือจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาวะเครียด หรือการตั้งครรภ์ เป็นต้น

วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือผู้ป่วยโรคแพ้กลูเตนจะต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ

คนแพ้กลูเตน กินอาหารอย่างไรถึงจะปลอดภัย

ไม่ใช่ว่าแป้งหรือธัญพืชทุกชนิดจะมีกลูเตนเป็นส่วนประกอบเสมอไป

ผู้ที่แพ้กลูเตนยังคงสามารถกินอาหารที่ทำจากธัญพืชบางชนิดได้ เช่น แป้งข้าวเจ้า หรือแป้งข้าวโพด ยกตัวอย่างเช่น ข้าวสวย เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นขนมจีน เนื่องจากไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ

อาหาร “ปลอด” กลูเตน  ดูได้อย่างไร ?

“กลูเตนฟรี (Gluten-free)” หรืออาหารปราศจากกลูเตน เป็นคำที่กำหนดโดยโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius Commission) หรือ CODEX

โดย CODEX ให้คำนิยามของอาหารปราศจากกลูเตนไว้ว่า หมายถึง อาหารที่มีการเจือปนของกลูเตนจาก ข้าวสาลี ได้แก่ พืชสกุล Triticum spp. อาทิ แป้ง durum, แป้ง spelt และ แป้ง kamut, ข้าวไรน์, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโอ๊ต หรือส่วนผสมของอาหารที่ได้จากวัตถุดิบที่ได้จากสายพันธุ์ผสมระหว่างพืชดังกล่าว ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ถ้าสินค้าอาหารมีกลูเตนไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัมก็จะสามารถใส่คำว่า “gluten-free” ลงบนฉลากอาหารได้

นอกจากนี้ ยังมีฉลากอาหารประเภทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลูเตน อาทิเช่น

  • กลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก (very-low gluten)
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตน (suitable for people intolerance to gluten)
  • เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตน (suitable for celiacs)
  • ผ่านการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตนโดยเฉพาะ (specifically formulated for people intolerant to gluten)
  • ผ่านการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตนโดยเฉพาะ (specifically formulated for celiacs)

CODEX กล่าวว่า สามารถที่จะใส่ข้อความดังกล่าวลงในฉลากได้ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีส่วนประกอบของพืชที่มีกลูเตน หรือได้ผ่านกระบวนการปรับลดปริมาณกลูเตน หรือมีส่วนผสมขององค์ประกอบที่มีการปรับลดกลูเตนแล้ว จนสินค้าอาหารในขั้นสุดท้ายที่จะจำหน่ายแก่ผู้บริโภค มีกลูเตนอยู่มากกว่า 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ดูเพิ่มเติมรายการ “ชัวร์ก่อนแชร์” https://www.youtube.com/watch?v=i8Zjn9kjGMg

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นักธุรกิจสาวแจ้งความทนายดัง “ฉ้อโกง” ฮุบเงิน 71 ล้าน

นักธุรกิจสาว อดีตลูกความทนายดัง แจ้งความถูกทนายดังฉ้อโกง ฮุบเงิน 71 ล้านบาท เผยถูกหลอกให้ลงทุนซื้อแพลตฟอร์ม “หวยออนไลน์”

สาวแจ้งความภรรยาอดีตบิ๊กตำรวจ ย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ

หญิงสาวแจ้งความภรรยาอดีตตำรวจยศนายพล แอบกิ๊กสามี แถมย่องลักทรัพย์ในคอนโดฯ มูลค่าหลายล้านบาท ด้านตำรวจเรียกผู้เสียหายสอบเพิ่ม พร้อมเก็บภาพวงจรปิดตรวจสอบแล้ว

“ทนายบอสพอล” มองยึดมือถือ พนง.ดิไอคอน เกินเส้นกฎหมาย

“ทนายบอสพอล” พาพนักงานดิไอคอน ลงบันทึกประจำวัน หลังตำรวจบุกค้น 11 จุด และยึดมือถือ มองว่าทำเกินกว่ากฎหมาย พร้อมฝากถึงศาลยุติธรรมในการออกหมายจับรอบ 2 เป็นห่วงสิทธิของทุกฝ่าย

ข่าวแนะนำ

สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางนิรโทษกรรม

สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ส่งแต่ตัวรายงานให้ ครม. ด้านประธาน กมธ.ย้ำไม่มีเรื่องแก้ ม.112 เป็นเพียงเปิดทางรับทราบข้อเท็จจริง และสมัยประชุมหน้ามีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองรอ 4 ฉบับ