ผู้ว่าฯ ธปท.คาดจีดีพีปีนี้อาจต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.6%

กรุงเทพฯ 8 ส.ค. – ผู้ว่าฯ ธปท. ย้ำเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่จีดีพีอาจต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.6% เปลี่ยนโจทย์ดำเนินนโยบายการเงินจาก ‘Smooth take off’ มาเป็น ‘Landing’ เตือนนโยบายรัฐบาลใหม่ต้องไม่กระทบเสถียรภาพ


ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ “ยกระดับเศรษฐกิจเหนือ คว้าโอกาสบนโลกแห่งความท้าทาย” ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในช่วงสนทนากับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ ‘ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย’ โดยระบุว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางช่วงจะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้บ้างประเมินตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะอยู่ที่ 3 กลางๆ ทั้งปีนี้และปีหน้า ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.6% ขณะที่ประเมินว่าตัวเลขจีดีพี ไตรมาส 2/2566 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะประกาศในเดือน ส.ค.นี้ แนวโน้มจะต่ำกว่าคาดการณ์ ส่วนหนึ่งเพราะเศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนจากการบริโภคเอกชน รวมไปถึงการท่องเที่ยว ซึ่งยังไม่เห็นภาพการเปลี่ยนแผลงอย่างมีนัยยะ สำหรับการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าเติบโตเกิน 4% ซึ่งถือเป็นระดับค่อนข้างสูง ส่วนการท่องเที่ยว ถึงแม้จีนอาจจะไม่มาเร็วอย่างที่เราคิด แต่ยังเชื่อว่าจะเห็นตัวเลขนักท่องเที่ยว 29 ล้านคน ซึ่งจะช่วยพยุงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนการส่งออกไม่ค่อยดีนักจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจจีน แต่เชื่อว่าช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้น

นายเศรษฐพุฒิ ยังกล่าวถึงทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ในระยะต่อไปว่าบริบท เศรษฐกิจปีนี้ แตกต่างจากปี พ.ศ. 2565 ที่เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูงและเร็ว จนทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มขึ้นดอกเบี้ย เพื่อดูแลเงินเฟ้อ ขณะที่ปีนี้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตในระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนโควิด คาดว่าและอัตราเงินเฟ้อระยะยาวจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ดังนั้น โจทย์การดำเนินนโยบายการเงินจึงต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน โดยตอนนี้เราจะเน้นเรื่อง Landing คือ ทำอย่างไรให้การ Landing ลงให้ได้อย่างดี จากก่อนหน้านี้ที่เน้น Smooth take off นอกจากดูปัจจัยระยะสั้น เช่น เงินเฟ้อ เศรษฐกิจเติบโตเป็นอย่างไรแล้ว ต้องดูเศรษฐกิจระยะยาวด้วย โดยมี 3 เรื่องที่ต้องพิจารณา คือ 1.การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในศักยภาพระยะยาวหรือไม่ คือ 3-4% ถ้าโตเร็วกว่านั้น จะเกิดปัญหาความร้อนแรง เพราะเศรษฐกิจเราเป็นสังคมผู้สูงวัย ไม่ได้โตเร็วเหมือนสมัยก่อน 2.เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย 1-3% ซึ่งเป็นระดับยั่งยืน และ 3.อัตราดอกเบี้ยต้องไม่ไปสร้างปัญหาเชิงโครงสร้างหรือความสมดุลต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90% ของจีดีพี ส่วนหนึ่งมาจากการที่เรามีดอกเบี้ยต่ำมากและนานเกินไป จึงต้องปรับดอกเบี้ยและดอกเบี้ยที่แท้จริงกลับมาสอดคล้องกับความสมดุลในระยะยาวมากขึ้น


เมื่อโจทย์การดำเนินนโยบายการเงินเปลี่ยนจาก Smooth take off มาเป็น landing แล้ว เราจึงถอด ‘ขึ้นอัตรดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นไป’ และเพิ่มคำว่า ‘optionality’ คือ จะทำอย่างนี้หรืออย่างนั้นก็ได้ ดังนั้นการประชุม กนง.คราวหน้ามีโอกาสที่จะคงหรือขึนดอกเบี้ย แต่ไม่ปรับลงแน่นอน พร้อมระบุว่า ธปท. เข้าใจว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลข้างเคียง และสร้างภาระ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะมีผลในภาพรวม ทำให้ที่ผ่านมาจึงมีการออกมาตรการมาช่วยดูแลกลุ่มเปราะบาง ที่อาจได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นพิเศษ เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว และมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ส่วนการส่งผ่านของธนาคารพาณิชย์ หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ธปท. ไม่อยากให้กระทบลูกค้าของธนาคารพาณิชย์มากเกินไป เช่น รอบล่าสุดที่ขึ้น 0.25% นั้น การส่งผ่านไปสู่อัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ประมาณ 50% เท่านั้น

สำหรับสถานการณืทางการเมืองไม่แน่นอนทางการเมือง ผู้ว่าฯ ธปท. มองว่าผลกระทบไม่ค่อยมาก ซึ่งการที่ ธปท.คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ระดับ 3% กว่าๆ นั้น ได้รวมเอาปัจจัยความล่าช้าของงบประมาณเข้าไปในระดับหนึ่งแล้ว โดยคาดว่างบประมาณจะล่าช้าไป 2 ไตรมาส งบรายจ่ายประจำยังสามารถดำเนินการได้ปกติ เพียงแต่งบลงทุน อาจกระทบบ้าง แต่ไม่ได้มากจนทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม จุดเสี่ยงจริง ๆ นอกเหนือจากหน้าตารัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไรแล้ว ยังมีเรื่องนโยบายที่ต้องดูว่ารัฐบาลใหม่ จะมีนโยบายอะไรออกมา

“สิ่งที่กังวลในเรื่องความเสี่ยง คือ ไม่รู้ใครจะมา รัฐบาลเป็นอย่างไร ถ้ามาแล้ว ก็ไม่อยากเห็นนโยบายรัฐบาลใหม่ที่ไปบั่นทอนเรื่องเสถียรภาพ ผมเข้าใจ รัฐบาล เรื่องการเมือง ต้องมีสไตล์รายจ่ายประชานิยม แต่ถ้าอยู่ในกรอบ ไม่มากเกินไป มีแหล่งเงินที่ชัดเจน ก็โอเค แต่ถ้ามากเกินไปจนกระทบเสถียรภาพ อันนี้น่าเป็นห่วง” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า