อ.นิติ มธ.-จุฬาฯย้ำ กสทช.อำนาจล้นพิจารณาทรู-ดีแทค

กทม. 8 ก.ย.- อ.นิติศาสตร์ มธ.-จุฬาฯ ประสานเสียงย้ำ กสทช.อำนาจล้นพิจารณาดีล ทรู-ดีแทค ระบุควบรวมทรู-ดีแทค ส่อทุนนิยมผูกขาดร้ายแรงกว่าเศรษฐกิจสังคมนิยม จี้ กสทช.ดื้อแพ่งไม่ยอมรับอำนาจตัวเอง


นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา “กสทช. มีอำนาจจัดการควบรวม ทรู-ดีแทคหรือไม่”  ที่สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดขึ้นเพื่อระดมแนวคิด และหาทางออกในการคุ้มครองผู้บริโภค จากสถานการณ์การควบรวมกิจการในธุรกิจ  ว่าหาก ย้อนไปดูตัวกฎหมายการก่อตั้งกสทช.สาเหตุที่ต้องให้มีองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลทรัพยากรคลื่นความถี่ของชาติก็เพื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการควบรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งตามข้อ 9 ของประกาศดังกล่าวยังระบุว่าการรายงานตามข้อ 5 ให้ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช. ตามข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 กสทช. มีอำนาจในการสั่งห้ามการควบรวมนี้ได้ หากเข้าข่ายเป็นการผูกขาด ลดหรือจำกัดการแข่งขัน

สำหรับที่มีการโต้แย้งว่า ที่ผ่านมามีการควบรวมกิจการในประเทศผ่านมาแล้ว 9 ดีลก็ใช้ ประกาศกสทช.ปี 2561 ใช้คำว่า “การรายงานการรวมธุรกิจ”นั่นหมายความว่า เมื่อยึดตามประกาศล่าสุด เท่ากับว่าบริษัทผู้ประกอบการไม่ต้องขออนุญาต ทำแค่เพียงการรายงานให้ทราบเท่านั้นเพราะ กสทช.ไม่ได้มีอำนาจกระทำอันใด อย่าโยง 9 ดีลที่เคยเกิดขึ้น


นายปริญญา กล่าวว่า ดีลการทรูควบรวมดีแทคไม่สามารถเทียบได้กับดีลที่เคยผ่านมา เพราะมันเข้าข่ายมีอำนาจเหนือตลาด ถือครองคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรของชาติ ถือส่วนแบ่งเกินครึ่ง มีอำนาจเหนือตลาดชัดเจนและทำไมถึงใช้ระบบรายงานภายหลังควบรวมไม่ได้

เนื่องจาก 9 ดีลที่ระบุนั้นมี 7 ดีล เป็นการรวมธุรกิจระหว่างผู้รับใบอนุญาตที่เป็นบริษัทในกลุ่มหรือบริษัทในเครือเดียวกัน 1 ดีล เป็นการรวมธุรกิจที่หลังการรวมมีสินทรัพย์ไม่เกินวงเงินที่ประกาศกำหนด 1 ดีล เป็นการควบรวมของรัฐวิสาหกิจ กสท. โทรคมนาคม กับ ทีโอที รวมกันเป็นเอ็นทีตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้น การควบรวมที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดแล้วทำให้เอกชนมีส่วนแบ่งทางการตลาดเกินกว่า 50% เข้าข่ายเป็นทุนนิยมผูกขาดร้ายแรงยิ่งกว่าเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเสียอีก  กสทช. ในฐานะองค์กรของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแล “คลื่นความถี่” รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคม จึงมี “หน้าที่”ตามมาตรา 27 (11) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (“พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่”) ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงป้องกัน หรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภคและขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมตามแนวนโยบายแห่งรัฐที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดอีกด้วย

“กสทช.อาจจะไม่มั่นใจในอำนาจของตัวเองเพราะนี้เป็นดีลใหญ่ก็อาจเกิดขึ้นได้ แต่ที่ผ่านมามีทั้งศาลปกครอง คณะอนุกฎหมายก็ชี้แล้วว่ากสทช.มีอำนาจเรื่องนี้ การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้แล้วไปถามกฤษฎีกาอาจจะเข้าข่ายละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติโดยมิชอบ ม.157 ” นายปริญญา กล่าว


ด้านนายณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์คณะนิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าธุรกิจโทรคมนาคมต้องใช้ทุนประกอบกิจการมหาศาล และเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของรัฐและผลประโยชน์ของประชาชนซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลจำเป็นต้องดูแลให้เกิดประโยชน์สูงสุดเห็นได้ชัดตามที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจน จึงต้องจัดให้มีองค์กรของรัฐที่มีการอิสระประโยชน์สาธารณะกับในการนี้ครับองค์กรดังกล่าวต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคหรือเอาเปรียบผู้บริโภค ดังนั้น สถานะของ กสทช.ที่เป็นองค์กรอิสระ จัดตั้งขึ้นมาตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และได้รับการรับรองความเป็นอิสระโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 60 อีกทั้ง ตามมาตรา 6 รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนการจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะใช้เพื่อส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ รวมตลอดทั้งการให้ประชาชนมีส่วนได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ด้วย

“การกำกับดูแลธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ชาติมันต้องเข้มข้นเพราะยิ่งเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ทุกอย่างต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและชาติ เขาถึงได้ให้อำนาจเฉพาะมากับ กสทช. ดังนั้น หากถามว่า กสทช.มีอำนาจที่จะพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ ก็ตอบง่ายๆว่ามีอย่างเต็มเปี่ยม” นายณรงค์เดช กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

ดินเนอร์พรรคร่วม

นายกฯ ลั่น ดินเนอร์พรรคร่วมเย็นนี้ ไม่ต้องปิดห้องเคลียร์ใจ

นายกฯ ลั่น ดินเนอร์พรรคร่วมเย็นนี้ ไม่ต้องปิดห้องเคลียร์ใจ จับตา ประชุม ครม. มหาดไทยเสนอร่างพ.ร.บ.การพนันฉบับใหม่ คลุมเนื้อหาการพนันออนไลน์ บอร์ดประชารัฐเสนอแนวทางใช้บัตรสวัสดิการขึ้นรถไฟฟ้า อำนวยความสะดวกประชาชน

สั่งย้ายครูแบทแมน

สั่งเด้ง “ครูแบทแมน” ถ่ายคลิปไม่เหมาะสมในโรงเรียน

กัน จอมพลัง บุก ก.ศึกษาธิการ ร้องเอาผิดครูชายสวมหน้ากากแบทแมน ถ่ายคลิปไม่เหมาะสมในโรงเรียน จ.อุทัยธานี ล่าสุดสั่งย้าย “ผอ.โรงเรียน-ครูแบทแมน” เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ด้าน “สส.ชาดา-กัน จอมพลัง” ลงพื้นที่ ขีดเส้นตายสอบเอาผิด

อุตุฯ เผยเหนือ-อีสานตอนบน-ใต้ มีพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง

กรมอุตุฯ เผยภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน มีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง 40%