สธ.ย้ำหญิงท้องเสี่ยงสูง รีบฉีดวัคซีน

กทม. 13 ส.ค.-สธ.ย้ำหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง ต้องได้รับวัคซีนป้องกันการเสียชีวิตเร่งด่วน พบหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดแล้ว 1,993 คน เสียชีวิต 37 คน

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แถลงกรณีหญิงตั้งครรภ์กับโควิด-19 ว่า จากข้อมูลตั้งแต่ธันวาคม 63 ถึง 11 สิงหาคม 64 พบหญิงตั้งครรภ์แล้ว 1,993 คน เป็นคนไทย 1,315 คนต่างด้าว 678 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ได้รับวัคซีนแล้ว 10 คน มีทารกติดเชื้อ113 คน


จังหวัดที่พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อสูงสุดคือ กรุงเทพฯ รองลงมาปริมณฑล และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 37 คน ยังไม่รวมวันนี้ 13 สิงหาคม ที่เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2 คน ที่จังหวัดชัยนาท และอุดรธานี มีทารกเสียชีวิต 20 คน แบ่งเป็นเสียชีวิตขณะคลอด 11 คน เสียชีวิตใน 7 วันแรก 9 คน มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนเข็มแรก 7,935 คน เข็มที่สอง 574 คน

ในช่วงการระบาดระลอกแรกยังพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไม่มาก แต่ในการระบาดระลอกที่ 2 พบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ธันวาคม 63 ถึงปีนี้พบมากถึงเดือนละ 5-25 คน แต่พอระลอก 3 เมษายน -พฤษภาคม พบมากอย่างรวดเร็ว นับ 100 คนต่อเดือน กรกฎคมพบมากถึง 800 คน และพบหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตมากขึ้นตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเสียชีวิตอยู่ในช่วงอายุ 20-34 ปี ร้อยละ 74.21% มากที่สุด พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อจะเกิดภาวะปอดอักเสบ ร้อยละ 22.53 หรือ 449 คน


ที่น่าสังเกตพบหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ คลอดก่อนกำหนด 18% ซึ่งมากกว่าภาวะปกติ ที่อยู่ที่ 10% และยังพบทารกน้ำหนักน้อย ร้อยละ 16 มากกว่าปกติที่อยู่ที่ 8%

เมื่อวิเคราะห์หญิงตั้งครรภ์ 37 คนที่เสียชีวิต อยู่ในกรุงเทพฯ 7 คน ต่างจังหวัด 30 คน พบ 16 คนเสียชีวิตก่อนคลอด และ 16 คนเสียชีวิตหลังคลอด (ผ่าคลอดทุกราย) ไม่มีข้อมูล 5 ราย ส่วนใหญ่เสียชีวิตในช่วงท้องแก่ สาเหตุเสียชีวิตอันดับหนึ่งเกิดจากปอดอักเสบจากโควิด 35 คน อีก 2 คนเกิดจากรกลอกตัวก่อนกำหนดและน้ำคร่ำอุดกั้นปอด ด้านทารกหลังคลอด 16 ราย พบปกติ 6 ราย ติดเชื้อ 2 ราย เสียชีวิต 5 ราย

สำหรับภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์คือ อ้วน, มีอายุ 35 ปีขึ้นไป, เป็นเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ใช้สารเสพติดและอื่นๆ แหล่งสัมผัสเชื้อมาจากบุคคลในครอบครัวมากที่สุด, รองลงมาเป็นสถานที่ทำงาน, ตลาดและอื่นๆ ส่วนปัจจัยการเสียชีวิตอันดับหนึ่งมาจากข้อจำกัดภายในระบบบริการและการเข้าถึงบริการ


ดังนั้นการยกระดับมาตรการป้องกันและดูแลหญิงตั้งครรภ์ จึงต้องเน้นการผลักดันให้ได้เข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาล และยกระดับการเข้าถึงบริการให้ได้มากที่สุด รวมทั้งส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ดูแลตัวเอง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ให้มีการตรวจด้วยตัวเอง ATK ส่งเสริมให้ได้รับวัคซีนหลังตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์

ด้าน พล.อ.ท.นพ.การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัย สูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าเนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคที่ทำให้หลอดเลือดชำรุดเสียหาย ในจำนวนแม่ติดโควิดทั้งหมด 1,993 คน มีแม่ตายรวม 37 คนหรือ 1.85% ซึ่งอัตราตายของแม่โควิด มากกว่าอัตราตายของผู้ติดเชื้อปกติถึง 2 เท่า

ส่วนลูกติดโควิดจากแม่เป็นอัตรา 11.8% ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ชัดเจนว่าแม่ต่างประเทศได้รับการฉีดวัคซีนมาก ทำให้ติดสู่ลูกน้อย จึงแนะนำให้แม่ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนไม่ต้องเลือกยี่ห้อ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเบื้องต้นคุ้นเคยกับเชื้อไวรัส ตามเข็มสองด้วยวัคซีนต่างยี่ห้อ mix and match ที่มีการวิจัยยืนยันว่าได้ผลสร้างภูมิต้านทานแน่นอน ส่วนภูมิต้านทานจะอยู่นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน อย่างน้อยประมาณ 6 เดือน ซึ่งครบกำหนดคลอดพอดี

ส่วนประเด็นยารักษาโควิด จัดตามลำดับสากล ซึ่งกำหนดอย่างเด่นชัดว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ห้ามใช้ในคนท้อง เป็นอันตราย ให้ใช้เรมเดซิเวียร์ เป็นยาฉีดในกรณีมีความจำเป็นโควิดรุนแรงลงปอด

ส่วนทำไมคนท้องเสียชีวิตสูง สาเหตุมาจากสรีระคนท้องมีน้ำคร่ำในช่องท้องมาก จะดันมดลูกขึ้น เกิดภาวะปอดแฟบในคนท้องง่าย ทำให้เกิดปัญหาการหายใจล้มเหลว การช่วยชีวิตเกิดขึ้นได้เมื่อช่วยให้ปอดมีประสิทธิภาพหายใจดีขึ้น ส่วนการคลอดแล้วลูกติดเชื้อ มาจากสาเหตุที่เชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายอยู่ในสารคัดหลัง ทั้งรก น้ำคร่ำ หรือน้ำนมแม่ จากข้อมูลพบมีลูกติดเชื้อจากแม่ 113 คน หรือ 11.8% เพราะแม่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นส่วนใหญ่

สำหรับความเชื่อเมื่อแม่ตายทั้งกลม หรือตายพร้อมลูก ควรผ่าตัดนำทารกออกมานั้น ตนก็แนะนำว่าไม่ควรทำ เพราะเป็นการทำให้เชื้อแพร่กระจายมากขึ้นไปอีก ส่วนประเด็นหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต หรือลูกเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน ยังไม่ใช่ข้อสรุปทางการแพทย์ว่าวัคซีนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเพราะ ในร่างกายมีหลายโรคที่ซ่อนเร้นอยู่อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ทั้งสิ้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร