BIG STORY : จุดเปลี่ยนคดี “บอส อยู่วิทยา” หลุดข้อหา

กทม. 29 ก.ค. – จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส ที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 หลุดข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือ 2 พยานบุคคลใหม่ ที่ให้การอ้างเห็นผู้เสียชีวิตขี่รถปาดหน้า และความเร็วรถไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนอดีตอัยการสูงสุดระบุการทำงานของอัยการต้องรวดเร็ว โปร่งใส

ภาพจากกล้องวงจรปิดที่บันทึกภาพรถเฟอร์รารี่ของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเจ้าของเครื่องดื่มชูกำลัง ที่ขับรถชน ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ตำรวจ สน.ทองหล่อ เสียชีวิต เมื่อปี 2555 คือหลักฐานสำคัญที่คณะทำงานตรวจพิสูจน์หลักฐานทางคดีนำมาใช้คำนวณความเร็วด้วยหลักทางฟิสิกส์ เพื่อประกอบในสำนวน ผลคำนวณความเร็วตามกระบวนการวิทยาศาสตร์พบว่า นายวรยุทธขับรถเฟอร์รารี่ เฉลี่ย 177 กิโลเมตร/วโมง ขณะเดียวกันยังตรวจวิเคราะห์วิถีการชนจากร่องรอยที่ปรากฏบนรถทั้งสองคัน ระบุถึงลักษณะการพุ่งชน เป็นการพุ่งชนมาจากด้านหลัง เพราะโครงสร้างด้านหลังรถจักรยานยนต์ของ ด.ต.วิเชียร บิดไปด้านหน้าอย่างเดียว ไม่ได้บิดไปในทิศทางซ้ายหรือขวา ซึ่งหมายความว่า เป็นการชนท้าย ไม่ใช่การปาดหน้า


ต่อมากลับพบว่าในสำนวนมีพยานบุคคล 2 คน ซึ่งถือเป็นพยานใหม่ ให้การอ้างว่าขับรถตามนายวรยุทธ เห็น ด.ต.วิเชียร เป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์ไปตัดหน้ารถเฟอร์รารี่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ และระบุความเร็วของรถเฟอร์รารี่ในขณะนั้นว่าไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนหน้านี้

อดีตนักวิทยาศาสตร์ กลุ่มงานตรวจทางเคมีฟิสิกส์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานตรวจพิสูจน์หลักฐานในคดีนี้ให้ข้อมูลว่า ขณะนั้นมีการตรวจพิสูจน์หลักฐานใน 2 จุด คือ ความเร็วของรถที่นายวรยุทธเป็นผู้ขับ โดยคำนวณด้วยหลักฟิสิกส์ และวิเคราะห์วิถีการชน หลักฐานทั้งสองอย่างถือว่ามีความแม่นยำ เพราะมีหลักการที่พิสูจน์ได้


มีข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ทีมกฎหมายของนายวรยุทธ มีความพยายามยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการหลายครั้ง แม้เคยรับคำร้อง และสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามคำร้อง แต่ก็มีคำสั่งยุติไม่ให้นำพยาน 2 ปากเข้าสำนวน เพราะเคยให้การตั้งแต่แรก ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ ต่อมาทีมกฎหมายได้ยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมไปยังคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของ สนช. จนเรื่องถึงอัยการสูงสุด และมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่ม จนคำให้การของพยาน 2 คน ปรากฏเข้าไปในสำนวน และท้ายที่สุดอัยการสูงสุดมีคำสั่งยกฟ้องเด็ดขาด จนเกิดการตั้งคำถามว่า การยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมครั้งนี้มีเบื้องลึกหรือไม่

นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด อธิบายว่า การร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้เสียหาย แต่สิ่งที่สำคัญคือ การทำหน้าที่ เช่น การสั่งคดีต้องดำเนินไปอย่างโปร่งใส และมีเหตุผลรับรอง ส่วนการพิจารณาสั่งฟ้อง หรือไม่ฟ้อง เป็นอำนาจของอัยการ และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจที่จะพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน อย่างคดีอาญาที่มีหลักการทำงานคือ ตรวจสอบความจริง พยานหลักฐาน เช่น พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือแม้แต่พยานบุคคล ก็ถือว่ามีน้ำหนักที่สามารถจะพลิกคดีได้เช่นกัน แต่คำให้การต้องสมเหตุสมผล

อดีตอัยการสูงสุดยังตั้งข้อสังเกตถึงการทำงานของอัยการที่มีความล่าช้า ทั้งที่คดีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 แต่ผ่านมาเกือบ 8 ปี แต่กระบวนการติดตามตัวผู้ก่อเหตุมารับโทษกลับไม่คืบหน้า จนมีคำสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด แม้ในวันนี้มีการเปิดช่องโดยไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีเอง หากมีพยานหลักฐานใหม่ แต่ที่ผ่านมาก็พบกรณีนี้ไม่บ่อยมากนัก เพราะแม้จะมีหลักฐานใหม่ก็จะต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบว่าหลักฐานนี้มีน้ำหนักพอหรือไม่ ก่อนจะออกหมายจับและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมได้. – สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา

แจ้งข้อหาเพิ่ม “ทนายตั้ม” คดี 39 ล้านบาท รวม 7 ข้อหา จ่อแจ้งข้อหา “นุ-แซน” เพิ่มเติม และเชื่อว่ามีบุคคลอื่นที่ต้องถูกดำเนินคดีอีก ส่วน “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ยังไม่ประสานเข้าพบหลังออกหมายเรียก

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน ยิงสู้ จนท.

วิสามัญมือยิงประธานสภา อบต.โพนจาน จ.นครพนม หลังหนีข้ามมา จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ปิดล้อมเกลี้ยกล่อมให้วางอาวุธ แต่ไม่สำเร็จ คนร้ายยิงต่อสู้

ขู่ยื่นเอาผิด รมว.ดีอี ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ปชช.

รัฐสภา 3 ธ.ค. – กมธ.ไอซีที สว. ขู่ ยื่น ม.157 เอาผิด รมว.ดีอี ฉุนเกียร์ว่าง ปล่อยโฆษณาหลอกหลวง ประชาชน – ปล่อย “หมอบุญ” หนีลอยนวล จี้รัฐยกปราบหลอกลวงออนไลน์เป็นวาระแห่งชาติ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. ฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม คนที่หก วุฒิสภา แถลงผลการประชุมกมธ. เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ซึ่งตรวจสอบกรณีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงอาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรณีของนพ.บุญ วนาสิน ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี ที่พบกรณีฉ้อโกงและฟอกเงิน เป็นมูลค่าสูงกว่า 7,500 ล้านบาท อย่างไรก็ดีในคดีดังกล่าวถูกแจ้งความดำเนินคดีที่ สน.ห้วยขวาง แล้วปี 2566 แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จนกระทั่งนพ.บุญเดินทางออกไปนอกประเทศและไม่มีการอายัดทรัพย์ ทั้งนี้ในการหลอกหลวงผ่านโฆษณาชวนเชื่อนั้น ทำผ่านโบรกเกอร์ที่หลอกลงทุน ทั้งนี้เชื่อว่าจะเป็นนักลงทุนที่เคยลงทุนที่คุ้นเคยกับเครือโรงพยาบาลธนบุรี “จากการชี้แจงกรณี นพ.บุญของหน่วยงานที่ชี้แจง พบเป็นการโยนกลองกันไปมา ไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบจริงจัง […]

ข่าวแนะนำ

ยูเนสโก ประกาศรับรอง ‘เคบายา’ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

วธ.เผย ยูเนสโก ประกาศรับรอง ‘เคบายา’ มรดกวัฒนธรรมร่วม 5 ประเทศ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ประจำปี 2567

รัฐบาลจัดพิธีอัญเชิญพระเขี้ยวแก้ว อย่างยิ่งใหญ่

พระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว จากสาธารณรัฐประชาชนจีน อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงแล้ววันนี้ พร้อมริ้วขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ ก่อนเปิดให้ประชาชนสักการะ พรุ่งนี้ (5 ธ.ค.) วันแรก

เปิดนาทีระทึก! เรือบรรทุก ชนเรือนำเที่ยวกลางเจ้าพระยา

ระทึก เรือพ่วงบรรทุก เฉี่ยวชนเรือนำเที่ยว จอดเทียบริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้สะพานกรุงเทพฯ ทำให้เรือนำเที่ยวขนาดใหญ่เสียหาย 5 ลำ เรือเล็กจมอีก 1 ลำ