รองนายกฯเศรษฐกิจ
ตั้งเป้าดึงมณฑลเหอหนาน ลงทุนใน EEC ของไทย เชื่อมโยงอุตสาหกรรมการบิน รถไฟฟ้า
รองรับนโยบาย “One
Belt and One Road” ของจีน
รร.พลาซ่าแอทธินี
26 มี. ค.-นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับนายเฉินเยิ่น เอ๋อ
(Mr.Chen Run’er) ผู้ว่าการมณฑลเหอหนาน
สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะฯ โดยนายสมคิดกล่าวว่าจากศักยภาพของมณฑลเหอหนาน ถือเป็นมณฑลมีประชากรมากถึง 107 ล้านคน
และเป็นแหล่งเกษตรกรใหญ่ที่สุดในจีน มีขนาดจีดีพีสูงถึง 570,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 ใหญ่เป็นอันดับ 5
ของจีน มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 500
ล้านคนต่อปีเดินทางมาเหอหนาน มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแบบบูรณาการ 4-5 เขต
ล่าสุดได้ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจงหยวนภาคกลางของจีน ขณะที่สนามบินเจิ้นโจ มีรันเวย์ 5 รันเวย์
นับว่าเป็นสนามบินขนาดใหญ่อันดับโลก จึงทำให้การขนส่งทางอากาศ รองรับผู้โดยสาร 70
ล้านคนต่อปี และขนส่งสินค้า 3 ล้านตันต่อปี เป็นศูนย์กลางทางการบินของจีน
มณฑลเหอหนานเป็นตำนานของศาลไคฟง วัดเส้าหลิน
แหล่งประวัติศาสตร์เก่าแก่อันยาวนานของจีน
รัฐบาลจีนกำหนดให้มณฑลเหอหนาน
เป็นฐานการผลิตอุตหกรรมอาหาร พลังงาน วัตถุดิบ เครื่องจักรอุปกรณ์ไฮเทค
โดยมีบริษัทแอพเปิ้ล ตั้งอยู่เขตเศรษฐกิจดังกล่าวมีแรงงานกว่า 3 แสนคน ทำให้มณฑลเหอหนาน
เป็นจุดสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน
การหารือในครั้งนี้ มุ่งกระชับความสัมพันธ์
การลงทุนอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศ
รวมทั้งการดึงนักลงทุนมาร่วมลงทุนในการพัฒนาระเบียงเศรษฐพิเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทย ผ่านกองทุน Silk Road แห่งภาคกลางของจีน
รวมทั้งกระชับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย จีน
ไทยจึงตอบรับคำเชิญของจีนเพื่อเดินทางไปหารือและลงนามร่วมกันในช่วงกลางปีนี้
เพื่อไม่ให้ไทยตกขบวนตามนโยบาย “One Belt and One Road” เส้นทางการเชื่อมโยงทางการค้าใหม่ของจีน
เพราะเส้นทางการขนส่งทางการค้าของจีน เชื่อมโยงไปทุกภูมิภาคของโลก
เพื่อต้องการศึกษาทั้งระบบราง อุตสาหกรรมการบิน
นายอุตตม
สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรรม กล่าวว่า
เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างไทยกับเหอหนานมีความชัดเจน จึงตั้งคณะทำงานร่วมกัน
เพื่อหารือทั้งด้านการค้าและการลงทุน จึงต้องส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเจรจาล่วงหน้า
และนำเอกชนไปหาช่องทางการลงทุน เพื่อนำไปสู่การเจรจาทางธุรกิจของภาคเอกชน
ก่อนคณะของรัฐบาลชุดใหญ่จะเดินทางไปช่วงกลางปี
นายคณิศ
แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เปิดเผยว่า
ที่ประชุมได้มีข้อตกลงพิเศษร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงการลงทุนระหว่าง EECของไทยกับมณฑลเหอหนาน
ความร่วมมือพัฒนาทั้งสนามบิน ท่าเรือ หากข้อตกลงบรรลุผลสำเร็จ
นับเป็นการลงนามระหว่าง EECของไทยกับองค์กรต่างประเทศอันดับแรก
เนื่องจากผู้ว่าการมณฑลเหอหนาน ยอมรับว่า ไทยมีแผนเดินหน้าพัฒนา EEC อย่างชัดเจน
เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกำกับดูแลเองโดยตรง
และโครงการน่าจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน มีการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอชัดเจน
จึงทำให้จีนต้องการเข้ามาร่วมลงทุน
การลงทุนผ่านกองทุน
Silk Road แห่งภาคกลางของจีน มีขนาดกองทุน 2
แสนล้านหยวนหรือประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
นับว่าเป็นกองทุนขนาดใหญ่มีศักยภาพออกไปลงทุนในต่างประเทศ ในส่วนของความร่วมมือทางการบิน ผู้ว่าการมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ยังได้ลงนามร่วมกับสายการบินไทยสไมล์ เพื่อเปิดเส้นทางการบิน 4
เที่ยวบินต่อสัปดาห์จากไทยไปยังเหอหนาน
ดังนั้นการลงนามด้านอื่นๆจะตามมาเช่นเดียวกัน.-สำนักข่าวไทย.-สำนักข่าวไทย
