ส.อ.ท. จับมือ นิด้า MOU สำรวจความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

กรุงเทพฯ 17 ม.ค.-ส.อ.ท. จับมือ นิด้า MOU สำรวจความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประเดิมโพลแรก แถลง “ผลการสำรวจ CEO Survey ทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2560


รศ.ดร.กำพล  ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจผู้บริหารระดับสูงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 พบว่า ผู้บริหารระดับสูง ร้อยละ 34.69 ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะขยายตัว  ร้อยละ 48.98 ระบุว่า ทรงตัว และร้อยละ 16.33 ระบุว่า หดตัว โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 โดย ร้อยละ 70.59 ระบุว่า จะขยายตัวร้อยละ 1– 5 ขณะที่ทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในปี 2560 พบว่าร้อยละ 30.61 ระบุว่าทิศทางแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ในปี 2560  จะขยายตัว ร้อยละ 46.94 คาดว่าจะทรงตัว และร้อยละ 22.45  ระบุว่า จะหดตัว

​สำหรับปัจจัยที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปี 2560 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 57.14 ระบุว่า ปัจจัยที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ปี 2560 คือ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รองลงมา ร้อยละ 51.02 ระบุว่า เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐฯ ร้อยละ 38.78 ระบุว่า เป็นภาคการท่องเที่ยว


​ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงมีความกังวลในการดำเนินกิจการในช่วงปี 2560 พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.86 ระบุว่า เป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รองลงมา ร้อยละ 40.82 ระบุว่า เป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุนโลกจากความไม่แน่นอนของนโยบายของสหรัฐฯ ภายหลังการเลือกตั้ง และกระบวนการในการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร รวมถึงกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 34.69 ระบุว่า เป็นความเข้มงวดของธนาคารในการให้สินเชื่อ

​​ส่วนการวางแผนของผู้บริหารระดับสูงในการดำเนินกิจการในช่วงปี 2560 พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.84 ระบุว่ามีการวางแผน และมีแนวทางในการรับมือ ขณะที่ ร้อยละ 8.16 ระบุว่า ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนมากนักจากช่วงครึ่งหลังของปี 2559 โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่ามีการวางแผนและมีแนวทางในการรับมือนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.44 ระบุว่า มีการวางแผนโดยปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต รองลงมา ร้อยละ 37.78 ระบุว่า เป็นการพัฒนาศักยภาพของแรงงาน ร้อยละ 28.89 ระบุว่า เป็นการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะของผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้การลงทุนภาคเอกชนของไทยสามารถขยายตัวได้ดีและเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจไทยต่อไป สามารถสรุปได้ ดังนี้ คือ 1.รัฐบาลควรพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และก้าวเข้าสู่ Industries 4.0 2.หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม 3.รัฐบาลควรเร่งพัฒนาวางระบบโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม​


โดยภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รองลงมา ร้อยละ 48.98 ระบุว่า ภาครัฐควรเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ร้อยละ 40.82 ระบุว่า ภาครัฐควรสนับสนุนการขยายตลาดเข้าสู่หัวเมืองรองในกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อขยายฐานลูกค้าและกระจายสินค้าให้มากขึ้น

​ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลก ภายหลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คนที่ 45 ของสหรัฐฯ พบว่า ผู้บริหาร ร้อยละ 22.45 ระบุว่า ทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว ร้อยละ 40.82 ระบุว่า ทรงตัว ร้อยละ 26.53 ระบุว่า หดตัว ขณะที่ร้อยละ 10.20 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ  โดยความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อนโยบายของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทย พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.04 ระบุว่า เป็นนโยบายการกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้านำเข้าจากจีน และเม็กซิโก ที่จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและปริมาณการค้าโลก รองลงมา ร้อยละ 50.00 ระบุว่า เป็นการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนเป็นร้อยละ 45 และดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับไปผลิตในสหรัฐฯ

ส่วน​ผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย จากนโยบายเรื่องการค้าที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะกีดกันการค้าจากจีน พบว่า ร้อยละ 4.08 ระบุว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากที่สุด ร้อยละ 22.45 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 48.98 ระบุว่า ส่งผลปานกลาง ร้อยละ 18.37 ระบุว่า ส่งผลน้อย ร้อยละ 4.08 ระบุว่า ส่งผลน้อยที่สุด และร้อยละ 2.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

​นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จับมือ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสำรวจความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” ระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยความร่วมมือในการสำรวจความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวได้สะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมุมมองที่ได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทย รวมทั้งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการดำเนินงาน วางแผน หรือปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจได้ โดยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสำรวจความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมครั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กร ยังคงมีเจตนารมย์ร่วมกันที่จะดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เพื่อสะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการที่มีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้ไป.-สำนักข่าวไทย

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอ เข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ