รัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัยส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง


สงขลา 24 พ.ย. – สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา ในอดีตเคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อย่างหาที่สุดไม่ได้ ทั้งการเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคารที่ทำการ และการส่งเสริมงานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จนเป็นที่มาของความเจริญก้าวหน้าของงานด้านนี้

061.2 061.3 061.4 061.5


10 กันยายน 2524 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ จ.สงขลา เสด็จเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆ ภายในอาคาร ด้วยความสนพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ด้วยในช่วงหลายปีก่อนหน้านั้น ทรงให้ความสำคัญต่องานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเป็นอย่างมาก หลังจากทรงทราบถึงความสำเร็จของการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2510 และกรมประมงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานให้ทรงทราบถึงความสำเร็จในครั้งนั้น

061.13 061.9

คุณลุงไพโรจน์ พรหมมานนท์ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง เล่าว่า ได้มีโอกาสถวายงานใกล้ชิดพระองค์หลายครั้ง นับตั้งแต่สามารถเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก พระองค์ทรงทราบและสนพระราชหฤทัยเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งให้ถวายรายงานความก้าวหน้าของการเพาะเลี้ยง นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในปี 2513 แต่ด้วยความไม่พร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์ ทำให้การเพาะขยายพันธุ์กุ้งก้ามกรามในขณะนั้น ทำได้ไม่มากนัก และไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน


061.10 061.11 061.12 061.8

ต่อมาเมื่อครั้งพระองค์เสด็จฯ เยี่ยมเยือนพสกนิกร และติดตามงานในพื้นที่แม่น้ำตากใบ จ.นราธิวาส ในปี 2519 พระองค์ได้รับสั่งถามถึงความก้าวหน้าของการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอีกครั้ง จนเป็นที่มาของการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการเพาะขยายพันธุ์ และนำมาซึ่งการปล่อยพันธุ์กุ้งคืนสู่ธรรมชาติ สร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชนจนถึงปัจจุบัน

061.16 061.17 061.18 061.19 061.20 061.22

ปัจจุบันสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 สงขลา” ทำหน้าที่พัฒนาการวิจัยและเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ มีผลการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมากมาย อาทิ การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว ปลากะรัง และปลาตะกรับ ทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งอาหาร สร้างงาน สร้างรายได้ ให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ได้อย่างยั่งยืน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง