กสทช.ไม่ให้ค่ายมือถืออ้างช่องโหว่ธุรกิจไม่คืนเงินผู้บริโภค

กรุงเทพฯ 20 ส.ค. กสทช. บอกปัดค่ายมือถือ ไม่ให้อ้างเหตุช่องโหว่จากธุรกิจค้าค่าโทรปฏิเสธการคืนเงินผู้บริโภค


นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ  ส่งบทควาถึงสื่อมวลชนเพื่อแสดงคามเห็นกรณีเกี่ยวกับคิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมล่าสุด ครั้งที่ 7/2563 ประจำเดือนสิงหาคม ได้มีการพิจารณาแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนกรณีผู้บริโภค 3 ราย ซึ่งเป็นผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินหรือแบบจ่ายล่วงหน้า (pre paid)  ต้องการปิดบริการกับค่ายมือถือรายหนึ่ง จำนวนทั้งสิ้น 24 เลขหมาย รวมยอดเงินกว่า 237,000 บาท แต่ปรากฏว่าถูกบริษัทปฏิเสธไม่ยอมคืนเงินคงเหลือในระบบให้ จึงได้ร้องเรียนความเดือดร้อนดังกล่าวมายังสำนักงาน กสทช.


จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ โดยได้เชิญคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเข้าชี้แจง พบว่า ผู้ร้องเรียนกลุ่มนี้มีการขอปิดบริการคราวละจำนวนหลายเลขหมาย และในแต่ละเลขหมายมียอดการขอคืนเงินสูงเกือบ 10,000 บาท ซึ่งในด้านผู้ให้บริการหรือค่ายมือถืออ้างว่า ยอดเงินในเลขหมายที่สูงมากนี้มีลักษณะไม่ใช่เป็นการเติมเงินไว้เพื่อการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามปกติ แต่ใช้เป็นช่องทางการโอนเงินหารายได้ แล้วมาขอรับเป็นเงินสด อีกทั้งยอดเงินบางส่วนก็เป็นการรับโอนต่อมาจากเลขหมายอื่นผ่านบริการของบริษัทที่ให้ผู้ใช้บริการระบบรายเดือน (post paid) สามารถเติมเงินค่าโทรให้กับผู้ใช้เบอร์เติมเงินได้ ซึ่งก็ปรากฏว่ามีผู้ใช้บริการแบบรายเดือนบางรายถูกหลอกให้เติมเงินให้ผู้อื่นและยังไม่ได้ชำระค่าบริการให้แก่บริษัท ดังนั้นบริษัทจึงต้องการอายัดเงินดังกล่าวทั้งหมดไว้ก่อนเพื่อตรวจสอบ ขณะที่ทางด้านผู้ร้องเรียนชี้แจงว่า ที่มาของเงินในระบบส่วนใหญ่มาจากการซื้อค่าโทรผ่านร้านค้าออนไลน์ที่มีส่วนลดให้ และผู้ร้องเรียนบางรายมีการซื้อค่าโทรผ่านคนรู้จัก โดยเมื่อได้รับการเติมเงินค่าโทรแล้ว ก็จะโอนเงินสดผ่านบัญชีธนาคารไปให้ผู้เติม ซึ่งค่าโทรที่ได้รับจะมีมูลค่าสูงกว่ายอดเงินที่จ่ายไป โดยที่ไม่รู้ว่าค่าโทรที่ได้รับเป็นการโอนมาจากผู้ใด
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ภายหลังการไต่สวนข้อเท็จจริงจากทั้งสองฝ่าย ที่ประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ มีมติชี้ขาดว่า เนื่องจากประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ระบุว่า เมื่อสัญญาเลิกกัน ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีเงินค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการก็ต้องคืนเงินคงเหลือในระบบให้กับผู้ใช้บริการ โดยที่ต้องดำเนินการคืนเงินภายใน 30 วันนับจากวันที่มีการบอกเลิกสัญญา และในกรณีที่บริษัทไม่สามารถคืนเงินให้กับผู้ใช้บริการได้ภายในกำหนดระยะเวลา บริษัทก็ต้องชำระค่าเสียประโยชน์เพิ่มเติมในอัตราเท่ากับดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้โดยนับตั้งแต่ 30 วันหลังจากวันที่มีการบอกเลิกสัญญา ดังนั้นในกรณีนี้บริษัทจึงไม่มีสิทธิปฏิเสธการคืนเงินให้กับผู้ใช้บริการ แต่หากบริษัทไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิไปร้องขอต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวในการที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง รวมทั้งอาจขอศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าวไว้ก่อนได้ตามที่ค่ายมือถืออ้างธุรกิจค้าค่าโทรเจาะช่องโหว่อุตสาหกรรมมือถือ มีทั้งกรณีโปรโมชั่นเติมเงินค่าโทรราคาถูกผ่านร้านค้าออนไลน์ กรณีชวนผู้ใช้โทรศัพท์ระบบรายเดือนเติมเงินเข้าระบบจ่ายล่วงหน้า แลกกับการรับเงินสดทันที โดยมีค่าส่วนต่าง รวมทั้งกรณีหลอกลวงให้เติมเงินหรือแอบเข้าทำธุรกรรมเติมเงินไปเบอร์ต่างๆ ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการพรีเพดมาปิดเบอร์ขอเงินคืนด้วยยอดรวมระดับแสนบาท ค่ายมือถือจึงขอไม่คืนเงินให้ อ้างเป็นยอดเงินในเลขหมายที่สูงผิดปกติ ผิดจากเจตนาของการเติมเงินเพื่อไว้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. ไม่รับลูก ยืนยันชัด หากผู้บริโภคเติมค่าโทรโดยช่องทางสุจริต ก็ย่อมมีสิทธิได้เงินคืนเต็มจำนวน

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า  กฎหมายของ กสทช. กำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการปิดเบอร์ระบบเติมเงินและผู้ใช้บริการขอเงินในระบบคืน เมื่อได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วว่าเป็นเจ้าของเบอร์ บริษัทก็ตาองคืนเงินให้ ซึ่งในกรณีผู้ร้องเรียนทั้งสามรายนี้ แน่ชัดว่ามีการลงทะเบียนซิมเป็นเจ้าของเบอร์ และมีหลักฐานการโอนเงินให้กับร้านค้าออนไลน์จำนวนมาก ซึ่งร้านค้าเหล่านี้ก็มีการประกาศโฆษณาขายค่าโทรบนอินเทอร์เน็ตอย่างเปิดเผยชัดเจน ดังนั้นจึงเป็นการซื้อค่าโทรที่ได้มาโดยสุจริต ส่วนการรับซื้อค่าโทรที่โอนค่าโทรมาจากเลขหมายรายเดือนก็มีลักษณะเป็นการยินยอมตกลงใจกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากทางบริษัทเห็นว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องไปสกัดกั้นที่ตัวกลางหรือไล่ทลายตัวกลาง ไม่ใช่มายึดเงินที่ปลายทางแล้วเก็บเงินไว้ในบัญชีบริษัท ซึ่งการทำเช่นนั้นย่อมไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้บริการเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ เงินที่เติมเข้าไปในระบบคือเงินชำระค่าบริการล่วงหน้า ซึ่งผู้บริโภคอาจจะใช้บริการมากน้อยหรือไม่ใช้บริการเลยก็เป็นสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้นเมื่อมีการยกเลิกบริการ มีเงินเหลือเท่าไรก็ต้องคืนให้ผู้บริโภคเต็มจำนวน ส่วนถ้าบริษัทยังมีความประสงค์ที่ไม่ต้องการคืนเงินให้กับผู้ใช้บริการ ก็ต้องไปใช้สิทธิตามกฎหมายอื่น เช่นฟ้องศาลเพื่อขออายัดเงินดังกล่าว แต่บริษัทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเงินค่าโทรส่วนใดที่ได้มาโดยทุจริตหรือได้มาจากการต้มตุ๋นหลอกลวง ส่วนค่าโทรที่ได้มาโดยสุจริตก็ต้องคืนให้กับผู้ใช้บริการตามกฎหมายที่มีอยู่



ทั้งนี้หากเป็นการครอบครองเบอร์โดยสุจริตและเป็นการเติมเงินโดยสุจริต ก็เป็นความชอบธรรมที่ผู้ใช้บริการต้องได้เงินคงเหลือคืน ส่วนการที่ผู้ใช้บริการได้ค่าโทรมาในราคาถูกแล้วไปขอคืนเงินในราคาเต็มนั้น เป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการต้องไปอุดช่องโหว่ในการทำโปรโมชั่นทางการตลาดกับตัวแทนส่งเสริมการขายของบริษัทเอง รวมถึงบริษัทยังสามารถพิจารณาปรับลดวงเงินคงเหลือสะสมสูงสุดในแต่ละเลขหมาย ซึ่งปัจจุบัน กสทช. กำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 10,000 บาท แต่บริษัทก็สามารถปรับลดลงได้เอง เช่น 2,000 บาท หรือ 3,000 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบปกติ และเพื่อไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจนำช่องทางนี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น หรือว่าในส่วนของบริการที่เปิดให้ผู้ใช้บริการรายเดือนสามารถเติมเงินให้กับเบอร์เติมเงินได้นั้น บริษัทก็อาจกำหนดให้ผู้ใช้บริการสามารถเติมเงินให้ได้เฉพาะกับเบอร์ภายในครอบครัวหรือปลายทางที่รู้จักชัดเจน เพื่อแสดงความประสงค์ว่ามีความต้องการเติมเงินให้จริง แต่ถ้าบริษัทเลือกที่จะนิ่งเฉยไม่พยายามอุดช่องโหว่เหล่านี้ ก็จะส่งผลเสียกับบริษัทเอง

ส่วนในประเด็นที่บริษัทมือถือจะปฏิเสธไม่คืนเงินค่าบริการคงเหลือในระบบ โดยอ้างเหตุเพราะยังไม่ได้รับชำระหนี้การเติมเงิน ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมกล่าวว่าไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องจากบริการที่บริษัทให้เครดิตลูกค้ารายเดือนสามารถเติมเงินให้ลูกค้าระบบเติมเงินนั้น เป็นบริการที่บริษัทนำเสนอขึ้นมาเอง และโดยระบบแล้ว เมื่อเงินมีการโอนก็ย่อมเป็นสิทธิของผู้ใช้บริการระบบเติมเงินโดยทันที ส่วนบริษัทก็มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการระบบรายเดือนที่เป็นผู้เติมเงินได้ในภายหลัง
นายประวิทย์ กล่าวอีกว่า ฝากเตือนถึงผู้ใช้บริการทั่วไปเกี่ยวกับการใช้บริการเบอร์รายเดือนเติมเงินค่าโทรให้กับเบอร์เติมเงินว่า ต้องระมัดระวังเรื่องการถูกหลอกลวง โดยควรต้องตรวจสอบว่าปลายทางมีตัวตนที่ชัดเจน เพราะบุคคลเหล่านี้ไม่ใช่ตัวแทนของบริษัทมือถือ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระค่าบริการ ผู้ใช้บริการก็จะกลายเป็นหนี้ค่าบริการกับบริษัท และอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือเรื่องรหัส OTP โดยต้องเก็บเป็นความลับเฉพาะบุคคล อย่าบอกกับผู้อื่นในทุกกรณี เพราะจะทำให้มิจฉาชีพสวมรอยทำธุรกรรมออนไลน์ในฐานะที่เป็นตัวเราได้ ต้องเตือนตัวเองไว้เสมอว่า การบอกรหัส OTP ให้กับบุคคลอื่นก็เหมือนกับเป็นการยื่นกุญแจบ้านให้โจรเข้ามาขโมยของในบ้านของเราเอง ดังนั้นหากมีใครมาขอให้บอกรหัส OTP ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า คนๆ นั้นอาจเป็นมิจฉาชีพ อย่าหลงเชื่อง่ายๆ เด็ดขาด-สำนักข่าวไทย.


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

เย็นลงอีก “เหนือ-อีสาน” อุณหภูมิลด 1-3 องศาฯ

กรมอุตุฯ ประกาศ ภาคเหนือ อีสาน อุณหภูมิลดอีก 1-3 องศาฯ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตะวันออก อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนล่างของภาค

เบื้องหลังล่าจ่าเอ็ม

เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา

“บิ๊กจ๋อ” เปิดเบื้องหลังตามล่า “จ่าเอ็ม” ข้ามแดนกัมพูชา ชี้ คลาดกันแบบหายใจรดต้นคอ ก่อนประสานตำรวจกัมพูชารวบตัว เผย ผู้ต้องหาร้องขอเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย หวั่น ถูกประชาทัณฑ์

ไฟไหม้บ้านสจ.สุพรรณ

เพลิงไหม้บ้านอดีต สจ.ดังเมืองสุพรรณ ดับยกครัว 4 ศพ

สลด! เพลิงไหม้บ้านพักของ สจ.ดังเมืองสุพรรณบุรี ทำให้คนในครอบครัวเสียชีวิตทั้ง 4 คน เบื้องต้นคาดสาเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร