เปิบลาบหมูดิบแกล้มสุรา ป่วยเฉียบพลันโรคหูดับเร่งส่ง รพ.น่าน

น่าน 1 มิ.ย.- แพทย์ รพ.น่าน ย้ำเตือนไม่กินเนื้อสัตว์สุกดิบ  ล่าสุดรับตัวชายวัย 57 ปี เข้าไอซียู ชีพจรต่ำ ความดันตก หลังตั้งวงกับเพื่อนดื่มสุราแกล้มลาบหมูดิบ คาดป่วยโรคหูดับ 



นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน เปิดเผยถึงอาการของผู้ป่วยชาย อายุ 57 ปี ถูกนำตัวเข้าห้องไอซียู ด้วยชีพจรต่ำและความดันตก หลังจากร่วมวงดื่มสุราและกินลาบหมูดิบว่า ทีมแพทย์เร่งให้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด และจากการสอบสวนโรคทราบว่าผู้ป่วยดื่มสุรากับเพื่อนอีก 4 คน และซื้อเนื้อหมูสดมาจากพื้นที่ภูเพียงมาปรุงอาหารลาบดิบเป็นกับแกล้ม จากนั้นประมาณ 5 ชั่วโมง ผู้ป่วยรายนี้ก็เกิดอาการตัวร้อนเป็นไข้ หน้ามืด ท้องเสีย ญาติจึงตัวส่งรักษาที่โรงพยาบาลภูเพียง แต่อาการยังหนัก จึงส่งมารักษาต่อที่โรงพยาบาลน่าน  แพทย์ได้วินิจฉัยโรคคาดว่าเกิดจากเชื้อโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือโรคหูดับ ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในสุกร ขณะนี้ทีมแพทย์ได้ให้ยาปฏิชีวนะและผู้ป่วยปลอดภัยแล้ว แต่ยังต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งได้เก็บชิ้นเนื้อไปตรวจสอบหาเชื้ออย่างละเอียดอีกครั้ง


นพ.พงศ์เทพ ย้ำเตือนประชาชนว่า ขอให้ซื้อเนื้อหมูจากแหล่งชำแหละที่เชื้อถือได้ และรับประทานอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น สำหรับโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส เป็นเชื้อแบคทีเรียเกิดในสุกร ปกติก็จะมีอยู่ในสุกรเกือบทุกตัว ซึ่งเชื้อฝังตัวอยู่ในต่อมทอนซิลของสุกร แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรค เว้นแต่เมื่อใดที่สุกรมีร่างกายอ่อนแอ เครียด หรือป่วยด้วยโรคที่ ไปกดภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวน และติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้หมูป่วยและตายได้ 


นพ.พงศ์เทพ อธิบายว่า เชื้อของโรคหูดับสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง คือ การบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดหมูที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ที่นิยม าจากเนื้อหมู ดิบ ๆ และใส่เลือดดิบ หรือหมูกระทะที่ปิ้งย่างไม่สุก  และ ผ่านทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสสุกรที่เป็นโรค กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังคือ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชราแหละเนื้อสัตว์ สัตวแพทย์สัตวบาล 

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วัน จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบวมตามข้อ มีจ้ำเลือดตามตัวตามผิวหนัง ซึม คอแข็ง ชัก มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว จนเชื้อเข้า สู่กระแสเลือดและเข้าไปสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบตามมา และเนื่องจากเยื่อ หุ้มสมอง อยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลาม และทำให้เกิดหนองบริเวณปลาย ประสาทรับเสียงและประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนหูหนวกร่วมกับอาการเวียนศีรษะ และเดินเซตามมาได้ ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง