“ธีรัจชัย” ชี้ เงื่อนไข พ.ร.ก.เอื้อกลุ่มทุนใหญ่ ไม่ใช่ SMEs

รัฐสภา 30 พ.ค.-  “ธีรัจชัย” ตั้งข้อสังเกต เงื่อนไข พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563  เอื้อกลุ่มทุนรายใหญ่ ไม่ได้ช่วยเหลือ SMEs อย่างแท้จริง ขณะที่ “จุติ-ผู้ว่าฯ ธปท.” แจง รัฐบาลไม่ได้มุ่งอุ้มกลุ่มทุนรายใหญ่ การันตีเข้าถึง SMEs  ซอฟท์โลน  ขู่เอาผิดสถาบันการเงิน หากเอื้อกลุ่มทุน


นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปราย ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันนี้ (30 พ.ค.) ซึ่งเป็นการประชุมวันที่ 4 ถึง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท โดยตั้งข้อสังเกตว่า  เงื่อนไขใน พ.ร.ก.ดังกล่าว สามารถเบี่ยงเบนไปเอื้อกลุ่มทุนขนาดใหญ่ได้

นายธีรัจชัย กล่าวว่า  การกำหนดเงื่อนไขให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยกู้สถาบันทางการเงินในอัตราดอกเบี้ย 0.01  และให้สถาบันการเงินปล่อยกู้กับผู้ประกอบการในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 โดยยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือน และให้เฉพาะผู้ประกอบการที่มีสินเชื่อกับธนาคารแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท ทำให้กลุ่ม SMEs   ได้รับประโยชน์หรือเข้าถึงน้อยมาก  


“ผู้ได้รับประโยชน์ตัวจริงคือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เพราะบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่สามารถกู้ได้ทั้งหมด หากมีหนี้สินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง  ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้ตามอำเภอใจ เอื้อต่อกลุ่มทุนขนาดใหญ่ได้ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นการสมคบระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่หรือไม่ เหตุใดจึงไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มที่เป็น SMEs   จริงๆ” นายธีรัจชัย กล่าว

นายธีรัจชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ การกำหนดเงื่อนไขให้กู้เฉพาะผู้ประกอบการที่มีสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์เท่านั้น กรณีที่ไม่มีเงินกู้ ไม่มีหลักประกัน และกรณีเป็นหนี้เสีย ไม่เข้าข่ายได้รับสินเชื่อ  SMEs  ทั้งหมด 3 ล้านราย มีสินเชื่อกับธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์เพียง 1.9 ล้านราย แต่อีก 1.1 ล้านราย ไม่มีสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ และยังให้ใช้หลักเกณฑ์ว่า ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงทำให้เหลือ SMEs   เพียงไม่กี่รายที่มีโอกาสได้รับสินเชื่อ ยิ่งถ้าเป็นหนี้เสีย ก็จะถูกตัดออกจากระบบตั้งแต่แรก  เพราะฉะนั้นจึงมีเพียงกลุ่มทุนขนาดใหญ่และกลุ่มผู้ประกอบการสินเชื่อชั้นดีเท่านั้น ที่ได้รับการช่วยเหลือ  

นายธีรัจชัย กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้ยืนยันได้ชัดเจนว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ไม่ได้ช่วยเหลือกลุ่ม SMEs อย่างแท้จริง  แต่เหมือนรัฐบาลจะรู้ว่า จะมีการอภิปรายเรื่องนี้ วันที่ 26 พ.ค. คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเพิ่มช่วยเหลือ SMES   จัดสรรวงเงินเพิ่มเติม 10,000 ล้านล้านบาท ให้กรณีที่ไม่มีสินเชื่อกับธนาคาร ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีหนี้เสีย สามารถกู้ได้ แต่ก็ยังคงเงื่อนไขเดิมไว้ ซึ่งก็เอื้อกลุ่มทุนใหญ่อยู่ดี ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs  3 ล้านราย เสี่ยงล้มไม่ต่ำกว่า 2 ล้านราย คนตกงานไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ จากรัฐบาลที่ยึดถือเพียงมาตรการสาธารณสุข แต่ลืมมาตรการทางเศรษฐกิจ เกิดการยึดทรัพย์โดยธนาคาร ทำให้นายทุนรายใหญ่มาช้อนซื้อสินทรัพย์ดีๆ ในราคาถูก สร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดเพิ่มขึ้นไปอีก ส่งผลกระทบให้กลุ่มทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น กำหนดราคาสินค้า ผูกขาดตลาดในอนาคต ทำให้คนรวยไม่กี่ตระกูลของประเทศกำหนดอะไรก็ได้ 


“พ.ร.ก.ฉบับนี้ จึงไม่สามารถช่วยเหลือ SMEs  ได้ มีแต่ซ้ำเติมให้หายไป จึงขอให้รัฐบาลทบทวน ใส่ใจประชาชน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการทำลาย SMEs และทำร้ายประชาชนไม่น้อยกว่า 29 ล้านคน จึงขอให้รัฐบาลทบทวนเรื่องเหล่านี้” นายธีรัจชัย กล่าว

จากนั้น นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการต่างๆ โดยรอบคอบ  ไม่ได้ออกกฎหมายเพื่อกลุ่มทุน แต่มีหัวใจเพื่อดูแลคนตัวเล็ก ข้อมูลที่อภิปรายเป็นประโยชน์ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลพิจารณารายละเอียดรอบคอบ ขอประชาชนวางใจ  ยืนยันว่ารัฐบาลตั้งใจลดเหลื่อมล้ำ ให้เงินถึงประชาชนและ SMEs    ระดับล่างมากที่สุด แม้ดูตามหลักเกณฑ์แปลไปได้ว่าเอื้อกลุ่มทุน แต่คณะรัฐมนตรียืนยันว่า เรื่องต้องไม่เกิดขึ้น รัฐบาลไม่ละเลย

ด้าน นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  ยืนยันว่า ธปท.ได้ทำหนังสือเวียนไปยังสถาบันการเงินทุกสถาบัน ให้ทุกสถาบันการเงินให้ความสำคัญกับ SMEs  ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุน  และไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินใดก่อนเป็นลำดับแรก และต้องไม่ให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากหลายช่องทางอยู่แล้ว เพื่อช่วยเหลือ SMEs ก่อนตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดฉบับนี้ โดยกำชับให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งปฏิบัติตามพระราชกำหนด 

ส่วนที่มีข้อกังวลว่าจะมีผู้ประกอบการรายใหญ่ได้รับประโยชน์ โดยการรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินไปปล่อยกู้ต่อในอัตราดอกเบี้ยสูง เพื่อกินดอกเบี้ยส่วนต่างนั้น ผู้ว่าฯ ธปท. ชี้แจงว่า หากพบกรณีดังกล่าว สามารถรายงานมายัง ธปท.เพื่อติดตามตรวจสอบ และลงโทษสถาบันการเงินนั้นๆ และเรียกคืนซอฟท์โลนฐานละเมิดเจตนารมณ์พระราชกำหนดฉบับนี้  .- สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง