BIG STORY : ทดสอบความพร้อมเรียนออนไลน์วันแรก

กทม. 18 พ.ค. – วันนี้กระทรวงศึกษาธิการทดสอบระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่านระบบของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมครั้งแรก ยอมรับวันแรกระบบไม่เสถียร 100% พร้อมหาแนวทางแก้ไข 


วันนี้เป็นวันแรกที่น้องคุณและน้องเทอ นักเรียนชั้น ป.2 และอนุบาล 3 โรงเรียนวัดบางไกรนอก ได้ทดลองเรียนระบบออนไลน์ผ่านการรับสัญญาณของ DLTV หรือการศึกษาผ่านทางไกลที่บ้าน โดยมีคุณแม่คอยนั่งให้คำปรึกษาเกือบตลอดเวลา ปัญหาแรกที่พบ คือ 17 ช่องสัญญาณ เลขช่องไม่ตรงกับที่กระทรวงศึกษาแจ้ง ต้องนั่งไล่กดทีละช่องเอาเอง ยอมรับเป็นห่วงลูกเล็กที่ต้องมานั่งเรียนผ่านจอทีวีและโน้ตบุ๊กเป็นเวลานาน ชั้นอนุบาลเรียนตั้งแต่ 08.30-11.00 น. ส่วนประถมเรียน 08.30-14.30 น. รวม 5 วิชา วิชาละไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาที บางครั้งแม่ต้องขายของ ไปจ่ายตลาด ปล่อยให้ลูกนั่งเรียนคนเดียว ยังโชคดีที่บ้านมีอุปกรณ์รองรับไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่ แต่มีค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น 


ก่อนเริ่มทดสอบระบบเรียนออนไลน์เต็มรูปแบบวันนี้ โรงเรียนวัดบางไกรนอกส่งครูประจำชั้นลงไปสำรวจความพร้อมของแต่ละบ้านตั้งแต่เดือน เม.ย. พบมีนักเรียนเพียง 2 คน จาก 185 คน ที่บ้านไม่มีทีวีและมือถือในการเรียนออนไลน์ ทางโรงเรียนจึงประสานใช้บ้านของผู้ใหญ่บ้านจัดการเรียนการสอนให้ด็กทั้งสองคน ส่วนนักเรียนที่มีความพร้อมเรียนออนไลน์ ครูแต่ละชั้นจะคอยส่งรายละเอียด ทั้งตารางเรียน หมายเลขช่องของแต่ละระดับชั้น ให้ผู้ปกครองผ่านไลน์กลุ่มตลอดทั้งวัน เพื่อป้องกันความสับสน และไม่บังคับว่าจะต้องเรียนสด หากผู้ปกครองมีเวลาค่อยพาลูกหลานเรียนย้อนหลังผ่านเว็บไซต์ของ DLTV เพียงแต่ต้องทำแบบฝึกหัดส่งครูทุกสัปดาห์เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้เรียนจริง  


ด้านโรงเรียนราชวินิต ยอมรับเรียนออนไลน์วันแรกค่อนข้างน่าพอใจ ที่นี่เรียนผ่านระบบของ DLTV ควบคู่ระบบออนไลน์ที่โรงเรียนจัดทำขึ้นผ่าน Google Classrooms ซึ่งสามารถตอบโต้กันระหว่างครูกับนักเรียนเสมือนเรียนในห้องเรียนจริง

สพฐ.ย้ำว่าจากการลงพื้นที่สำรวจการทดสอบระบบวันแรก ยังมีปัญหาขัดข้องของระบบส่งสัญญาณอาจไม่สมบูรณ์ 100% และไม่อยากให้ผู้ปกครองต้องไปเสียเงินเสียทองซื้อมือถือ ทีวี ใหม่ หากไม่พร้อมให้แจ้งมาที่โรงเรียนได้เลย

การเรียนการสอนออนไลน์ระหว่างนี้จนถึง 30 มิ.ย. เป็นเพียงการทดสอบระบบ ไม่ใช่การเรียนเต็มรูปแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะประเมินอย่างต่อเนื่องว่ามีส่วนใดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ก่อนเปิดเทอมเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ก.ค.นี้ หากสถานการณ์คลี่คลาย อาจสามารถจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ . – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้ห้องพักคอนโดฯ หรูกลางเมืองพัทยา

เพลิงไหม้คอนโดมิเนียมหรูกลางเมืองพัทยา จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ระดมรถน้ำควบคุมเพลิงได้ทัน ทำให้ไฟไม่ลุกลามห้องข้างเคียง

จับ “ใบเฟิร์น” อินฟลูฯสาวชื่อดัง โพสต์ชวนเล่นพนันออนไลน์

ตำรวจไซเบอร์ รวบ “ใบเฟิร์น กุลธาดา” อินฟลูฯ สาวแนวเซ็กซี่ ผู้ติดตามหลักล้าน แปะลิงก์เว็บพนันออนไลน์ เจ้าตัวยอมรับ ทำมาแล้ว 2-3 เดือน

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือและภาคอีสาน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง

คุมตัวสาวใหญ่โหดฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์ทำแผนฯ

ตร. คุมตัวสาวใหญ่โหด ลวงเพื่อนฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์ ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ เจ้าตัวสำนึกผิด ฝากขอโทษญาติผู้เสียชีวิต ยอมรับทำเพราะติดหนี้พนันออนไลน์

Drone video captures severe flooding caused by super typhoon Man-Yi in the Philippines

ฟิลิปปินส์น้ำท่วมหนัก หลังไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” ถล่ม

มะนิลา 18 พ.ย. – ฟิลิปปินส์เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ หลังจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ (Man-yi) พัดถล่มเกาะลูซอน ช่วงสุดสัปดาห์ เป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 6 ในรอบ 1 เดือน ไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดคลื่นสูง 7 เมตรบริเวณริมชายฝั่ง ส่งผลกระทบประชากรกว่า 760,000 คน และทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดนูเอวาเอซีฮา ทางตอนกลางของเกาะลูซอน ที่มีน้ำท่วมสูงเฉลี่ยเกือบ 1 เมตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดดินถล่มและสาธารณูปโภคพังเสียหายมากมาย ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนต้องอพยพไปอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ พายุหม่านหยี่เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 6 ที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ในช่วง 1 เดือน ทั่วทั้งประเทศต้องตื่นตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติด้วยมาตรการต่าง ๆ.-812(814).-สำนักข่าวไทย