กมธ.พัฒนาสังคมฯ เร่งช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง จากผลกระทบโควิด

กรุงเทพฯ 29 เม.ย.-กมธ.การพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 โดยเฉพาะคนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อน และชุมชนแออัดใน กทม.-ปริมณฑล ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการดูแลขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง พร้อมเสนอป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในจุดที่ประชาชนรวมตัวกันมาก


นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีนครรังสิต นายกเทศมนตรีเมืองปทุมธานี นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร และนายกเทศมนตรีเมืองสมุทรสงคราม เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไร้ที่พึ่ง คนเร่ร่อน และคนในชุมชนแออัดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิการดูแลขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง

โดยที่ประชุมฯ พบว่าภาพรวมของปัญหา แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ  1.ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุ ที่ยังไม่ชัดเจน  ซึ่งเห็นว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรปรับปรุงข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว เพื่อประสานงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะผู้ปฏิบัติ ให้สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ 


2.การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการดำเนินมาตรการและตรวจสอบการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ ที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน  3.การจัดการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ ที่พบว่าครูส่วนใหญ่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ซึ่งรัฐบาลควรจัดทำข้อมูลและให้ความสำคัญเรื่องการจัดการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ให้แก่นักเรียนในทุกระดับให้ชัดเจน  และ 4.ความชัดเจนของข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติตัวในเรื่องต่าง ๆ แก่ประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น รัฐบาลควรสื่อสาร หรือแถลงการณ์ในทุกเรื่องให้ชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน นำไปสู่การดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังได้มีข้อเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเต็มที่ โดยประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ควบคู่ไปกับสงเคราะห์ประชาชนในพื้นที่ ทั้งในกรณีที่ดำเนินการเองและกรณีที่หน่วยงานอื่นให้ความช่วยเหลือ โดยอาจทำในรูปแบบของช่องทางการตั้งจุดแบ่งปัน เป็นต้น นอกจากนี้ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันการแพร่ระบาดในจุดที่มีประชาชนรวมตัวกันจำนวนมาก เช่น ธนาคาร ตลาด รวมถึงตระหนักถึงการให้ความช่วยเหลือในกลุ่มบุคคลเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง ให้ดีที่สุด

ส่วนการช่วยเหลือผู้ตกงาน ที่ประชุมฯ เสนอแนะว่าอาจใช้มาตรการในการจ้างบุคคล หรือกลุ่มวัยรุ่นในการช่วยปฏิบัติภารกิจ เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าว ถือเป็นการช่วยเหลือคนตกงานอีกทางหนึ่ง หรืออาจจัดทำมาตรการเสริม โดยการมอบงินยังชีพให้แก่กลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นการเยียวยาบุคคลดังกล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ตึกสตง. ถล่ม

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ตึกสตง. ถล่ม เพราะปฏิบัติหน้าที่ครบ 10 วันแล้ว เป็นปกติของการทำงาน หากปฏิบัติภารกิจต่ออาจจะทำให้บาดเจ็บได้ และการกู้ภัยที่เหลือตอนนี้จำเป็นต้องต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เท่านั้น