คณะที่ปรึกษาฯ เสนอนายกฯ เคาะมาตรการช่วยเหลือธุรกิจ

สภาพัฒน์ 20 เม.ย. – คณะที่ปรึกษาฯ เสนอมาตรการช่วยเหลือด้านธุรกิจ ยกเว้นภาษีเอสเอ็มอี 3 ปี ลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 1 ช่วง 6 เดือน เลื่อนเก็บภาษีที่ดินฯ 1 ปี  พร้อมพิจารณารายจังหวัดพื้นที่สีเขียวทดลองเปิดกิจการ 2 เดือน เสนอชดเชยเกษตรกร 8-9 ล้านครัวเรือน 5 พันบาท เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งกองทุนร่วม 5 หมื่นล้านบาท ฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร 



นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 2  เพื่อข้อสรุปจากคณะทำงาน 5 กลุ่ม โดยมีหน่วยงานหลายฝ่ายเข้าร่วมประชุม เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อเสนอมาตรการทางเศรษฐกิจให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาวันนี้อย่างเร่งด่วน ทั้งการผ่อนปรนเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลนท์) ให้กับภาคเอกชน เอสเอ็มอี การพิจารณากลับมาเปิดธุรกิจของสถานประกอบการในพื้นที่สีเขียวหรือมีความเสี่ยงต่ำ แนวทางช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน การวางแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งมาตรการระยะสั้น เริ่มนำมาใช้ทันที และระยะยาว ซึ่งต้องหารือกับหลายหน่วยงานเพิ่มเติม 


นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. เปิดเผยว่า คณะทำงานได้เสนอมาตรการหลายด้าน โดยเฉพาะกลุ่มช่วยเหลือเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มสำคัญและประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย 1. มาตรการด้านประกันสังคม เสนอลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างจากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 1 เป็นเวลา 180 วัน  2.มาตรการทางภาษี เสนอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกับเอสเอ็มอี 3 ปี (ปี 2563-2565)  มีเงื่อนไขต้องเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว การยื่นแบบภาษีผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เพราะคาดว่าช่วง 3 ปี เอสเอ็มอีส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาขาดทุน  และการเปิดให้เอกชนนำค่าใช้จ่ายค่าป้องกันปัญหาโควิดนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า การลดค่าเช่าแผง ร้านเช่า หักภาษีได้ 3 เท่า การเลื่อนจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไป 1 ปี การลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 0.01  

3.มาตรการด้านสาธารณูปโภค ขอเลื่อนจ่ายค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ออกไป 6 เดือน และขอให้ลดราคาลงอีกร้อยละ 5 เพราะช่วงประชาชนอยู่บ้านค่าบริการสาธารณูปโภคสูงมาก 4.การอนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมง ในอัตรา 40-41 บาท จ้างขั้นต่ำ 4-8 ชั่วโมง 5.การผ่อนผันต่อใบอนุญาตแรงงานต่างชาติออกไป 6 เดือน  6.การช่วยเหลือแรงงานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท  รัฐจ่ายชดเชยให้ร้อยละ 50 บริษัทเอกชนจ่ายร้อยละ 25 ของค่าจ้าง 7.กรณีบริษัทที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ขอให้รัฐชดเชยการเลิกจ้างพนักงานระยะเวลา 3 เดือน และให้นำเงินบริจาคแก้ปัญหาโควิด-19 เต็มจำนวนร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อจูงใจให้เอกชนร่วมบริจาคป้องกันปัญหาโควิด-19 กับวงการแพทย์ 


นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า  หลังจาก พ.ร.ก.เงินกู้ มีผลบังคับใช้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงนำเงินออกมาปล่อยซอฟท์โลน วงเงิน 500,000 ล้านบาท เพื่อให้แบงก์ปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 เป็นเวลา 2 ปี ส่วนช่วง 6 เดือนแรกไม่ต้องชำระหนี้ทั้งต้นและดอกเบี้ย สำหรับภาคธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้สถาบันการเงินกระจายวงเงินให้ลูกหนี้ทุกระดับของเอสเอ็มอีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กระจายวงเงินครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และการให้วงเงิน ไม่จำกัดเฉพาะลูกหนี้ชั้นดีของสถาบันการเงินเท่านั้น  ผ่อนปรนเงื่อนไขและแนวทางการพิจารณาวงเงินสินเชื่อซอฟท์โลนให้กับผู้ประกอบการของ ธปท.กระจายไปถึงผู้ประกอบการรายย่อย โดยไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม เพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันส่วนสูญเสียจากเดิมแก่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้เสนอมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ได้แก่ มาตรการในการปรับพฤติกรรมของประชาชน โดยกำหนดแนวทางการปฏิบัติของประชาชนและสถานที่ให้บริการ การเปิดดำเนินธุรกิจต้องดูตามความเสี่ยงของสถานประกอบการ และพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เช่น สถานประกอบการมีความเสี่ยงต่ำอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำอาจพิจารณาเปิดให้บริการได้ตามมาตรการที่กำหนด ขณะที่สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงและอยู่ในจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่พิจารณาเปิดให้บริการ ด้วยการคัดเลือกมาทดลอง 2-3 จังหวัด ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยผ่านความเห็นชอบจากสาธารณสุข จากนั้นค่อยขยายไปยังจังหวัดสีเขียว-เหลือง ช่วงเวลา 1 เดือน หากพื้นที่ใดมีความเสี่ยงสูงสีแดง คงยังไม่ได้รับการพิจารณา เช่น กทม. และจังหวัดใกล้เคียง โดยต้องมีกระบวนการอนุญาตและติดตาม เช่น การลงทะเบียนสำหรับสถานประกอบการ การติดตามตรวจสอบโดยภาครัฐระดับท้องถิ่นและจังหวัด การรายงานของภาคประชาชนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ภาครัฐและท้องถิ่นต้องจัดทำแผนการสื่อสารไปสู่ประชาชนและสถานประกอบการให้รับทราบถึงข้อปฏิบัติอย่างชัดเจน คณะทำงานร่วมในการดำเนินการ ประกอบด้วย ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคสังคมและวิชาการ เพื่อหารือรายละเอียดกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข

นายวีระ วีระกุล รองประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) เปิดเผยว่า  ข้อเสนอมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล (Digital Solution) ได้แก่ ควบคุม ป้องกัน และรักษา เช่น การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ความต่อเนื่องธุรกิจ เช่น แก้กฎหมายเพื่อรองรับการจัด E-Gov Digital ID การจ้างงานและพัฒนาคน มาตรการสนับสนุนผู้จนการศึกษาใหม่ คนว่างงาน และรักษาการจ้างงานในปัจจุบัน เพื่อเปิดให้คนรุ่นใหม่มาฝึกอาชีพในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล หลังเกิดปัญหาไวรัสโควิด  ความมั่นใจตลาดเงินและทุน เช่น การเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ และการช่วยเหลือ Digital Startup, SME เศรษฐกิจใหม่ เช่น Smart farming และ E-commerce โครงสร้างขับเคลื่อนยามวิกฤติ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างการขับเคลื่อนพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงการลงนามลายเซ็นทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะช่วงนี้ภาคธุรกิจหันมาใช้งานออนไลน์มากขึ้น เพื่องานของทุกหน่วยงานเดินทางได้ในช่วงโควิด-19 

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เสนอมาตรการเพื่อภาคเกษตร ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้น ได้แก่ การเยียวยาให้กับเกษตรกร ครัวเรือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน การพักหนี้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับทางราชการ ระยะเวลา 1 ปี การปรับโครงสร้างหนี้และขยายเวลาชำระหนี้จากการเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร การจัดให้มีช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ การสนับสนุนและจัดระบบการขนส่งผลผลิตการเกษตร การส่งออกผ่านพรหมแดนประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ Big Data ในการติดตามสถานการณ์ภาคเกษตร นอกจากนี้ ยังเสนอให้ดึงไปรษณีไทย์ช่วยขนส่งสินค้าราคาถูก หรือลดราคาร้อยละ 50  เพื่อส่งสินค้าเกษตรแต่มีน้ำหนักกระจายไปทั่วประเทศ

สำหรับมาตรการระยาว ต้องหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกครั้ง ได้แก่ การปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ่านกองทุนร่วมทุนเกษตรกร 50,000 ล้านบาท ด้วยการดึงธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กลุ่มสหกรณ์ระดมทุน เพื่อเติมทุนให้รายย่อย   การพัฒนานักธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตผ่านกลไกการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เพราะต้องใช้โอกาสนี้พัฒนาลูกหลานที่เดินทางกลับไปอยู่บ้านช่วงโควิด-19 มาพัฒนาอาชีพเกษตรกร.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

จับนายอำเภอเหนือคลอง เรียกรับเงินผู้รับเหมา แลกจบงาน

ตำรวจแถลงผลปฏิบัติการ “ไม่จ่าย ไม่จบ” จับนายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ปกครอง เรียกรับเงินใต้โต๊ะบริษัทรับเหมา 50,000 บาท แลกจบงาน

นายกฯ เผยไม่มีคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุไฟป่าแอลเอ

นายกฯ เผย ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากเหตุไฟป่าที่แอลเอ มีเพียงร้านอาหารไทยที่ได้รับความเสียหาย สั่ง กงสุลเปิดศูนย์ช่วยเหลือคนไทย