กสศ.ผนึก ยูเนสโก สร้างเครือข่ายนานาชาติด้านความเสมอภาคทางการศึกษา

กรุงเทพฯ20 ก.พ..-กสศ.ผนึก ยูเนสโก จับมือ 5 ประเทศชั้นนำ สร้างเครือข่ายนานาชาติด้านความเสมอภาคทางการศึกษา ชี้ จัดสรรงบประมาณช่วยเด็กด้อยโอกาส ต้องใช้ข้อมูลรายคน และเข้าใจความแตกต่างของเด็ก เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด  


กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ร่วมกับ ยูเนสโก ยูนิเซฟ และหน่วยงานด้านความเสมอภาคทางการศึกษาจากหลายประเทศ เช่น ฟินแลนด์, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้   จัดประชุมเครือข่ายองค์กรนานาชาติด้านความเสมอภาคทางทางการศึกษา หรือ The Equitable Education Association : A Kick-off Meeting โดยตัวแทนจากประเทศต่างๆได้นำเสนอความก้าวหน้าด้านการลดความเหลื่อมล้ำและเดินหน้าร่วมเป็นเครือข่ายนานาชาติด้านความเสมอภาคทางการศึกษา


นายอิจิโร่ มิยาซาวา  ผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากยูเนสโก กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายองค์กรนานาชาติด้านความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกันได้อย่างตรงจุด  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละประเทศ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน เราได้เห็นจุดแข็งของหลายๆประเทศ ที่โด่ดเด่นที่สุดคือ ทุกคนต้องการสนับสนุนการศึกษาอย่างเสมอภาคให้เกิดขึ้น ในขณะที่จุดอ่อนก็คือ อุปสรรคในเชิงปฏิบัติที่มีปัญหาอยู่บ้าง ทั้งนี้ขอชื่นชมประเทศไทยที่จัดตั้ง  กสศ. ขึ้นเพื่อลงมือแก้ปัญหานี้ นับเป็นตัวอย่างที่ดีที่อยากจะให้โลกได้เห็น

นายอิจิโร่ กล่าวว่า ปัญหาของเด็กๆทั่วโลกที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา โดยมีเด็กและเยาวชนกว่า 263 ล้านคนทั่วโลกที่ออกจากระบบการศึกษา  และเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข แม้รัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้ง ยูนิเซฟ ยูเนสโก ได้พยายามอย่างมากที่จะแก้ไขปัญหานี้ แต่ก็ยังมีเด็กอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้นพวกเราต้องร่วมกันจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างความเสมอภาค เพื่อให้เด็กๆได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น    และมุ่งหวังให้เติบโตอย่างชาญฉลาด มีคุณภาพทั้งทางความคิด จิตวิญญาณผ่านการศึกษา


ด้านน.ส.ธันว์ธิดา  วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม นวัตกรรมและทุนการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า  กสศ. ยูเนสโก้ รวมถึงเครือข่ายจาก 5 ประเทศ ได้วางภารกิจร่วมกันไว้ใน 2 ประเด็น  คือ 1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการทำงาน นวัตกรรม และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมกันทำงานด้านความเสมอภาคทางการศึกษาระหว่างประเทศ 2. กสศ. ยูเนสโก รวมถึงเครือข่ายนานาชาติ มุ่งสนับสนุนทางวิชาการและให้คำปรึกษาให้แก่ประเทศที่สนใจแต่ยังไม่มีกลไกการทำงานโดยตรง   ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ลงนามตกลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ร่วมกับ193 ประเทศ ซึ่งประเด็นเรื่องการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นหนึ่งในเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ การหารือครั้งนี้จึงเป็นโจทย์ร่วมกันที่ทุกฝ่ายต้องทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยการนำโมเดลและจุดแข็งของ 5 ประเทศมาปรับใช้กับไทย เช่น ฟินแลนด์ มีจุดแข็งด้านการสนับสนุนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเด็กที่เรียนไม่ทัน  ผ่านการมีระบบดูแลเด็กรายบุคคล  ส่วนนิวซีแลนด์เน้นสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย มีการจัดสอนเสริมให้แก่เด็กปฐมวัยจากครอบครัวที่ยากจนให้ได้รับการพัฒนาที่ดีและมีการจัดสรรงบประมาณส่วนเพิ่มเติม (Top-up) ขณะที่อเมริกาใช้วิธีการพัฒนาโรงเรียนของชุมชน (Promise Neighborhood School) ในย่านที่มีคนยากจน โดยผสานความร่วมมือทั้งหน่วยจัดการศึกษาและพ่อแม่ ดูแลตั้งแต่แรกเกิดจนถึงมีงานทำ  โดย วันที่ 10-12 กรกฎาคม 2563 นี้ กสศ. ยูเนสโก ยูนิเซฟ  เครือข่ายองค์กรนานาชาติด้านความเสมอภาคทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวง พ.ม. จะร่วมกันจัดประชุมหน่วยงานที่ขับเคลื่อนด้านความเสมอภาคทางการศึกษาในระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้นวัตกรรมของไทยและต่างประเทศได้มีโอกาสขยายบทเรียนไปสู่ประเทศอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนประเด็นการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์แก่เด็กทั่วโลก

 นายเดเมียน เอ็ดเวิร์ด ผู้ช่วยรองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายระบบการศึกษา กระทรวงศึกษา นิวซีแลนด์ กล่าวว่า การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาควรเพิ่มงบประมาณให้แก่ระบบการศึกษาเพื่อสนับสนุนเด็กเรื่องความเสมอภาค โดยกุญแจสำคัญคือต้องเข้าใจข้อมูลเรื่องราวของเด็กแต่ละคน เพื่อทราบว่าควรจะเพิ่มงบประมาณไปที่จุดไหนและใช้อย่างไร เจาะลึกลงไปสู่ระดับครัวเรือนของเด็กกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเด็กแต่ละคนได้อย่างเหมาะสมที่สุด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร