GIT แนะระบบติดตามแหล่งที่มาของพลอยสี

กรุงเทพฯ 13 ก.พ. –  GIT แนะเอกชนนำ Blockchain ติดตามแหล่งที่มาของพลอยสีไทย เพื่อกระตุ้นผู้ประกอบการไทยได้รับทราบถึงข้อมูล  


นางดวงกมล เจียมบุตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนโยบายความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับจัดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่หรือประชากรในกลุ่ม Millennial ซึ่งจัดเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักและใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ หากแต่กระบวนการสร้างความโปร่งใสเป็นสิ่งที่มีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมมามากกว่าทศวรรษ เริ่มต้นจากอุตสาหกรรมเพชรที่ประสบปัญหาจากเพชรแห่งความขัดแย้ง หรือ “conflict diamonds” ส่งผลให้มีการจัดตั้งกรอบความตกลง Kimberley Process Certificate Scheme (KPCS) ในปี 2546 เพื่อใช้แสดงความโปร่งใสของแหล่งที่มาของเพชรที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอุตสาหกรรมและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและส่วนประกอบของเครื่องประดับ เพื่อให้แน่ใจถึงการดำเนินการทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรม 

อย่างไรก็ตาม ระบบที่มีการประยุกต์ใช้ในปัจจุบันมีทั้งกำหนดโดย Responsible Jewelry Council หรือ RJC และที่มาจากอุตสาหกรรมเพชรและโลหะมีค่า ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลสำแดงที่มาของวัตถุดิบตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งนี้ ในส่วนของอุตสาหกรรมพลอยสีมีความท้าทายและยากลำบากในการระบุที่มาของวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 มาจากการทำเหมืองแร่แบบดั้งเดิมหรือเหมืองขนาดเล็ก ทำให้ไม่สามารถระบุ แสดงแห่งที่มาที่ชัดเจนได้


ทั้งนี้ ทางสถาบันฯ เตรียมจัดการสัมมนา “ความเป็นไปได้ในการนำ Blockchain มาใช้สำหรับระบบติดตามแหล่งที่มาของพลอยสีไทย” ภายใต้โครงการศึกษาระบบการสำแดงและติดตามแหล่งที่มาของพลอยสี เป็นโครงการหนึ่งที่สถาบันได้จัดทำขึ้นมุ่งเน้นตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยสถาบันได้ร่วมมือกับบริษัท โบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมมือกันหาคำตอบให้ประเด็นนี้อย่างจริงจัง 

“ระบบติดตามแหล่งที่มาของอัญมณีปัจจุบัน แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนการสร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาของอัญมณีและเครื่องประดับ ดังนั้น การตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ ผ่านใบรับรองของ GIT และเทคโนโลยี Blockchain ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อรองรับความท้าทายของการติดตามแหล่งที่มาของอัญมณีและเครื่องประดับในอุตสาหกรรม” นางดวงกมล กล่าว

นอกจากนี้ สถาบันยังกำหนดจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการแนะนำการใช้ระบบ Blockchain Traceability ในหัวข้อ “ความเป็นไปได้ในการนำ Blockchain มาใช้สำหรับระบบติดตามแหล่งที่มาของพลอยสีไทย” ภายในงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair 2020 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้ ตั้งแต่เวลา 9.30 – 16.30 น. ณ ห้องจูปิเตอร์ 7 อิมแพค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี ผู้สนใจจะได้ร่วมทำ Workshop เพื่อทดลองใช้ระบบติดตามแหล่งที่มาของพลอยสี เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนของระบบอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสมัครเข้าร่วมการสัมมนาได้ที่ 02 – 634 – 4999 ต่อ 640 หรือ bd@git.or.th ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.git.or.th ได้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พยาบาลถูกตบ

“สมศักดิ์” พร้อมช่วยคดี “พยาบาลสาว” ถูกญาติผู้ป่วยตบหน้า

“สมศักดิ์” รมว.สธ. พร้อมสนับสนุนหา “ทนายความ” ช่วยคดี “พยาบาลสาว” ถูกญาติผู้ป่วยตบหน้า บอกหากเจ้าตัวไม่ดำเนินคดี กระทรวงฯ พร้อมออกโรงแทน หวั่นเป็นเยี่ยงอย่าง

รพ.ระยอง ยันดำเนินคดีถึงที่สุดญาติคนไข้ตบพยาบาล

โรงพยาบาลระยอง แถลงปมญาติคนไข้ตบหน้าพยาบาล เผยหลังเกิดเหตุได้ดูแลอาการบาดเจ็บของพยาบาลผู้ประสบเหตุทันที ยืนยันดำเนินคดีถึงที่สุด

ข่าวแนะนำ

“หลิว จงอี” ถึงกลาโหม เสนอ 4 ข้อปราบแก๊งคอลฯ

“หลิว จงอี” ถึงกลาโหม เตรียมเสนอ 4 มาตรการปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ “บิ๊กอ้วน” คณะทูตจีนรอต้อนรับ ขณะเจ้าตัวสีหน้ายิ้มแย้ม ไม่ตอบสื่อ

สธ.ลั่นเอาผิดญาติคนไข้ตบพยาบาลให้ถึงที่สุด

ผอ.โรงพยาบาลระยอง เข้าพบผู้ช่วย รมว.สาธารณสุข ปมญาติคนไข้บุกตบพยาบาล สธ. ยืนยันต้องดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ด้านพยาบาลยังเครียด เยื่อบุแก้วหูอักเสบรุนแรง

รวบชาวจีนเช่าคอนโดพระราม 9 เปิดเว็บพนันออนไลน์

ตำรวจบุกจับ ชาวจีน 15 คน เช่าคอนโดยกชั้น ย่านพระราม 9 เปิดเป็นฐานปฏิบัติการเว็บพนันออนไลน์ พบเงินหมุนเวียนในบัญชีดิจิทัล กว่า 9 ล้านบาท