อีอีซี คึกคักลงทุนปี 62 กว่า 4.4 แสนล้าน จีนลงทุนสูงสุดแซงญี่ปุ่นครั้งแรก

กรุงเทพฯ 13 ม.ค. – “สมคิด” เผยยอดขอส่งเสริมลงทุนปี 62 กว่า 7.56 แสนล้านบาท อีอีซี กวาดเม็ดเงินลงทุนไป 59% ด้านจีนโหมลงทุนไฮสปีดดันยอด 2.6 แสนล้านแซงหน้าญี่ปุ่น พร้อมสั่งบีโอไอหารือคลังออกมาตรการกระตุ้นลงทุนช่วง 6 เดือน


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายแก่สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า บีโอไอได้รายงานสถานการณ์การลงทุนปี 2562 มีนักลงทุนยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,624 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 756,100 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 750,000 ล้านบาท

สําหรับคําขอรับส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี  506 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 444,880 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยจังหวัดระยองมีมูลค่าเงินลงทุนมากที่สุด ตามด้วยชลบุรีและฉะเชิงเทรา ตามลําดับ


ทั้งนี้ ยอดคําขอรับส่งเสริมการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 838 โครงการ มูลค่าเงิน ลงทุนรวม 286,520 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุนรวม 80,490 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เงินลงทุนรวม 74,000 ล้านบาท และอันดับ 3 ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เงินลงทุนรวม 40,100 ล้านบาท

นายสมคิด กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) ปี 2562 ประมาณ 500,000 ล้านบาท พบว่าปีนี้เป็นปีแรกที่จีนลงทุนสูงสุด 260,000 ล้านบาท มากกว่าญี่ปุ่นลงทุนมากที่สุดมาโดยตลอด ซึ่งปีที่ผ่านมามียอดลงทุนที่ระดับ 73,000 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรนด์) ในสัดส่วนถึง 100,000 ล้านบาท ถือเป็นเทรนด์ใหม่ที่จีนเริ่มออกมาลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น และมีแนวโน้มที่การลงทุนจากจีนยังเข้ามาต่อเนื่อง เพราะค่าแรงที่สูงขึ้น และสงครามการค้า

ทั้งนี้ นายสมคิดมองว่าในอนาคตโครงสร้างอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานปี 2563 ที่จะเพิ่มประเภทกิจการที่ยังไม่เคยได้รับการส่งเสริมเข้าไปและเพิ่มปรับสิทธิประโยชน์ เน้น 4 เรื่องหลัก คือ 1. กลุ่มท่องเที่ยวและบริการ 2. กลุ่มครีเอทีฟ อีโคโนมี 3.กลุ่ม BCG และ 4. กลุ่มเศรษฐกิจฐานราก สำหรับเป้าหมายยอดขอรับส่งเสริมปี 2563 จะรอให้คณะกรรมการบีโอไอ พิจารณาในการประชุมเดือนกุมภาพันธ์นี้


นอกจากนี้ นายสมคิดได้มอบหมายให้คณะกรรมการบีโอไอหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง เพื่อออกมาตรการกระตุ้นการลงทุนในช่วง 6 เดือนข้างหน้ารองรับช่วงจังหวะค่าเงินบาทแข็งค่า โดยเน้นไปที่ภาคเอกชนไทยและให้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบีโอไอด้วย

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า สําหรับปี 2563 คาดว่าการลงทุนยังมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากบีโอไอได้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนหลายด้าน เพื่อเร่งรัดการลงทุนโดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ผ่านมาตรการ Thailand Plus ที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี สําหรับโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2563 และมีการลงทุนจริงไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 รวมทั้งขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสําหรับวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ใช้อยู่เดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ ขนาดกลางและเล็ก ก่อนที่บีโอไอจะนําเสนอมาตรการ SMEs ที่ปรับปรุงใหม่ในการประชุมบอร์ดครั้งต่อไป

นอกจากนี้ บีโอไอยังได้ปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีโดยให้โครงการลงทุน ในทุกพื้นที่ในอีอีซีสามารถได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม (ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% 3 ปี หรือยกเว้น 2 ปี) ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมหรือไม่ หากโครงการรับนักศึกษาฝึกงานตามจํานวนขั้นต่ำที่กําหนด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนโครงการ ที่ตั้งในพื้นที่พิเศษ (เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรม ดิจิทัล (EECd) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา หรือ EECmd) รวมทั้งนิคมนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมอันเนื่องจากที่ตั้งอีกด้วย ทั้งนี้ มาตรการนี้ใช้สําหรับคําขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่ 2 มกราคม 2563 จนถึงสิ้นปี 2564 แต่หากตั้งโครงการ ในเขตส่งเสริมเพื่อกิจการพิเศษ ได้แก่ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) เขตส่งเสริม อุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) และศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา หรือ EECmd ผู้ประกอบการสามารถยื่นคําขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ไม่มี กําหนดระยะเวลาสิ้นสุด

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดการลงทุนในช่วงจังหวะที่เงินบาทแข็งค่า เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศ เช่น การเปลี่ยนหรือนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งจะให้บีโอไอหารือกับกรมสรรพากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมามาตรการกระตุ้นการลงทุนต่อไป . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง อีสานอุณหภูมิลด 2-4 องศาฯ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาฯ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า