fbpx

ของขวัญวันเด็ก “ขอรถสาธารณะปลอดภัย-ประหยัด”

กทม.9 ม.ค.-ภาคีเด็กและเยาวชน หนุนรัฐบาลเร่งสร้างความปลอดภัยทางถนน เผยเด็กไทยเสียชีวิตวันละ 9 ศพ ขณะที่ของขวัญวันเด็กแห่งชาติ “ต้องการรถสาธารณะปลอดภัยและประหยัด”


 

วันนี้(9ม.ค.) ที่ศูนย์จัดประชุม The Halls Bangkok สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.)ร่วมกับศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ)ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)แถลงข่าวเปิดผลสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชน หัวข้อ “วันเด็กปีนี้ขอของขวัญจากรัฐบาลลดการเจ็บตายบนท้องถนน”เผยตัวเลขเด็กและเยาวชนเสียชีวิตกว่าวันละ 9 ศพ และอาจมีเด็กและเยาวชนเข้าสู่ความพิการเฉลี่ยปีละกว่า 2,000 คน จากอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยมีนายเรวัต อารีรอบ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับข้อเสนอจากตัวแทนเด็กและเยาวชน 


นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.)กล่าวว่า สถานการณ์อุบัติเหตุในประเทศไทย เฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากปัจจัยปัญหาต่างๆโดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้ออำนวยต่อความจำเป็นในการเดินทางของเด็ก เยาวชน และประชาชน ในชีวิตประจำวัน เช่น การไปศึกษาเล่าเรียน หรือการไปทำงาน ส่งผลให้ต้องมีการใช้รถจักรยานยนต์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน ปี 2562 ระบุว่า “ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ สูงเป็นอันดับ1ของโลก” และยังสอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กและเยาวชนกลุ่มอายุ15-19 ปี บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่สวมหมวกนิรภัย โดยข้อมูลยังพบอีกด้วยว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 20 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 3,300 คนต่อปี หรือเฉลี่ย 9 คนต่อวัน 


“เด็กและเยาวชนที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงกว่า100คนจากอุบัติเหตุจะกลาย เป็นผู้พิการ 5 คน และทั้งปีจะมีเด็กและเยาวชนกว่า2,000 คน เป็นผู้พิการ ขณะที่จำนวนเด็กและเยาวชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทุก 100 ศพ กว่า 91 ศพ เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ จึงอยากร่วมขอของขวัญจากรัฐบาลในการเร่งรัดพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีคุณภาพ ปลอดภัย ราคาประหยัด เพื่อลดการเข้าถึงหรือใช้งานรถ จักรยานยนต์ และยังจำเป็นต้องสร้างความรู้และทักษะการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัยในสถานศึกษา ตลอดจนภาคเอกชนและผู้ประกอบการที่ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องเร่งรัดทำให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยอย่างสูงสุดกับผู้ใช้งาน เช่นการติดตั้งระบบป้องกันการเบรกจนล้อล็อคตาย (ABS) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานทุกคัน”  นพ.ธนะพงศ์ กล่าว

ขณะที่นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย(ยท.)กล่าวถึงข้อมูลจากศูนย์สำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนแห่งสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ Youth Poll โดยการสำรวจเมื่อเดือนธันวาคม 2562 จากกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนกว่า 420 คน ทั่วกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “วันเด็กปีนี้ขอของขวัญจากรัฐบาลลดการเจ็บตายบนท้องถนน” ระบุว่าใน1ปีที่ผ่านมามีเด็กและเยาวชนกว่า ร้อยละ 33 เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ในจำนวนนี้มีถึงร้อยละ5 เคยเกิดอุบัติเหตุมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี 

ส่วนสาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กและเยาวชน คือร้อยละ 59 ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่หรือซ้อนท้าย ร้อยละ 37 ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัย และร้อยละ 33 มีพฤติกรรมใช้ความเร็วเป็นประจำเกินกว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในเขตชุมชน ขณะที่ร้อยละ 49 บอกว่าความปลอดภัยบนท้องถนนของประเทศไทยน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และกว่าร้อยละ 16 บอกว่าไม่มีความปลอดภัยบนท้องถนนเลย 

“เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี2563 นี้หากเด็กและเยาวชนขอของขวัญจากรัฐบาลเรื่องความปลอดภัยทางถนนได้ ร้อยละ47 ขอรถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยและมีราคาประหยัดและร้อยละ 26 ขอมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวด และมาตรฐานของรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะระบบป้องกันการเบรกจนล้อล็อคตาย(ABS)กว่าร้อยละ 90 

ขอให้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในรถจักรยานยนต์ทุกคันโดยไม่มีการเพิ่มค่าใช้จ่าย” นายพชรพรรษ์ กล่าว

นายเรวัต อารีรอบ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หากทำให้จำนวนอุบัติเหตุลดลงอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลดีต่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในสถานพยาบาล ซึ่งจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ เพียงพอต่อความต้องการในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และยังจะช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐบาลได้เป็นจำนวนมาก อยากฝากถึงเด็ก เยาวชน และประชาชน ต้องร่วมมือกันสร้างวัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย เริ่มต้นจากตัวเองคือ ลดความเร็ว คาดเข็มขัดนิรภัย สวมหมวกนิรภัย และปฏิบัติตามกฎจราจร หากสามารถทำได้ เชื่อว่าจะสามารถลดอุบัติเหตุได้อย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลยินดีและรับปากที่จะนำข้อเสนอในวันนี้ไปขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย