นักวิชาการ ระบุ มาตรา1 ของรธน.เป็นไปตามที่วีรชน 14 ตุลา ใฝ่ฝันให้ไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว

อนุสรณ์สถาน 14 ต.ค.- นักวิชาการ ระบุ มาตรา 1 ของ รธน.เป็นไปตามที่วีรชน 14 ตุลา ใฝ่ฝันให้ไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว แบ่งแยกมิได้ ชี้ ยังมีการใช้อำนาจผูกขาดทางเศรษฐกิจ แนะประชาชนถ่วงดุล


นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในงาน 14 ตุลาประจำปี 2562 หัวข้อ “นิติรัฐและนิติธรรม กับระบอบประชาธิปไตยไทย” ว่า นับตั้งแต่ 14 ตุลา 2516 เป็นต้นมา แม้จะมีการรัฐประหารอยู่บ้าง แต่สิ่งที่วีรชน 14 ตุลา ใฝ่ฝันและแสวงหา เริ่มก่อรูปมากขึ้นทุกวัน เช่น รัฐธรรมนูญ 2560 ได้วางหลักการพื้นฐานสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ถือเป็นหลัการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือ มาตรา 1 ว่าด้วยประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ เป็นผลมาจากการที่พลเมืองจำนวนหนึ่งกอบกู้เอกราชจากการยึดครองของพม่า ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือของพลเมืองที่ต่อต้านอำนาจที่ครอบงำบ้านเมือง ทำให้เราเป็นราชอาณาจักรเดียวกันแบ่งแยกกันมิได้ และหลักการนี้เราก็ได้รักษาเอาไว้

นายกิตติศักดิ์  กล่าวว่า มาตรา 2 ว่าด้วยประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คือ พระมหากษัตริย์กับประชาชนเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ที่ประชาชนเชื่อว่าจะเป็นศูนย์รวมจิตใจ ตามหลักราชประชาสมาศัยที่ประชาชนและพระมหากษัตริย์มีส่วนร่วมกันในการเปลี่ยนแปลงและปกครองบ้านเมือง หรือ มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม ซึ่งในประเด็นของมาตรา 3 ที่เกี่ยวกับหลักนิติธรรมนั้น เป็นผลงานที่คนรุ่น 14 ตุลาได้ผลักดันขึ้นมา 


ทั้งนี้ การเกิดขึ้นของหลักนิติรัฐและนิติธรรม เป็นหลักการพื้นฐานที่ยืนยันว่าอำนาจการปกครองย่อมมิได้จำกัดตามกฎหมาย หลักการนี้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งการปกครองโดยกฎหมายเป็นสิ่งสูงสุดที่ทุกคนต้องเสมอภาคกัน และหลักการใช้อำนาจของผู้ปกครองย่อมมีได้เท่าที่กฎหมายรับรองไว้ทั้งกฎหมายที่เป็นและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 

นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการแสดงให้เห็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่มีขึ้นได้ในยามวิกฤติตามจารีตประเพณี อำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ว่านี้ ก็ต้องอาศัยครรลองตามจารีตประเพณีและหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งต้องปฏิบัติตามราชธรรม 4 ประการ เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดชั่วร้ายเกิดขึ้นในบ้านเมือง เราอาจยืนยันได้ว่าหลักนิติรัฐ นิติธรรมต้องเป็นไปในทางที่สอดคล้องกับการยอมรับของประชาชน โดยอำนาจจะมีได้ต่อเมื่อบุคคลจะใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง ซึ่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ทำให้ประชาชนเข้ามามีอำนาจมากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจออกกฎหมายจำกัด เพราะต้องเคารพหลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แต่การใช้อำนาจผูกขาดทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ และต้องให้ประชาชนเข้ามาถ่วงดุล ไม่ให้ทุนใหญ่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

เชิญชวนร่วมงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025”

“กำภู-รัชนีย์” พาทัวร์งาน “มหานคร คัลเลอร์ฟูล ปาร์ตี้ 2025” ณ ลานจอดรถ บมจ.อสมท พบปะผู้ประกาศ ดีเจ และอินฟลูเอนเซอร์ รวมไปถึงศิลปินที่จะมาร่วมสนุกในงาน “มหานคร คัลเลอร์ฟู ปาร์ตี้ 2025”

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

แม่คะนิ้งโผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดอุทยานฯ พรุ่งนี้

จังหวัดเลย อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ “แม่คะนิ้ง” โผล่ภูกระดึง เตรียมเปิดให้ท่องเที่ยวพรุ่งนี้ (23 ธ.ค.) หลังปิดมา 9 วัน จากเหตุช้างป่า