กรุงเทพฯ 31 ส.ค. – กรมทางหลวงเผยน้ำท่วม 12 จังหวัด รถผ่านไม่ได้ 7 แห่ง เฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย
กรมทางหลวงสรุปเหตุการณ์อุทกภัยจากพายุโพดุลวันที่ 31 สิงหาคม 2562 เวลา 12.00 น. โดยทางหลวงมีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ทั้งสิ้น 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์ อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร มุกดาหาร และอำนาจเจริญ ผ่านได้ 24 แห่ง ผ่านไม่ได้ 7 แห่ง
ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 21 บ้านโตก – มุ้งน้ำเต้า อ.กุมวาปี ช่วงกม.ที่ 216 ระดับน้ำสูง 20 ซม.ทางหลวงหมายเลข 21 บ้านโตก – มุ้งน้ำเต้า อ.กุมวาปี ช่วงกม.ที่ 236 ระดับน้ำสูง 15 ซม., จังหวัดแพร่ 1 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 1214 น้ำอ่าง – วังผาชัน อ.ทองแสนขัน ช่วงกม.ที่ 44 – 45 ระดับน้ำสูง 25 – 30 ซม. การจราจรผ่านได้ไม่สะดวก, จังหวัดพิจิตร 1 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 11 เขาทราย – สากเหล็ก อ.ทับคล้อ ช่วงกม.ที่ 135 -136 ระดับน้ำสูง 30 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้, จังหวัดอุตรดิตถ์ 1 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 129 ทางเลี่ยงเมืองแพร่ อ.เมืองแพร่ ช่วงกม.ที่ 8 – 9 ระดับน้ำสูง 15 ซม., จังหวัดอุดรธานี 1 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 2 น้ำฆ้อง – อุดรธานี อ.กุมวาปี ช่วงกม.ที่ 420 ระดับน้ำสูง 15 ซม.
จังหวัดขอนแก่น 5 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 2 พล – บ้านไผ่ อ.พล ช่วงกม.ที่ 281 -283 ระดับน้ำสูง 60 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ในช่องทางซ้าย เบี่ยงการจราจรให้วิ่งสวนกันในช่องทางขวา ทางหลวงหมายเลข 2 พล – บ้านไผ่ อ.พล ช่วงกม.ที่ 293 -294 ระดับน้ำสูง 100 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ทางหลวงหมายเลข 23 บ้านไผ่ – ไพศาล ช่วงกม.ที่ 1 – 4 ระดับน้ำสูง 70 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ทางหลวงหมายเลข 229 บ้านไผ่ – มัญจาคีรี อ.บ้านไผ่ ช่วงกม.ที่ 0 – 1 ระดับน้ำสูง 45 ซม. ทางหลวงหมายเลข 2297 บ้านลาน – เปือยน้อย อ.เปือยน้อย ช่วงกม.ที่ 1 น้ำกัดเซาะทางขาด การจราจรไม่สามารถผ่านได้
จังหวัดกาฬสินธุ์ 3 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 12 ห้วยสีดา – ปากทางเขื่อนลำปาว อ.ยางตลาด ช่วงกม.ที่ 606 – 607 ระดับน้ำสูง 10 ซม. ทางหลวงหมายเลข 12 หนองผ้าอ้อม – สี่แยกสมเด็จ อ.สมเด็จ ช่วงกม.ที่ 665 ระดับน้ำสูง 20 ซม. ทางหลวงหมายเลข 227 กาฬสินธุ์ – แยกดงแหลม อ.เมืองกาฬสินธุ์ ช่วงกม.ที่ 4 – 5 ระดับน้ำสูง 50 ซม.
จังหวัดร้อยเอ็ด 8 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 23 ห้วยแอ่ง – ร้อยเอ็ด อ.เมืองร้อยเอ็ด ช่วงกม.ที่ 103 – 104 ระดับน้ำสูง 25 ซม. ทางหลวงหมายเข 214 ร้อยเอ็ด – จตุรพักตรพิมาน อ.จตุรพักตรพิมาน ช่วงกม.ที่ 62 – 63 ระดับ น้ำสูง 15 – 20 ซม. ทางหลวงหมายเลข 214 จตุรพักตรพิมาน – ห้วยพลับพลา อ.จตุรพักตรพิมาน ช่วงกม.ที่ 74 – 75 ระดับน้ำสูง 15 ซม. ทางหลวงหมายเลข 215 ร้อยเอ็ด – สุวรรณภูมิ อ.สุวรรณภูมิ ช่วงกม.ที่ 1 – 2 ระดับน้ำสูง 13 ซม. ทางหลวงหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด อ.เมือง ช่วงกม.ที่ 4 – 5 ระดับน้ำสูง 10 ซม. ทางหลวงหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด อ.เมือง ช่วงกม.ที่ 15 – 16 ระดับน้ำสูง 45 ซม. ทางหลวงหมายเลข 232 ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด อ.เมือง ช่วงกม.ที่ 25 – 66 ระดับน้ำสูง 40 ซม. ทางหลวงหมายเลข 2044 ร้อยเอ็ด – หนองดง อ.โพนทอง ช่วงกม.ที่ 0 – 1 ระดับน้ำสูง 40 ซม. จังหวัดมหาสารคาม 4 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 23 ไพศาล – บรบือ – มหาสารคาม อ.กุดรัง ช่วงกม.ที่ 30 – 31 ระดับน้ำสูง 5 ซม. ช่วงกม.ที่ 52 – 54 ระดับน้ำสูง 10 – 40 ซม. ทางหลวงหมายเลข 213 มหาสารคาม – หนองขอน อ.เมืองมหาสารคาม ช่วงกม.ที่ 5 ระดับน้ำสูง 10 ซม. (อุโมงค์ทางลอด) ช่วงกม.ที่ 8 ระดับน้ำสูง 30 ซม. ช่วงกม.ที่ 20 ระดับน้ำสูง 20 ซม. ทางหลวงหมายเลข 219 ยางสีสุราช – พยัคฆภูมิพิสัย อ.พยัคฆภูมิพิสัย ช่วงกม.ที่ 49 ระดับน้ำสูง 15 ซม. ทางหลวงหมายเลข 219 ยางสีสุราช – พยัคฆภูมิพิสัย อ.พยัคฆภูมิพิสัย ช่วงกม.ที่ 71 ระดับน้ำสูง 20 ซม.
จังหวัดยโสธร 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 2259 เสลภูมิ – คำโพนสูง อ.เสลภูมิ ช่วงกม.ที่ 9 ระดับน้ำสูง 10 ซม. จังหวัดมุกดาหาร 3 แห่ง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 212 นาโพธิ์ – ห้วยสะแบก อ.นิคมคำสร้อย ช่วงกม.ที่ 444 ระดับน้ำสูง 90 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงถนนทางหลวงชนบท สาย โคกหินกอง และใช้ทางหลวงหมายเลข 2370 ไปหนองสูงแทน ทางหลวงหมายเลข 212 ย้อมพัฒนา – นาโพธิ์ อ.เมืองมุกดาหาร ช่วงกม.ที่ 414 – 416 ระดับน้ำสูง 30 ซม. ทางหลวงหมายเลข 2287 ดงหลวง – สานแว้ อ.ดงหลวง ช่วงกม.ที่ 22 ระดับน้ำสูง 50 ซม. และจังหวัดอำนาจเจริญ 1 แห่ง ทางหลวงหมายเลข 212 ห้วยสะแบก – อำนาจเจริญ ช่วงกม.ที่ 510 ระดับน้ำสูง 60 ซม.การจราจรไม่สามารถผ่านได้(ซ้ายทาง)
ทั้งนี้ กรมทางหลวง ได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทางบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด หากต้องการ
สอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง และหมวดทางหลวงในพื้นที่ และ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
ด้านศูนย์อำนวยการน้ำเฉพาะกิจ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ 30 สิงหาคม ว่า พายุโซนร้อนโพดุลปกคลุมบริเวณ จ.นครพนม จ.สกลนคร อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นเมื่อเวลา 13.00 น. โดยมีการเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกและกำลังเคลื่อนผ่านบริเวณ จ.อุดรธานี ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์วันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ทั้งนี้ มีฝนตกหนักมากบริเวณ อ.เมือง (325) อ.ธวัชบุรี (298) จ.ร้อยเอ็ด , อ.เลิงนกทา (256) อ.เมือง (144) อ.ไทยเจริญ (158) อ.กุดชุม (136) จ.ยโสธร , อ.เมือง (222) จ.มุกดาหาร , อ.กมลาไสย (199) อ.นาคู (134) อ.นามน (133) จ.กาฬสินธุ์ ,อ.บรบือ (189) อ.โกสุมพิสัย (183) อ.นาเชือก (177) จ.มหาสารคาม , อ.สิรินธร (160) จ.อุบลราชธานี / อ.พล (142) จ.ขอนแก่น / อ.คง (141) จ.นครราชสีมา
ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่สามารถรองรับน้ำฝนที่ตกได้ทุกแห่ง ยกเว้น หนองหาร จ.สกลนคร มีความเสี่ยงน้ำเอ่อล้นเข้าท่วม อ.เมือง จ.สกลนคร ปัจจุบันมีความจุ 95% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะนี้ได้เร่งระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำสุรัสวดีเต็มศักยภาพการระบายน้ำ ส่วนแหล่งน้ำขนาดกลางตามแนวที่พายุดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวผ่านที่เสี่ยงน้ำล้นแหล่งน้ำรวม 30 แห่ง ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด 1 แห่ง จ.ยโสธร 1 แห่ง จ.มุกดาหาร 9 แห่ง จ.กาฬสินธุ์ 9 แห่ง จ.นครราชสีมา 1 แห่ง และ จ.อุบลราชธานี 9 แห่ง
แม่น้ำสายหลัก จากปริมาณฝนที่ตกหนักเนื่องจากอิทธิพลพายุโพดุลมีลำน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเสี่ยงน้ำล้น ได้แก่ แม่น้ำน่าน แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ลำน้ำสงคราม ลำน้ำยัง ลำน้ำเซบาย ลำน้ำก่ำ และลำน้ำห้วยหลวง ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่ง ได้แก่ ลำน้ำสงคราม อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.19 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่าตลิ่ง สูงสุดในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 และจะกลับสู่ภาวะปกติวันที่ 3 กันยายน 2562, ลำน้ำยัง บริเวณ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด สูงกว่าตลิ่ง 0.70 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุด 1.5 เมตร วันที่ 2 ก.ย.62 และจะกลับสู่ภาวะปกติวันที่ 5 ก.ย.62 และบริเวณ อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด สูงกว่าตลิ่ง 2.4 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุด 2.25 เมตร และจะกลับสู่ภาวะปกติในวันที่ 5 ก.ย.62
ลำเซบาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร สูงกว่าตลิ่ง 1.60 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุด 2.00 เมตร วันที่ 31 ส.ค.62 คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติวันที่ 7 กันยายน 2562 และบริเวณ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี สูงกว่าตลิ่ง 0.40 เมตร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุด 1.00 เมตร วันที่ 31 สิงหาคม 2562 และจะกลับสู่ภาวะปกติวันที่ 3 กันยายน 2562 , ลำน้ำก่ำ บริเวณ อ.โพนนาแก้ว และ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ระดับเริ่มเอ่อล้นตลิ่ง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งดำเนินการวางกระสอบทรายป้องกันน้ำเอ่อล้น, แม่น้ำโขง ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 4 – 10 เมตร จากการคาดการณ์ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1 – 2 เมตร วันที่ 31 สิงหาคม – 5 กันยายน 2562
จากรายงาน ปภ.สถานการณ์อุทกภัย ระหว่างวันที่ 22 – 29 สิงหาคม เกิดเหตุน้ำท่วม 16 จังหวัด 33 อำเภอ 57 ตำบล 88 หมู่บ้าน ปัจจุบันสถานการณ์ยุติแล้วทุกพื้นที่ แต่วันที่ 30 สิงหาคม เวลา 10.00 น. เกิดเหตุน้ำท่วม 3 จังหวัด 3 อำเภอ 3 ตำบล (อำนาจเจริญ ปราจีนบุรี หนองคาย) และเมื่อเวลา 16.00 น. เกิดน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีก 2 จังหวัด ได้แก่ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด และ อ.กระบุรี จ.ระนอง.-สำนักข่าวไทย