เกษตรฯ เตรียมส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนนาปรัง

ขอนแก่น 28 ส.ค. – รัฐมนตรีเกษตรฯ เร่งวางแผนส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยฤดูแล้ง ทดแทนการทำนาปรัง โดยพิจารณาสนับสนุนปัจจัยการผลิต พร้อมประสานกระทรวงพาณิชย์หาตลาด กำชับกรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์น้ำน้อยตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้น้ำมีเพียงพอใช้จนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า



นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาตรวจสถานการณ์น้ำที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีปริมาณเก็บกัก 2,431.30 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันมีน้ำในอ่างฯ 532.72 ล้าน ลบ.ม. โดยน้ำที่เหลือขณะนี้ต่ำกว่าระดับเก็บกักต่ำสุด 48.95 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น -2.65 % จากเดิมแผนความต้องการใช้น้ำในฤดูฝน 2562 (1 มิย -31 ตค 62) มี 370 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ปรับลดการส่งน้ำเพื่อการเกษตรลง 265 ล้าน.ลบ.ม คงเหลือความต้องการใช้น้ำจากกิจกรรมอื่นตามแผน 105 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบัน (24 ส.ค.62) ใช้น้ำก้นอ่างระบายเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศไปแล้ว 42.73 ล้าน ลบ.ม. 


นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางหลายแห่งทั่วประเทศมีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุอ่าง ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแผนส่งเสริมเกษตรกรเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ซึ่งจะประหยัดน้ำ ทั้งนี้ กำลังพิจารณาหาพืชที่เหมาะสมและเตรียมสนับสนุนปัจจัยการผลิต ขอให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องการจำหน่ายผลผลิต เนื่องจากจะประสานกระทรวงพาณิชย์หาตลาด ทำให้เกษตรกรยังคงมีรายได้ต่อเนื่อง

ด้านนายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ได้วางแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง (1 พ.ย.62 – 31 พ.ค.63) เขื่อนอุบลรัตน์มีความต้องการใช้น้ำเพื่อไว้แล้ว โดยจะจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญดังนี้ น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และการอุตสาหกรรมประมาณ 488 ล้าน ลบ.ม. คาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำไหลเข้าเทียบเคียงกับปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่มีฝนน้อย แต่ตามแผนบริหารจัดการที่วางไว้เลี้ยงพืชต่อเนื่อง (ไม้ผลและอ้อย) และการอุตสาหกรรมซึ่งจากนี้ไปยังมีโอกาสที่ฝนจะตกลงมาเติมทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำในระบบชลประทาน ซึ่งมั่นใจว่าจะมีน้ำเพียงพอไปจนถึงต้นฤดูฝนหน้า

สำหรับเขื่อนอุบลรัตน์มีสถานีผลิตน้ำประปาที่ใช้น้ำจากเขื่อนทั้งหมด 58 แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค 6 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 52 แห่ง และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 138  แห่ง พื้นที่ 295,060 ไร่ ใช้น้ำ 419 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์น้ำของลุ่มน้ำชีขณะนี้ทั้งแม่น้ำชีตอนบนตั้งแต่จังหวัดชัยภูมิถึงจังหวัดขอนแก่น ตอนกลางตั้งแต่จังหวัดขอนแก่นถึงจังหวัดกาฬสินธุ์ และตอนล่างตั้งแต่จังหวัดกาฬสินธุ์ถึงจังหวัดยโสธรมีน้ำน้อย แต่ฝนตกลงมาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  


นายทองเปลว กล่าวเพิ่มเติมว่า การบริหารจัดการน้ำลำน้ำชีมีเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว และเขื่อนจุฬาภรณ์ รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง  69 แห่ง  อีกทั้งเขื่อนที่ระบายน้ำในแม่น้ำชี 6 แห่ง ที่ผ่านมาการทำการเกษตรใช้น้ำฝนเป็นหลักจะระบายน้ำสนับสนุนเฉพาะเท่าที่จำเป็นในช่วงภาวะฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะในช่วงกลางเดือนมิถุนายน-ปัจจุบัน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภค-บริโภค และผลิตประปาตลอดแม่น้ำชีและลำน้ำที่มีการใช้น้ำดิบเพื่อผลิตประปา นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ และเครื่องจักร -เครื่องมือ เข้าช่วยเหลือทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน เมื่อได้รับการร้องขอจากจังหวัดหรือหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือการประปาส่วนภูมิภาค ประปาหมู่บ้าน และประปาท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ขาดแคลนน้ำ สถานการณ์ปัจจุบันในแหล่งน้ำชลประทานที่มีการใช้น้ำเพื่อผลิตประปา 37 แห่ง ไม่ขาดแคลนน้ำ และมีปริมาณน้ำเพียงพอจนถึงฤดูแล้ง

ด้านเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันทยอยลดการส่งน้ำ โดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก เมื่อปริมาณน้ำในอ่างลดเหลือ 400 ล้าน ลบ.ม.จะส่งน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ประปาและรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ส่วนเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ งดส่งน้ำเพื่อข้าวนาปี เพื่อเก็บกับน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคเป็นสำคัญ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ