เดินหน้า “มาเรียมโปรเจกต์” ต้านขยะพลาสติก ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก

กทม. 23 ส.ค. – การตายของพะยูน “ยามีล” นับเป็นพะยูนตัวที่ 17 ของปีนี้ที่ตายลง หากนับเฉพาะช่วง 6 วันมานี้ มีพะยูนตายไปแล้ว 4 ตัว ปัญหาการตายของพะยูน สาเหตุหลักมาจากเครื่องมือประมง และขยะพลาสติก ซึ่งเป็นฝีมือมนุษย์ นักวิชาการด้านทะเลจึงเห็นว่าควรเดินหน้า “มาเรียมโปรเจกต์” เพื่อลดการตายของสัตว์ทะเลหายาก


พะยูนน้อยยามีล วัย 3 เดือน ซึ่งพลัดหลงจากแม่มาอยู่ในการดูแลของเจ้าหน้าที่ในบ่ออนุบาลที่ภูเก็ต รวม 53 วัน ก่อนตายลงเมื่อคืนนี้ เป็นพะยูนอายุน้อยที่สุดที่เจ้าหน้าที่เคยดูแลมา แต่ถือเป็นสูญเสียพะยูนตัวที่ 17 ของปีนี้ 


ประธานคณะทำงานด้านการจัดการสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ระบุว่า ในช่วง 6 วัน มีพะยูนจากไป 4 ตัวแล้ว มาเรียมเป็นตัวแรก จากนั้นมีพะยูนเกยตื้นตายที่กระบี่ 1 ตัว ที่ตรัง 1 ตัว และล่าสุดคือ ยามีล 


ดร.ธรณ์ ให้ข้อมูลว่า ไทยมีพะยูนประมาณ 250 ตัว ในจำนวนนี้พบมากที่ตรังและกระบี่ กว่า 200 ตัว ปกติควรมีอัตราการตายปีละไม่เกิน 10-12 ตัว แต่ปีนี้พบความผิดปกติมาก และสาเหตุหลักตายจากฝีมือมนุษย์ โดยร้อยละ 90 เกิดจากการใช้เครื่องมือประมงเช่น อวน และการกินขยะพลาสติกในทะเล

นอกจากนี้ยังมีสัตว์ทะเลหายากที่ตายจากพลาสติกอย่างต่อเนื่อง เช่น เต่าทะเล ที่มีปริมาณลดลง พบขึ้นมาเกยตื้นทั้งที่ตายและไม่ตาย ตัวที่ตายส่วนใหญ่เมื่อตรวจพิสูจน์ในท้องพบเศษอวนและขยะพลาสติก ส่วนตัวที่ไม่ตาย พบติดเศษอวนและแพขยะในทะเล จนกลายเป็นเต่าพิการ ขาขาด ครีบขาด

การพยายามช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ จึงต้องเร่งแผนมาเรียมโปรเจกต์ ให้เห็นผลโดยเร็ว ดร.ธรณ์ อธิบายว่า ในแผนจะมีการสร้างโรงพยาบาลช่วยชีวิตสัตว์ทะเล 2 แห่ง คือที่ภูเก็ตและระยอง สำหรับสัตว์ทะเลที่อาการหนัก ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเล 5 แห่ง เชื่อมต่อกับศูนย์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีอยู่แล้ว สถานีพักพิงสัตว์ทะเลพิการ คาดว่าจะอยู่ที่เกาะมันใน ระยอง รวมทั้งศูนย์ช่วยชีวิตฉุกเฉินสัตว์ทะเล ที่จะต้องไปปรับปรุงและเพิ่มอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้กับสถานีวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อจะช่วยชีวิตได้เร็วขึ้น

สัปดาห์หน้าจะนำแผนมาเรียมโปรเจกต์เข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการทะเลแห่งชาติ ก่อนจะนำเสนอ ครม.เพื่อขอความเห็นชอบผลักดันให้เป็นรูปธรรมต่อไป ส่วนที่ทำคู่ขนานกันคือ พะยูนโมเดล จะเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเล อาหารหลักของพะยูนให้ได้ 12 พื้นที่ในอ่าวไทยและอันดามัน ลดอัตราการตายของพะยูนจากเครื่องมือประมง หากทำสำเร็จ คาดจะเพิ่มพะยูนในธรรมชาติได้จาก 250 ตัว เป็น 375 ตัว ใน 10 ปี

ส่วนมาตรการแบนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง เช่น ถุง แก้ว และหลอดพลาสติก นักวิชาการเสนอภาครัฐให้เร่งรัดมาตรการแบนให้เร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2565 เป็นอีกหนทางที่จะช่วยลดการตายของสัตว์ทะเลหายากหลายชนิดที่กำลังเสี่ยงสูญพันธุ์จากท้องทะเลไทย. – สำนักข่าวไทย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

หารือสตัฟฟ์ “ยามีล” เพื่อศึกษา-เตือนใจอนุรักษ์พะยูน

เศร้าอีก! พะยูนยามีล ตายแล้ว ร่างกายบอบช้ำเกินทน สุดยื้อ

อีกแล้ว! พบลูกพะยูนเพศเมียลอยตายในทะเลตรัง

ถอดบทเรียน “มาเรียม” สู่การดูแลสัตว์ทะเลหายาก

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ป.ป.ส. รวบ 3 นักค้ายาเสพติดต่างชาติ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ป.ป.ส. รวบนักค้ายาเสพติดต่างชาติ 3 ราย ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งออกไปอิตาลี-อังกฤษ เลขาฯ ป.ป.ส. เผยความสำเร็จครั้งนี้เป็นผลจากการประสานงานใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสอบตลาดปาล์มน้ำมัน หลังราคาพุ่ง

ช่วงนี้น้ำมันปาล์มตามท้องตลาดปรับราคาแพงขึ้น จากเดิมขวดละราว 10 บาท ทำให้ผู้บริโภคถึงกับโอดครวญ ขณะที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ระบุแม้ช่วงนี้ราคาปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีที่สุดในรอบหลายปี แต่เกษตรกรกลับไม่มีปาล์มขาย

ข่าวแนะนำ

เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อน

กระทรวงการต่างประเทศ เดินหน้าเสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค JTC ไทย-กัมพูชา เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ตามแนว MOU 2544 ยืนยันไม่ทำให้เสียเกาะกูด

เข้าสู่ฤดูหนาว

อุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว

กรมอุตุฯ ประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ย. โดยเป็นการเข้าสู่ฤดูหนาวช้ากว่าปกติประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากมีพายุก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ และยังมีฝนบางพื้นที่ ปีนี้จะหนาวกว่าปีที่แล้ว

ช้างพลายขุนเดช

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” ไปสถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง

ย้ายแล้ว “ช้างพลายขุนเดช” สู่สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง จบดราม่า หลังฝากเลี้ยงที่มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่